ข้อใดคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล Hard Infrastructure

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสารสนเทศ, เศรษฐกิจดิจิตอล, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, อินเตอร์เน็ต, Information Technology, Digital Economy, e-Commerce, Internet

บทคัดย่อ

จากการคาดการณ์ภาวะทางเศรษฐกิจโลกในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า ภาคส่วนต่าง ๆ และ         มองแนวโน้มว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ทวีปเอเชีย เนื่องจากทวีปอเมริกาและยุโรปอยู่ในภาวะฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจและสภาวการณ์ การรวมกลุ่มเศรษฐกิจของประเทศใน กลุ่มเอเชียจะทำให้เอเชียมีบทบาททางเศรษฐกิจมากขึ้น นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติจากประเทศในแถบเอเชียใต้ ซึ่งจะมีสัดส่วนการเพิ่มของประชากรสูงไปยังประเทศพัฒนาแล้วที่มีสัดส่วนของประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น              จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ ทำให้การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจต้องปรับทิศทางให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเสริมสร้างสมรรถนะทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศจากการที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใหม่ ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ทำให้ระบบอินเตอร์เน็ตมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำธุรกิจ รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล ซึ่งแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอล ของรัฐบาลมีแนวทางในการขับเคลื่อน 5 ยุทธศาสตร์ (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิตอล (Hard Infrastructure) (2) การสร้างความมั่นคง ปลอดภัย และความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล (Soft Infrastructure) (3) โครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการให้บริการ (Service Infrastructure) (4) การส่งเสริมและสนับสนุนดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจ (Digital Economy Promotion) (5) ดิจิตอลเพื่อสังคมและทรัพยากรความรู้ (Digital Society)

คำสำคัญ: เทคโนโลยีสารสนเทศ เศรษฐกิจดิจิตอล พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อินเตอร์เน็ต

Abstract

 As many organization has been forcasted about near future center of Economic Growth is tend to be Asia continent according to EU recovering from Economic crisis. One of the main reason is “Regional Economic Integration” which cause free flow of skilled labour between Asia country. Another reason is Developing of technology and new innovation, Especially in Production Communication technology For example new technology and Internet connection which create competitiveness and changing of production industry sector.

As the reason mentioned above, Thai Government has Create digital economy Policy which contain five strategic frameworks 1) Hard Infrastructure 2) Soft  Infrastructure (Security & Investment Trust) 3) Service Infrastructure 4) Digital              Economy Promotion 5) Digital Society

Keywords: Information Technology, Digital Economy, e-Commerce, Internet

Downloads

Download data is not yet available.

ข้อใดคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล Hard Infrastructure

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Article)

License

บทควม ข้อเขียน หรือควมคิดเห็นในนิตยสรนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทยลัย ป้องกันรชอจักรและทงรชกรแต่อย่งใด 

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันและเชื่อมโยงกันได้ ภายใต้โครงสร้างธรรมาภิบาลที่ดีและมีโครงสร้างราคาที่เหมาะสม

ที่มาของการพัฒนา: ขาดบริการชำระเงินที่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจ มีการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เท่าเทียม และขาดกลไกการบริหารธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพ

  • โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ทุกภาคส่วน ที่ผ่านมาการชำระเงินรายย่อยของไทยประสบความสำเร็จอย่างมาก ผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญคือ ระบบพร้อมเพย์ อย่างไรก็ตาม การผลักดันการชำระเงินดิจิทัลสำหรับภาคธุรกิจ ยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ตอบโจทย์ให้สามารถเชื่อมโยงการค้าและการชำระเงินได้อย่างครบวงจร
  • ผู้ให้บริการชำระเงินระหว่าง bank และ non-bank ยังคงมีรูปแบบและต้นทุนแตกต่างกันในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่มีในปัจจุบัน ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันและการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงินโดยรวม
  • ระบบการชำระเงินในปัจจุบันยังขาดการวางโครงสร้างธรรมาภิบาลที่ชัดเจน เพื่อสนับสนุนให้การบริหารจัดการการใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานและการส่งผ่านนโยบายด้านชำระเงินของ ธปท. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการกำหนดข้อตกลงและมาตรฐานที่ชัดเจนร่วมกัน และสามารถบริหารจัดการภูมิทัศน์ของโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หลักการ

