กิจกรรมส่งเสริมการอ่านคืออะไร

การอ่านหนังสือเป็นการพัฒนาตนเอง และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาคนและพัฒนาสังคม การอ่านหนังสือของคนไทยเป็นกิจกรรมที่ไม่แพร่หลายแม้ในหมู่ผู้รู้หนังสือแล้ว โดยเฉพาะการอ่านหนังสือที่ดีและมีสาระยิ่งมีน้อยขึ้นไปอีก สาเหตุมีอยู่หลายประการนับตั้งแต่การขาดแคลนหนังสือที่ดีและตรงกับความต้องการของผู้อ่าน การขาดแคลนแหล่งหนังสือที่จะยืมอ่านได้ ไปจนถึงการดึงความสนใจและการแย่งเวลาของสื่ออื่นๆเช่น โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง ฯลฯ รวมทั้งขาดการชักจูง การกระตุ้น และมีนิสัยรักการอ่านทั้งในและนอกโรงเรียน เมื่อเทียบกับความเพลิดเพลินและการได้ฟังได้รู้เห็นเรื่องต่างๆจากโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงแล้ว การอ่านหนังสือเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวต้องใช้ความพยายามมากกว่า และต้องมีทักษะในการอ่าน ถ้าจะให้การอ่านหนังเกิดเป็นนิสัยจำเป็นต้องมีการปลูกฝังและชักชวนให้เกิดความสนใจการอ่านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักอ่าน ซึ่งควรมีลักษณะดังนี้

1. เร้าใจให้เกิดความยากอ่านหนังสือ

2.ให้เกิดความพยายามที่จะอ่านเพื่อจะได้รู้เรื่องที่น่ารู้ที่มีอยู่ในหนังสือและน่าสนุกตามกิจกรรมที่จัดขึ้น

3. แนะนำกระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็นเรื่องน่ารู้ต่างๆเกิดความรอบรู้คิดกว้างมีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย

4. สร้างบรรยากาศที่น่าอ่านรวมทั้งให้มีวัสดุการอ่าน มีแหล่งการอ่านที่เหมาะสมและเพียงพอ

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

การจัดกรรมส่งเสริมการอ่านให้มีประสิทธิภาพควรมีการเตรียมพร้อมและคำนึงถึงในเรื่องต่อไปนี้

1.จัดห้องสมุดสำหรับให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างเพียงพอ จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เข้าสู่บรรยากาศของการอ่านและได้ใกล้ชิดกับหนังสือมากยิ่งขึ้น เช่นจัดนิทรรศการหนังสือในโอกาสต่างๆจัดกิจกรรมเพื่อชวนให้อ่านหนังสือสม่ำเสมอฯ

2.ครูผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ควรมรการศึกษา เตรียมพร้อมทั้งในด้านวิธีการดำเนินการสื่ออุปกรณ์เพื่อให้การจัดกิจกรรมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยบรรลุตามเป้าหมาย และจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องนิสัยรักการอ่านด้วย

3.การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านต้องเป็นกิจกรรมที่เร้าใจท้าทายความสนใจความสามารถของผู้เรียนรวมทั้งมีความหลากหลายเพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆอย่างมีความสุข และเป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง

4.ครูผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านควรเก็บรวบรวมข้อมูลในด้านการอ่านของนักเรียนรายบุคคลเพื่อที่จะจัดกิจกรรมสนองกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม

5. ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หากนำตัวอย่างจากเอกสารฉบับนี้ไปใช้ ควรปรับปรุงหรือดัดแปลงให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม เพื่อให้กิจกรรมดูน่าสนใจแปลกใหม่และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

6.นอกจากโรงเรียนจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างนิสัยการรักการอ่านให้แก่นักเรียน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ผู้ปกครองอีกทางหนึ่งด้วยเพื่อให้การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านเป็นไปอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านคืออะไร


           
กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  หมายถึง การกระทำต่างๆ เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจที่จะอ่าน เห็นความสำคัญของการอ่าน เกิดความเพลิดเพลินที่จะอ่าน เกิดความมุ่งมั่นที่จะอ่าน และอ่านจนเป็นนิสัย ทั้งนี้ การอ่านหนังสือเป็นทักษะสำคัญทักษะหนึ่งในชีวิตประจำวัน เพราะการอ่านหนังสือจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเราได้เป็นอย่างดียิ่ง เมื่อคนเราอ่านหนังสือจะเกิดความสามารถสร้างความรู้ อารมณ์ จินตนาการ และ ความเพลิดเพลิน การที่เด็กจะเกิดทักษะการอ่านหนังสือได้นั้นจำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย ทั้งครอบครัว โรงเรียนและชุมชน ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้แก่เด็ก

