ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

เรามาพูดถึงระบบไฟฟ้าในบ้านกันบ้าง ซึ่งตู้ไฟฟ้าในบ้านเรือนนั้นจะเรียกว่า คอนซูมเมอร์ ยูนิท Consumer Unit และมีอุปกรณ์ที่ออกแบบไว้เพื่อความปลอดภัยของคนในบ้านและป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าอยุู่ด้วย Factomart มีซีรีย์ 3 ตอน เพื่อแนะนำให้กับเพื่อนๆ วิศวกรที่บ้านได้มีความรู้และเลือกใช้ พร้อมปรับปรุงอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านของท่าน ไว้ป้องกันอันตรายจากระบบไฟฟ้า ในซีรีย์นี้เราจะมีบทความทั้งหมด 3 บทความ ดังนี้

  • 3 แนวทางป้องกันความเสี่ยงจาก ไฟดูด ในบ้านพักอาศัยที่มีต่อคน
  • ปรับปรุง ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ในบ้านเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับครอบครัวของคุณ
  • ติด คอนซูมเมอร์ยูนิต ให้กับบ้านใหม่ จะเลือกอุปกรณ์และเครื่องตัดไฟรั่วอย่างไร

ในบทความนี้เราแนะนำ 3 แนวทางป้องกับความเสี่ยงจากไฟดูดที่เกิดในบ้านของคุณ กระแสไฟเพียงแค่ 30 mA (กระแสสลับ 220 V) สามารถทำอันตรายต่อร่างกายของคุณและถึงขั้นมีอันตรายต่อชีวิตได้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องใช้อุปกรณ์อย่าง เครื่องป้องกันไฟดูด แนวทางและวิธีการติดตั้งเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับตัวเรา ในทางเดียวเราก็ต้องการที่จะเลือกแนวทางที่ถูกต้องและประหยัดที่สุด เรามาต้องดูกันครับ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต Consumer Unit แหล่งรวบรวมเนื้อหา

สารบัญ

  •  ความเสี่ยงที่มีจากไฟฟ้า
    • ความเสี่ยงที่มีต่อคน
    • ความเสี่ยงที่มีแก่อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า
  • มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย EIT Standard 2001-56. สำหรับที่อยู่อาศัย
  • 3 แนวทางป้องกันความเสี่ยงที่มีต่อคน
    1. ใช้ฉนวนป้องกัน อุปกรณ์ไฟฟ้ามีฉนวนป้องกันการสัมผัสจากผู้ใช้งาน
    2. ใช้เครื่องตัดไฟรั่ว RCD
    3. ติดตั้งสายดิน ให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นที่มีโครงสร้างโลหะ

ความเสี่ยงที่มีจากไฟฟ้า

ความเสี่ยงที่มีต่อคน

ไฟดูด หรือเรียกอีกอย่างว่า ไฟช็อต คือการที่มีกระแสไฟฟ้าที่ใหลผ่านร่างกายของคน กระแสไฟฟ้าที่ใหลผ่านร่างกายจะสร้างความเสียหายและเป็นอันตรายอย่างมาก กระแสเล็กน้อยของระบบไฟฟ้า AC ก้อเป็นอันตรายอย่างยิ่งแล้ว ผลวิจัยทั่วโลกบ่งชี้ว่าระดับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าสู่ร่างกาย คือสิ่งกำหนดความรุนแรงของอุบัติเหตูจากไฟดูด จากไดอะกรัมด้านล่างเราเห็นได้ว่ากรแสที่มากกว่า 40mA (AC ซึ่งน้อยมาก) ก้อเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้แล้ว

ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

แนวทางป้องกันความเสี่ยงที่มีต่อคน

  1.  อุปกรณ์ไฟฟ้ามีฉนวนป้องกันการสัมผัสจากผู้ใช้งาน
  2.  อุปกรณ์ที่ใช้กันไฟดูด-ไฟช็อตจะเรียกรวมๆว่า Residual-Current Device (RCD)
  3.  ให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นที่มีโครงสร้างโลหะ

ความเสี่ยงที่มีแก่อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า

ความเสียหายของอุปกรจะเกิดจากความผิดปกติของระบบทีมีได้หลายอย่างแต่ที่เห็นผลในบ้านและทำการป้องกันได้มีดังนี้