  • สิ่งที่อยากเห็น มีโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่ได้มาตรฐาน มั่นคง ปลอดภัย สามารถเชื่อมต่อกันได้ (interoperability) ผู้ให้บริการที่หลากหลายใช้ประโยชน์ด้วยราคาที่เหมาะสม และขับเคลื่อนด้วยโครงสร้างธรรมาภิบาลที่ดีของระบบการชำระเงิน เพื่อส่งเสริมการแข่งขันในการพัฒนานวัตกรรมและการให้บริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ประชาชนและธุรกิจได้ดีขึ้น สนับสนุนนโยบายการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและการเร่งให้ไทยเข้าสู่สังคมที่ใช้เงินสดน้อยลง
  • สิ่งที่ไม่อยากเห็น โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่กระจาย (fragmentation) หรือให้บริการซ้ำซ้อนจนไม่มีประสิทธิภาพ หรือกระจุกตัวจนนำไปสู่ความเสี่ยงของระบบ (concentration risk) มีโครงสร้างราคาที่ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง การใช้ประโยชน์ร่วมกันทำได้จำกัด ไม่เอื้อต่อการแข่งขันในการพัฒนานวัตกรรมและบริการด้านการชำระเงินให้ดีขึ้น และไม่มีกลไกด้านธรรมาภิบาลสนับสนุนการส่งผ่านนโยบายจาก ธปท. ลงสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  • Hard infrastructure คือการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับภาคธุรกิจ เพิ่มเติมจากการมีระบบสำหรับรายย่อย เช่น พร้อมเพย์ และ Thai QR Code ที่ได้พัฒนามาอย่างแข็งแรงแล้ว
  • Soft infrastructure จะมุ่งเน้นการสร้างและนำมาตรฐานกลางมาใช้ เพื่อให้ระบบสามารถเชื่อมโยงกันได้ ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อและทำธุรกิจของผู้ให้บริการต่าง ๆ นำไปสู่การพัฒนาบริการที่ไร้รอยต่อ นอกจากนี้ ยังมุ่งยกระดับธรรมาภิบาลในระบบการชำระเงิน โดยวางแนวทางการทำงานร่วมกัน สร้างความร่วมมือ และต่อยอดการพัฒนา ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างจุดแข็งของระบบการชำระเงินไทย

แผนดำเนินการด้าน Open Infrastructure ในช่วงปี 2565–2567​

1.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงินดิจิทัลสำหรับภาคธุรกิจ (ระบบ PromptBiz)​

แนวคิดและหลักการสำคัญของ “ระบบ PromptBiz”​

เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ประโยชน์จากมาตรฐานข้อความสากล ISO 20022 รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลด้านการค้าและการชำระเงินของกระบวนการธุรกิจดิจิทัลได้อย่างครบวงจร ช่วยลดปัญหาปัจจุบันที่ใช้เอกสารกระดาษจำนวนมาก ทำให้มีต้นทุนสูง ต้องใช้เวลาติดตาม ตรวจสอบเอกสาร และอาจเกิดข้อผิดพลาด ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย

ข้อใดคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล Hard Infrastructure

หลักการสำคัญ (guiding principle)

  • เปิดให้เข้าถึงบริการเพื่อส่งเสริมการแข่งขันของผู้ให้บริการและต่อยอดบริการที่หลากหลาย (open infrastructure)
  • มีมาตรฐานและสามารถเชื่อมต่อได้ (standard & interoperability)
  • ตอบโจทย์ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก สามารถรองรับการเติบโตในอนาคต (scalability & innovation)
  • มีโครงสร้างการกำกับดูแลและส่งเสริมการใช้งานแพร่หลายในวงกว้าง (governance & incentive structure)