            

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านคืออะไร


             กิจกรรมส่งเสริมการอ่านคือ การกระตุ้นด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านสนใจการอ่านจนกระทั่งมีนิสัยรักการอ่าน และได้พัฒนาการอ่านจนกระทั่งมีความสามารถในการอ่าน นำประโยชน์จาการอ่านไปใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการอ่านทุกประเภท (ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์, 2542 : 93)

            กรมวิชาการ (อ้างถึงใน ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์, 2542 : 93) ให้ความหมายว่า กิจกรรมส่งเสริมการอ่านคือ การกระทำเพื่อ 


1.    เร้าใจบุคคลหรือบุคคลที่เป็นเป้าหมายให้เกิดความอยากรู้ อยากอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่มีคุณภาพ 

2.    เพื่อแนะนำชักชวนให้เกิดความพยายามที่จะอ่านให้แตกฉาน สามารถนำความรู้จากหนังสือไปใช้ประโยชน์ เกิดความเข้าใจในเรื่องต่างๆดีขึ้น 

3.   เพื่อกระตุ้น แนะนำให้อยากรู้ อยากอ่านหนังสือหลายอย่าง เปิดความคิดให้กว้าง ให้มีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย พัฒนาการอ่านจนถึงขั้นที่สามารถวิเคราะห์เรื่องที่อ่านได้ 

4.    เพื่อสร้างบรรยากาศที่จูงใจให้อ่าน 

        ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่า กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่ห้องสมุดจัด ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการอ่านอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเป็นนิสัยรักการอ่าน เช่น การเล่านิทาน การเชิดหุ่น การแสดงละคร การแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ เป็นต้น


ลักษณะของกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ดี 

1.            เร้าความสนใจ เช่น การจัดนิทรรศการที่ดึงดูความสนใจ การตอบปัญหา มีรางวัลต่างๆ การใช้สื่อเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วย

2.          จูงใจให้อยากอ่านและกระตุ้นให้อยากอ่าน เช่น ข่าวที่กำลังเป็นที่สนใจ หรือหัวข้อเรื่องที่เป็นที่สนใจ เช่น การวิจัย การเตรียมตัวสอบ การสมัครงาน เป็นต้น

กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน มีอะไรบ้าง

1. นักเรียนฟังครูอ่านหนังสือนิทานหรือหนังสือภาพสาหรับเด็ก 2. ร่วมกันสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับนิทานและตัวละครในนิทาน 3. นักเรียนระบายสีตัวละครหรือภาพง่ายๆ จากนิทานหรือ หนังสือภาพสาหรับเด็ก 4. นาภาพของนักเรียนทุกคนจัดป้ายนิเทศหรือนิทรรศการใน ห้องเรียน เผยแพร่ให้ทุกคนชื่นชม

การส่งเสริมการอ่านมีประโยชน์อย่างไร

การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน มี วัตถุประสงค์สาคัญ 8 ประการ ดังนี้ (ไพพรรณ อินทรนิล, 2546, หน้า 131) 1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีนิสัยใฝ่ เรียนรู้และแสวงหาความรู้ 2. เพิ่มพูนทักษะการอ่าน 3. กระตุ้นให้อยากอ่านและพัฒนาเป็น นิสัยรักการอ่าน 4. รู้จักเลือกหนังสือที่จะอ่านได้อย่าง เหมาะสม 5. สร้างความประทับใจในการอ่านให้ เกิด ...

การอ่านส่งเสริมการคิดอย่างไร

แนวคิดในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน.
เร้าใจให้เกิดความยากอ่านหนังสือ.
ให้เกิดความพยายามที่จะอ่านเพื่อจะได้รู้เรื่องที่น่ารู้ที่มีอยู่ในหนังสือ และน่าสนุกตามกิจกรรมที่จัดขึ้น.
แนะนำ กระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็นเรื่องน่ารู้ต่าง ๆ เกิดความรอบรู้ คิดกว้าง และมีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย.

การส่งเสริมให้นักเรียนรักการอ่านมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

8 ข้อดี ของผู้ที่รักการอ่าน.
กระตุ้นการทำงานของสมอง ... .
เพิ่มความสุข และลดความเครียดได้ถึง 68% ... .
ช่วยเพิ่มคำศัพท์ ... .
ช่วยให้คุณเชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัวได้ดีขึ้น ... .
ช่วยให้คุณเข้าใจผู้อื่น ... .
ช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมาย ... .
ทำให้สงบ มีสมาธิ ... .
ช่วยผ่อนคลาย สร้างความบันเทิง.