  1. ไฟฟ้าเกิน Overload
  2. ไฟฟ้าวัดวงจร Short-circuit
  3. ไฟกระชากจากฟ้าผ่า Lighting Surge

ในบทความนี้เราจะไม่พูดถึงรายละเอียดของการป้องกันอุปกรแต่ชี้ให้เห็นว่าทุกระบบไฟฟ้าในบ้านจะมีอุปกรณ์การป้องกันไฟฟ้าเกิน Overload และไฟฟ้าวัดวงจร Short-circuit

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย EIT Standard 2001-56. สำหรับที่อยู่อาศัย ระบุถึงการที่ต้องมี RCD ด้วย

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย EIT Standard 2001-56. สำหรับที่อยู่อาศัย

ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

3.1.8 การป้องกันไฟฟ้าดูดโดยใช้เครื่องตัดไฟรั่วในที่อยู่อาศัยและที่คล้ายคลึงกัน
วงจรย่อยต่อไปนี้นอกจากมีสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าและติดตั้งตามบทที่ 4 แล้ว ต้องมีการป้องกัน
โดยใช้เครื่องตัดไฟรั่ว ขนาด Irn ไม่เกิน 30 มิลลิแอมแปร์ เพิ่มเติมด้วย คือ

  • ก) วงจรเต้ารับในบริเวณห้องน้ำห้องอาบน้ำโรงจอดรถยนต์ ห้องครัว ห้องใต้ดิน
  • ข) วงจรเต้ารับในบริเวณ อ่างล้างชาม อ่างล้างมือ (บริเวณพื้นที่เคาน์เตอร์ที่มีการติดตั้ง
    รับภายในระยะ 1.5 เมตร ห่างจากขอบด้านนอกของอ่าง)
  • ค) วงจรไฟฟ้าเพื่อใช้จ่ายภายนอกอาคาร และบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่อยู่ในตำแหน่งที่บุคคล
    สัมผัสได้ทุกวงจร
  • ง) วงจรเต้ารับในบริเวณชั้นล่าง (ชั้น 1) รวมถึงในบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินที่อยู่
    ในพื้นที่ปรากฎว่าเคยมีน้ำท่วมถึงหรืออยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับทะเลปานกลาง
  • จ) วงจรย่อยสำหรับ เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องทำน้ำร้อน อ่างอาบน้ำ
    หมายเหตุ ตำแหน่งที่สัมผัสได้ หมายถึงอย่หู ่างจากพื้นหรือโลหะที่ต่อลงดินไม่เกิน 2.4 เมตร
    ในแนวดิ่ง หรือ 1.5 เมตร ในแนวระดับและบุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ตั้งใจ

3 แนวทางป้องกันความเสี่ยงที่มีต่อคน

1 ใช้ฉนวนป้องกัน อุปกรณ์ไฟฟ้ามีฉนวนป้องกันการสัมผัสจากผู้ใช้งาน

ถ้าคุณได้สัมผัสกับกระแสไฟฟ้าโดยตรง กระแสจะสามารถไหลผ่านตัวคุณ เราจะจึงเลือกวัสดุที่เป็นฉนวนมีความต้านทานของระบบไฟฟ้ามาอยู่ระหว่างเรากับสายไฟ วัสดุที่ทำจากยางและพลาสติกและมีการความต้านทานต่อไฟฟ้ามากกว่าและดีกว่าเหล็กที่ทาสี

อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดมีอายุการใช้งานหลายปี ดังนั้นฉนวนจึงต้องมีความทนทานต่อการใช้งานในลักษณะต่างๆ เช่น จากการกระแทก การดึง รวมทั้งต้องทนทานต่ออุณหภูมิและความชื้น

มาตรฐาน IP ขั้นต่ำที่แนะนำในแต่ละส่วนของบ้านพักอาศัย ได้แก่

ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

Schneider Electric มุ่งมั่นที่จะมอบผลิตภณัฑ์ที่มีคุณภาพสูงโดย

  • เลือกใช้วัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าที่มีคุณภาพสูงสามารถทนทาน ต่ออุณหภูมิและความชื้น และต่อการใช้งาน
    ในลักษณะต่างๆทั้งการกระแทกและการดึงได้ดี
  • ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และมาตรฐานระดับสากล
    ซึ่งสามารถเห็นได้จากเครื่องหมายรับรองบนอุปกรณ์ต่างๆ

IP Rating คืออะไร?

ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

มาตรฐาน IP หรือ (Ingress Protection) แสดงถึงระดับการป้องกันของอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งต่อการล่วงล้ำของสิ่งแปลกปลอมต่างๆ รหัสประกอบด้วยตัวเลข 2 หลัก โดยที่เลขแต่ละหลักจะบ่งชี้ระดับการป้องกันตั้งแต่ 0 ถึง 9

  • ตัวเลขหลักแรก แสดงถึงอัตราของระดับการป้องกันการล่วงล้ำของแข็ง อาทิเช่นฝุ่น
  • ตัวเลขหลักที่สอง แสดงถึงอัตราของระดับการป้องกันการล่วงล้ำของของเหลวรูปแบบต่างๆ

ดูเรื่องของ IP

2 ใช้เครื่องตัดไฟรั่ว RCD

ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

เครื่องตัดไฟรั่ว ทำงานโดยการเปรียบเทียบระดับกระแสไฟฟ้าทางสายนิวทรอลและสายไลน์ ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีค่าเท่ากัน
หากว่าระดับของกระแสไฟฟ้านั้นต่างกันเกินกว่า 30mA นั้นหมายถึงมีกระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้น อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด จะตัดวงจร
โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่มิลลิวินาที จึงช่วยป้องกันการบาดเจ็บหรืออันตรายแก่ชีวิต อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องตัดไฟรั่ว

เครื่องตัดไฟรั่วนั้นจำเป็นต้องทำงานควบคู่กับสายดิน (Ground) ในระบบ ถ้าบ้านหลังไหนไม่มีกราวด์ อย่างแรกที่เราแนะนำ คือหาคนที่ติดตั้งกราวด์ ที่เราจะพูดถึงด้านล่าง

ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

ตัวอย่างการติดตั้ง เครื่องป้องกันไฟดูด จาก Schneider Electric เราต้องการที่จะติดตั้งเครื่องป้องกันไฟดูดกับโหลดที่มีโอกาสที่เราจะแตะต้องได้และอาจมีกระแสไหลผ่านตัวเรา สำหรับโหลดที่เราไม่ค่อยได้ไปแตะต้อง ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องป้องกันไฟดูด คุณจะเห็นได้จากรูปว่าโหลดระบบแสง ระบบความปลอดภัย ระบบเตาในครัว ระบบระบายอากาศและระบบปรับอากาศ นั้นมีโอกาสน้อยที่เราจะไปสัมผัสมันเข้า

สำหรับการติดตั้ง คอนซูมเมอร์ ยูนิท ในงานใหม่ๆ เราแนะนำ คอนซูมเมอร์ ยูนิท แบบ split bus ซึ่งเป็นการติดตั้งที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพที่สุด เนื่องจากเราได้แยกเป็น 2 วงจร วงจรหนึ่งสำหรับโหลดที่ตัวคนไม่ได้สัมผัส และอีกวงจรที่ตัวคนจะไปสัมผัสได้ ตัวอย่างในรูปด้านบน แนวทางในการเลือก คอน ใหม่ สามารถติดตามได้ในบทความ “ติด คอนซูมเมอร์ยูนิต ให้กับบ้านใหม่ จะเลือกอุปกรณ์และเครื่องตัดไฟรั่วอย่างไร”

ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

สำหรับบ้านที่มีระบบติดตั้งอยู่แล้ว และต้องการที่จะปรับปรุง มีทางเลือกหลักๆ อยู่ 2 วิธี คือ เปลี่ยนตัวเมนให้เป็นกันดูด ซึ่งเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด แต่มีข้อเสียตรงที่ว่าหากเกิดมีไฟรั่วเกิดขึ้นในจุดใดจุดหนึ่ง ระบบไฟฟ้าทั้งบ้านจะดับหมด และวิธีที่ 2 คือใส่ตัวกันดูดเข้าไปแทนที่เซอร์เบรกเกอร์ตัวย่อย สำหรับวงจรที่ต้องการป้องกัน ถ้าหากมีวงจรป้องกันอยู่มาก มันจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า เนื่องจากเครื่องป้องกันไฟดูดที่เป็นวงจรย่อยนั้นมีราคาที่สูงกว่าตัวหลัก แพงกว่า 2 – 3 เท่าด้วยกัน สามารถที่จะติดตามบทความ “ปรับปรุง ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ในบ้านเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับครอบครัวของคุณ”

ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

เซอร์กิต เบรกเกอร์ลูกย่อย ป้องกันไฟรั่ว/ไฟดูด

เซฮร์กิต เบรกเกอร์ลุกย่อยชนิด RCBO QOvs ชนิด 1 Pole ตรงตรามาตรฐาน IEC 61009 และ มอก.909-2548 ชนิด 1 Pole พิกัดทนกระแสลัดวงจร (IC) 6kA และ โหลดเซนเตอร์

ข้อใด ไม่ใช่ การป้องกันตนเองในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

เมนเซอร์กิตเบกเกอร์ป้องกันไฟรั่ว/ดูด

ตรงตามมาตรฐาน IEC 61009 และ มอก 909-2548 ชนิด 2 Pole พิกัดทนกระแสไฟฟ้าลัดวงจร (IC) 10kA, 240 VAC สามรถใช้ติดดั้งคู่ดับตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตและสามารถป้องกันได้ทั้งบ้าน

ตรวจเช็คอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด

ตราบใดที่อุปกรณ์ป้องกันไฟดูดตัดวงจร เมื่อกดปุ่มทดสอบ ผู้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถมั่นใจได้ว่ากำลังได้รับการคุ้มครองโดยระบบป้องกันภัยการตรวจเช็คอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด ทุกๆ 3-6 เดือน จะช่วยให้ทราบถึงข้อบกพร่อง ของอุปกรณ์ RCD ได้แต่เนิ่นๆ

3 ติดตั้งสายดิน ให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นที่มีโครงสร้างโลหะ

เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หรือเครื่องปรับอากาศ สายตัวนำไฟฟ้าจะอย่ภูายในทำให้ปลอดภัยจากไฟฟ้าดูดในการใช้งานปกติแต่หากว่าฉนวนของสายไฟภายในนั้นฉีกขาดหรือชำรุด เมื่อมาสัมผัสกับโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงขึ้นได้ การติดตั้งระบบสายดินและต่อสายดินเข้ากับโครงโลหะ จะช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าดูดได้โดยกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสายดิน และ เบรคเกอร์ (MCB) จะตัดวงจรไฟฟ้าโดยทันทีเพื่อป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้า (Short-circuit)

เห็นได้ชัดว่าการที่จะทำให้บ้านของคุณปลอดภัย จำเป็นเลยที่จะต้องมีอุปกรณ์ที่หุ้มฉนวนอย่างดี โดยสามารถที่จะดูดมาตรฐาน IP โดยเฉพาะที่เป็นอุปกรณ์ที่มีพลาสติกหุ้มไว้ และควรติด เครื่องป้องไฟดูด ไฟช็อตไว้สำหรับวงจรของอุปกรณ์ที่เรามีโอกาสไปแตะต้อง สัมผัสมันได้ และต่อสายดินให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะที่มีวัสดุเป็นเหล็ก แล้วไฟฟ้าสามารถรั่วผ่านมาได้

สามารถติดตามบทความต่อไปได้ดังนี้

  • ปรับปรุง ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ในบ้านเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับครอบครัวของคุณ
  • ติด คอนซูมเมอร์ยูนิต ให้กับบ้านใหม่ จะเลือกอุปกรณ์และเครื่องตัดไฟรั่วอย่างไร

ถ้าคุณชอบบทความนี้ กรุณาช่วยกด Like เป็นกำลังใจให้กับทีมงานของเราด้วยนะครับ ถ้ามีคำถามหรืออยากคอมเม้นท์อะไรให้คอนเม้นท์มาหาเราได้เลยนะครับ และถ้าไม่อยากพลาดบทความต่อๆ ไปของเราแล้วล่ะก็ ก็กด Subscribe ไว้เลยนะครับ แล้ววันนี้ผมขอลาไปก่อนนะครับ สวัสดีครับ