ความสำเร็จในต่างประเทศ หลายประเทศประสบความสำเร็จในการพัฒนา e-invoice platform เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา

  • อังกฤษ สามารถลดต้นทุนการจัดการเอกสารต่อรายการได้กว่า 65%
  • สหรัฐอเมริกา ได้รับเงินตรงเวลามากขึ้นกว่าเท่าตัว
  • ฝรั่งเศส ลดค่าจัดส่งเอกสาร 96% และลดเวลาของกระบวนการทั้งหมดจาก 15 วันเหลือเพียง 3 วัน

ข้อใดคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล Hard Infrastructure

แผนการพัฒนา​

แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ บริการด้านการค้าและการชำระเงิน และบริการด้านสินเชื่อ

  • ส่วนที่ 1 บริการด้านการค้าและการชำระเงิน (Trade and Payment) เป็นการเชื่อมโยงการค้าตั้งแต่การเรียกเก็บเงิน การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) และการชำระเงินที่มีข้อมูลการค้า หรือที่เชื่อมโยงกับการออกใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) โดยช่วงแรกเป็นการพัฒนาบริการหลัก ได้แก่ (1) บริการส่ง/รับใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ และ (2) บริการแลกเปลี่ยน e-Receipt/e-Tax Invoice และมีการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Tax Service Provider: TSP) ด้วยระบบ Bulk Payment คาดว่าระบบจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายนของปี 2566 และในระยะถัดไปจะเชื่อมต่อกับ D-Business platform1 เพื่อขยายบริการสู่ผู้ประกอบการแบบบุคคลธรรมดา และขยายรูปแบบการชำระเงินให้รองรับการทำธุรกรรมแบบ real-time หรือ near real-time และธุรกรรมที่มีมูลค่าสูง รวมถึง ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา Digital Cheque (D-Cheque) เพื่อตอบสนองเป็นทางเลือกให้แก่ภาคธุรกิจที่ยังคงมีความต้องการใช้
  • ส่วนที่ 2 บริการด้านสินเชื่อ (Digital Supply Chain Finance) เป็นการพัฒนากลไกสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs โดยใช้ข้อมูลการซื้อขายสินค้าและชำระเงินจากส่วนที่ 1 โดยระยะแรกเป็นการพัฒนาบริการตรวจสอบใบแจ้งหนี้ (invoice) และตรวจสอบการให้สินเชื่อซ้ำซ้อน (double financing) เริ่มเปิดให้บริการแล้วเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 โดยช่วงแรกใช้วิธีส่งข้อมูลเข้าระบบก่อน ระยะต่อไปเมื่อส่วนแรกเสร็จ จะนำส่งข้อมูลผ่านระบบ PromptBiz และหลังจากนั้นเป็นการพัฒนาบริการต่อยอดอื่น ๆ

    ข้อใดคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล Hard Infrastructure

    ในระยะแรก ผู้ประกอบการทั้งบริษัทขนาดใหญ่ และ SMEs (เฉพาะนิติบุคคล) ที่มีระบบหรือซอฟต์แวร์การจัดการของบริษัท (Enterprise Resource Planning – ERP) ซึ่งจัดการเอกสารทางการค้าและการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัล สามารถสมัครใช้บริการ PromptBiZ ผ่านธนาคารนำร่องที่ร่วมให้บริการ โดยในระยะต่อไปจะขยายขอบเขตบริการและผู้ให้บริการของระบบ PromptBiz รวมถึงประเภทของผู้ประกอบการ ให้ครอบคลุมบุคคลธรรมดาด้วย ทั้งนี้ บริษัทขนาดใหญ่และ SMEs ที่สมัครใช้บริการกับธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ สามารถใช้ระบบ ERP ขององค์กรท่านเองได้ บริษัททั้ง corporate และ SMEs สามารถใช้บริการระบบ PromptBiz ได้ เพียงสมัครใช้บริการกับธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ โดยผู้ประกอบการสามารถใช้ระบบ ERP ที่มีอยู่โดยมีการปรับปรุงให้จัดทำเอกสารหรือนำส่งข้อมูลตามมาตรฐานการเชื่อมต่อระบบ PromptBiz ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐาน ขมธอ. 3-2560

หมายเหตุ: ในอนาคตจะพิจารณาศึกษาการเชื่อมโยงระหว่าง Domestic Business Platform ใน PromptBiz และ National Digital Trade Platform (NDTP) ที่จะมีการพัฒนาต่อไป

1.2 ยกระดับการใช้มาตรฐานสากลและมาตรฐานกลางในระบบการชำระเงิน​

แนวคิดและหลักการ​

ธปท. ผลักดันการใช้มาตรฐานสากลและมาตรฐานกลางในระบบชำระเงิน ที่สำคัญ คือการใช้มาตรฐานข้อความ ISO 20022 เพื่อให้ข้อมูลชำระเงินสามารถมีข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง และการใช้เทคโนโลยี API รองรับการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานระบบการเงินอื่นที่สำคัญ รวมทั้งสร้างโอกาสต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ ในอนาคต

แผนดำเนินการ

  1. โครงการ BAHTNET - ISO 20022 (ระบบการชำระเงินมูลค่าสูง) ปรับปรุงระบบ BAHTNET โดยนำมาตรฐานข้อความการชำระเงินสากล ISO 20022 มาใช้งาน เพื่อรองรับการทำงานแบบอัตโนมัติ และตรวจสอบธุรกรรมที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถรองรับข้อมูลประกอบการชำระเงินมากขึ้น เช่น รายละเอียดข้อมูลผู้โอนและผู้รับโอนเงิน (ชื่อภาษาอังกฤษ, ชื่อภาษาไทย, เลขประจำตัวบุคคล/นิติบุคคล, ที่อยู่, เลขที่บัญชี, ประเภทบัญชี) วัตถุประสงค์การโอนเงิน รวมถึงข้อมูลทางธุรกิจ และข้อมูลภาษี เป็นต้น ทำให้กระบวนการกระทบยอด การดูแลและตรวจสอบธุรกรรมการเงินเที่ยงตรง แม่นยำมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการเชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอื่น ตลอดจนสามารถสร้างโอกาสและต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยจะเริ่มให้บริการได้ภายในปี 2565

  2. โครงการ BAHTNET API HUB พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน API2 Gateway เชื่อมโยงกับระบบบาทเนต เพื่อรองรับ Digital Financial Services ที่หลากหลาย ในรูปแบบ Straight Through Processing (STP) เพื่อเชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่สำคัญของประเทศและรองรับการต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ โดยใช้เทคโนโลยี API เชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลด้วยมาตรฐานข้อความ ISO 20022 เช่น บริการโอนเงิน บริการชำระราคาหลักทรัพย์ การชำระเงินมูลค่าสูงผ่าน PromptBiz การโอนเงินมูลค่าสูงเพื่อบุคคลที่ 3 แบบ near real-time และจะเป็นช่องทางหลักสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินมูลค่าสูงภายในประเทศ (Domestic Large Value Funds Transfer) คาดว่าจะให้บริการได้ในช่วงปลายปี 2566

  1. โครงการ ISO 20022 Migration (ระบบการชำระเงินรายย่อย) เป็นการปรับปรุงให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านชำระเงินที่มีในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบ Bulk Payment และระบบ PromptPay เพื่อให้การใช้งานของระบบมีความสมบูรณ์และรองรับความต้องการของประชาชนและธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ภายในปี 2566 และปรับปรุงระบบ QR Payment (Merchant-Presented Mode) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับ-จ่ายเงิน โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2567 ในระยะถัดไปจะปรับปรุงระบบ Cross-bank Bill Payment สำหรับภาคธุรกิจ และปรับปรุงระบบ Bill Alert เพื่อต่อยอดจากระบบการโอนเงินพร้อมเพย์สำหรับภาคธุรกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพบริการโอนเงินพร้อมเพย์สำหรับประชาชน

1.3 การจัดให้มีโครงสร้างธรรมาภิบาลของระบบการชำระเงินและการทบทวนปรับปรุงโครงสร้างราคาให้เหมาะสม​

แนวคิดและหลักการ​

ที่ผ่านมา digital payment ของไทยเติบโตขึ้นมากและมีการเชื่อมโยงหลากหลาย แต่โครงสร้างธรรมาภิบาลด้านชำระเงินยังปรับปรุงไม่ทันต่อบริบทที่เปลี่ยนไป ทำให้มีข้อจำกัดในการส่งผ่านนโยบายสู่การปฏิบัติที่ผู้เกี่ยวข้องไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างครบถ้วน การกำหนดกฎและกติกาที่เป็นข้อจำกัดในการส่งเสริมให้เกิด level playing field ขณะเดียวกันภูมิทัศน์ของบริการโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินมีความซ้ำซ้อน กระจุกตัว ทำให้มีการใช้งานได้อย่างไม่เต็มศักยภาพ ดังนั้น การมีโครงสร้างธรรมาภิบาลด้านระบบชำระเงินที่เหมาะสม จะสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการจัดการและการส่งผ่านนโยบายด้านการชำระเงินของ ธปท. ลงสู่การปฏิบัติ โดยบริการชำระเงินมีกฎและมาตรฐานที่ยอมรับร่วมกันอย่างชัดเจน ซึ่งนำไปสู่การให้บริการที่ดีขึ้นแก่ประชาชนและภาคธุรกิจ

แผนดำเนินการ

  1. ตั้งคณะขับเคลื่อนระบบการชำระเงิน (Payment Strategy Forum: PSF) เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายของ ธปท. จากคณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) ลงสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล สามารถให้ข้อเสนอแนะการกำหนดทิศทางการพัฒนาด้านการชำระเงิน การพัฒนาบริการและนวัตกรรมด้านการชำระเงิน เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้บริการ (end-user) ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

    • ทิศทางการพัฒนาระบบและบริการการชำระเงิน และการนำนโยบายมาปฏิบัติให้บรรลุผลสัมฤทธิ์
    • แนวปฏิบัติที่จำเป็นเพื่อใช้ร่วมกัน ทั้งบริการในประเทศและระหว่างประเทศ
    • การผลักดันการนำมาตรฐานสากลมาใช้ในระบบการชำระเงินไทย
    • กลยุทธ์การสื่อสารและให้ความรู้แก่ผู้ใช้บริการเพื่อส่งเสริม digital payment

    องค์ประกอบของ PFS มีองค์ประกอบจากผู้เกี่ยวข้องหลากหลายทั้งผู้แทนของผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ และภาครัฐ ที่มีความรู้และประสบการณ์ในด้านระบบการชำระเงิน ในเชิงธุรกิจ เทคโนโลยี และกฎหมาย นอกจากนี้ อาจมีผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงานเฉพาะสนับสนุนข้อมูลตามวาระที่เกี่ยวข้อง โดยมีเลขานุการร่วมระหว่างตัวแทนธนาคารแห่งประเทศไทยและผู้ให้บริการระบบชำระเงิน

  2. ตั้งกลุ่มงานบริหารจัดการบริการชำระเงินที่สำคัญ (Central Payment Services Office: CPSO) เป็นกลุ่มงานในการบริหารจัดการบริการชำระเงินที่สำคัญตามแนวทางสากล โดยทำหน้าที่กำหนดแนวปฏิบัติ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านธุรกิจ (business rules) ด้านกฎหมาย ด้านเทคนิค และด้านการปฏิบัติงาน (operation rules) รวมทั้งรวบรวมข้อมูลและพัฒนาบริการของระบบชำระเงินอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนทำหน้าที่เป็นตัวแทนหรือผู้ประสานงานในการเชื่อมโยงทั้งในประเทศและกับต่างประเทศ ในเบื้องต้นบริการหลักที่จำเป็นต้องมี CPSO ดูแล เป็นบริการที่มีการใช้งานในวงกว้างและมีการให้บริการที่เชื่อมโยงทั้งในและต่างประเทศ เช่น บริการพร้อมเพย์ Thai QR Payment และ PromptBiz

    บทบาทหน้าที่ของ CPSO

    • จัดให้มีข้อกำหนดทางธุรกิจ เงื่อนไขการให้บริการ โครงสร้างราคา และมาตรฐานด้านเทคนิค
    • จัดให้มีข้อกำหนดการเข้าถึงบริการ และการสมัครเข้าร่วมบริการต่าง ๆ
    • ผลักดันให้มีการพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
    • ทบทวน และติดตามการปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้น
  3. ทบทวนและพิจารณาแนวทางบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงิน และโครงสร้างราคาบริการชำระเงินให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับการดำเนินงานของโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่สำคัญสู่การเป็นโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของประเทศ โดยการจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้บริการที่ซ้ำซ้อนหรือมีการกระจุกตัวจนเกิดความเสี่ยงในเชิงระบบ เปิดให้ผู้ให้บริการประเภทต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้ตามระดับความเสี่ยง และรองรับการพัฒนานวัตกรรมด้านการชำระเงินที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและข้อมูลภายใต้ราคาที่เหมาะสมเป็นธรรม

Guiding Principles: Payment Infrastructure

  • รองรับผู้ให้บริการที่หลากหลายและสามารถเชื่อมต่อกันได้
  • เพิ่มประสิทธิภาพระบบการชำระเงินโดยรวมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย
  • มีหลักธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยงที่ดี เป็นไปตามมาตรฐานสากล
  • ทรัพยากรบุคคลมีความสามารถ
  • มีโครงสร้างราคาที่เหมาะสม สนับสนุนให้เกิดการใช้งานในระยะยาว

ด้านการทบทวนโครงสร้างราคา ธปท. ยังคงสนับสนุนให้การกำหนดราคาค่าบริการโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินเป็นไปตามกลไกของตลาด โดยต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้บริการและของประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ใช้บริการทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ ลดการใช้เงินสดและเช็ค และใช้ digital payment เป็นทางเลือกหลัก ดังนี้

Guiding Principles: โครงสร้างราคาค่าบริการโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงิน

  • สะท้อนต้นทุน ความเสี่ยง รูปแบบบริการ และส่งเสริมการแข่งขันตามกลไกตลาด
  • สร้างแรงจูงใจการใช้บริการชำระเงินดิจิทัลเป็นทางเลือกหลัก และลดการใช้เงินสดและเช็ค
  • ผู้ใช้บริการรายย่อย ผู้ที่มีรายได้น้อย ผู้อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินพื้นฐานและมีทางเลือกเพื่อเข้าถึงบริการทางการเงินอื่น ๆ
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเชื่อมต่อบริการ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

ภายใต้แผนกลยุทธ์ด้านชำระเงินปี 2565–2567 จึงจะมีการทบทวนโครงสร้างราคาค่าบริการและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมเงินสดและเช็ค และโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงินที่สำคัญ ตามหลักการข้างต้น

พฤติกรรมการใช้เงินสดและเช็คของคนไทยที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อลดต้นทุนของประเทศ

ประชาชนใช้เงินสดในสัดส่วนถึงร้อยละ 87 ในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน3 โดยมีต้นทุนจากการใช้เงินสดถึงปีละประมาณ 47,000 ล้านบาท4 สำหรับการใช้เช็ค ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณลดลงมาต่อเนื่องในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ร้อยละ 77 ของเช็คใช้กับการชำระเงินที่มีมูลค่าน้อยกว่า 100,000 บาท5 ซึ่งการมีบริการ digital payment อื่นที่สามารถทดแทนได้จะช่วยลดต้นทุนดังกล่าวได้

แนวทางดำเนินการต่อไป ธปท.จะหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ถึงแนวทางการจัดตั้ง PFS และ CPSO ดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อสรุปถึงองค์ประกอบ ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยมีการศึกษาข้อมูลจากตัวอย่างต่างประเทศและวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมในไทยเพื่อนำมาประกอบการดำเนินงานต่อไป

ข้อใดคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล Hard Infrastructure

การผลักดันการใช้ digital ID, digital signature, digital contract ในบริการทางการเงิน

เพื่อขยายบริการทางการเงินและบริการชำระเงินแบบดิจิทัลให้ได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งในประเทศไทยได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับ ตั้งแต่การพัฒนา Digital ID โดย NDID เพื่อให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตน รวมทั้งการออกมาตรฐานในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ digital signature และ digital contract โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ในระยะต่อไปจึงมุ่งเน้นการขยายผลและนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้ได้ดียิ่งขึ้นและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้การใช้บริการ โดยดำเนินการร่วมกับ ETDA และผู้ให้บริการต่าง ๆ

  1. การส่งเสริมและขยายการใช้งาน digital ID โดยขยายขอบเขตให้รองรับกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นภาคธุรกิจ ส่งเสริมการใช้งานให้ครอบคลุมการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับนิติบุคคล (Corporate Digital ID) เพื่อช่วยลดกระบวนการและความยุ่งยากในการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การมอบอำนาจ การเปิดบัญชีนิติบุคคล ซึ่งคาดว่าจะเริ่มพัฒนาระบบงานได้ในปี 2565 นอกจากนี้ การส่งเสริมให้เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายในวงกว้างจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการดิจิทัลไอดีของรัฐและเอกชนจะมีแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการในทุกภาคส่วนสามารถยืนยันตัวตนเพื่อทำธุรกรรมกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

  2. การขยายการใช้ digital signature และ digital contract ในการทำธุรกรรมทางการเงิน เพื่อเพิ่มความสะดวก เพิ่มทางเลือกในการทำธุรกรรมหรือสัญญาทางการเงิน ช่วยลดต้นทุนการดำเนินการ (เช่น ระยะเวลาในการจัดทำเอกสาร ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง) โดยยังคงมีกระบวนการที่ปลอดภัยและยอมรับได้ในทางกฎหมาย เช่น การส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการให้ความช่วยเหลือและทำข้อตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเลือกใช้วิธีการดิจิทัลผสมผสานเสนอให้ลูกหนี้ตอบรับเงื่อนไขในข้อตกลงดังกล่าว ด้วย PIN หรือ e-signature ซึ่งคาดว่าจะเริ่มทดสอบการให้บริการในปี 2565 หรือ การต่อยอดเพื่อการสร้างและการลงนามเอกสารสัญญาทางการเงินอื่น ๆ ในรูปแบบดิจิทัล

การเพิ่มขีดความสามารถ (Capabilities) ของระบบการชำระเงินเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัล

โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่จะรองรับโลกดิจิทัลในอนาคต ต้องสามารถเชื่อมโยง ทำหน้าที่หลากหลาย สอดประสานกัน และรองรับปริมาณธุรกรรมได้จำนวนมาก เพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจการเงิน ที่สะดวก รวดเร็ว ไร้รอยต่อ ในราคาที่เหมาะสม โดยผู้ใช้บริการได้รับความปลอดภัยและมั่นใจในการทำธุรกรรม

ระบบการชำระเงินที่เป็นระบบสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงินของประเทศ จึงควรมีความสามารถทั้งในด้านการโอนเงิน (Funds Transfer) การชำระเงิน (Payment) การหักบัญชี (Clearing) และการชำระดุล (Settlement) รวมถึงความสามารถอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ระบบการชำระเงิน เช่น การทำธุรกรรมได้แบบ real-time การแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นเครื่องมือช่วยบริหารสภาพคล่อง การให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น นอกจากนี้ ควรสามารถเชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานอื่นของประเทศเพื่อรองรับการให้บริการต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน ทั้งบริการการชำระเงินภาคประชาชน ภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน และหน่วยงานภาครัฐ

ดังนั้น การพิจารณาภาพรวมของโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินและโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินอื่นที่สำคัญ และร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดังกล่าว จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการสนับสนุนการเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน

ข้อใดคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล Hard Infrastructure

การเตรียมความพร้อมรองรับโลกการเงินในรูปแบบใหม่ ศึกษาการใช้ CBDC (Central Bank Digital Currency)

ในช่วงที่ผ่านมาเทคโนโลยีได้เปลี่ยนโลกการเงินในหลายมิติ โดยเฉพาะ Distributed Ledger Technology (DLT) ที่จัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ เอื้อให้สมาชิกในเครือข่ายสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสานงาน และทำธุรกรรมระหว่างกันได้โดยตรง รวมทั้งสามารถนำสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) มาประยุกต์ใช้ได้อีกด้วย การนำ DLT มาใช้ในภาคการเงิน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการโอนเงินระหว่างกันและการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงิน ด้วยเหตุนี้ ธนาคารกลางในหลายประเทศจึงให้ความสนใจศึกษาการนำ DLT มาประยุกต์ใช้ในงานธนาคารกลาง ธปท. ให้ความสำคัญกับการศึกษาและทดลองพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (CBDC) ทั้งยังเป็นธนาคารกลางลำดับต้น ๆ ที่ริเริ่มการศึกษาพัฒนาเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2560 และ ในปี 2564 PwC ได้จัดให้ ธปท. เป็นอันดับ 1 ของโลกด้าน wholesale CBDC

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ธปท. ยังไม่มีแผนออก CBDC เพื่อใช้งานจริงในวงกว้าง การพัฒนา CBDC ยังอยู่ในระดับการศึกษา ทดสอบ เช่นเดียวกับธนาคารกลางชั้นนำหลายประเทศ เพื่อให้เกิดความมั่นใจทั้งประโยชน์และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนา CBDC นี้ไม่ได้ปิดกั้นหรือชะลอการนำเอาเทคโนโลยี มาใช้พัฒนารูปแบบการชำระเงินใหม่ ๆ แต่อย่างใด

  1. Wholesale CBDC สำหรับการใช้งานในภาคสถาบันการเงิน ธปท. ได้ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ริเริ่ม “โครงการอินทนนท์” ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความเป็นไปได้ในการใช้ CBDC ในภาคสถาบันการเงิน ซึ่งมีพัฒนาการมาเป็นลำดับ และล่าสุดได้ต่อยอดเพื่อใช้ประโยชน์ในการโอนเงินระหว่างประเทศร่วมกับธนาคารกลางฮ่องกง ภายใต้โครงการ “Inthanon-LionRock” และขยายความร่วมมือไปยังธนาคารกลางแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสถาบันศึกษาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พัฒนาต่อยอดเป็นโครงการใหม่ชื่อ Multiple Central Bank Digital Currency Bridge Project (mBridge) เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบต้นแบบสำหรับการโอนเงินระหว่างประเทศในลักษณะหลายสกุลเงิน (multi-currency) และเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสภาพคล่อง การรักษาความเป็นส่วนตัวของธุรกรรมทางการเงิน และความสามารถในการใช้ระบบ DLT สำหรับรองรับปริมาณธุรกรรมจำนวนมาก

  2. CBDC สำหรับการใช้งานในภาคประชาชนและภาคธุรกิจ (Retail CBDC) เป็นการพัฒนาเพื่อทดสอบรูปแบบ CBDC ที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม ผ่านการเขียนโปรแกรมกำหนดเงื่อนไขลงในCBDC (Programmability) ด้วยความปลอดภัย น่าเชื่อถือ เหมาะสมกับการนำไปใช้ในภาคประชาชนและภาคธุรกิจ โดย ธปท. จะทดสอบในวงจำกัดช่วงปลายปี 2565 - กลางปี 2566 เพื่อขยายผลการพัฒนากับภาคเอกชนในระยะต่อไป