การประยุกต์ใช้ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในชีวิต ประ จํา วัน

การประยุกต์ใช้ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในชีวิต ประ จํา วัน
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

จากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) ที่ทรงให้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยตลอดนานกว่า 30 ปี คือ ใช้จ่าย 3 ส่วน และเก็บออม 1 ส่วน ฉันและครอบครัวได้นำมาปฏิบัติทำให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ครอบครัวของฉันอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ดังนี้

1.พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน แบ่งให้เพื่อนบ้านบ้าง เหลือจึงขายไป

2.พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) คุณพ่อของฉันและฉันมักเน้นเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าและน้ำประปา ท่านให้พวกเราช่วยกันประหยัด ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือโรงเรียน ก็ควรปิดน้ำ ปิดไฟ เมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง

3.พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ชีวิต โดยจะอยู่ในกิจกรรม “ออมวันนี้ เศรษฐีวันหน้า”

4.เมื่อมีรายได้แต่ละเดือน จะแบ่งไว้ใช้จ่าย 3 ส่วน เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าจิปาถะ ที่ใช้ในครัวเรือน รวมทั้งค่าเสื้อผ้า เครื่องใช้บางอย่างที่ชำรุด เป็นต้น

5.ฉันจะยึดความประหยัด ตัดทอนรายจ่ายในทุกๆ วันที่ไม่จำเป็น ลดละควาฟุ่มเฟือย
การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

  • ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้
  • ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ

“ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง”

  • ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต

“ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นสำคัญ”

  • ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย ประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง

“ความสุขความเจริญอันแท้จริง หมายถึง ความสุข ความเจริญ ที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังจากผู้อื่น”

  • มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง
  • ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย
  • ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน คือทุนทางสังคม
  • ตั้งสติที่มั่นคง ร่างกายที่แข็งแรงปัญญาที่เฉียบแหลม

ข้อเสนอแนะ

เศรษฐกิจพอเพียงจะดำเนินไปได้ดี ด้วยการ ประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนปฏิบัติตาม ที่ขอให้อย่าลืมที่จะปฏิบัติในเรื่อง ความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน ปฏิบัติตนเป็นคนดี ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายให้พอเพียง พอกิน และพอใช้ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนควรร่วมมือ ร่วมใจ กันปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงตั้งแต่ยังเด็ก แล้วจะติดเป็นนิสัยความพอเพียงไปตลอดชีวิต สามารถนำไปพัฒนาตน พัฒนาประเทศชาติให้เจริญ ก้าวหน้า เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นคนดีของสังคม

การประยุกต์ปลูกฝังใช้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน

เริ่มต้นจากการเสริมสร้างคนให้มีการเรียนรู้ วิชาการและทักษะต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณธรรม จนมีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม และอยู่ร่วมกับระบบนิเวศน์วิทยาอย่างสมดุล เพื่อจะได้มีความเกรงกลัวและละอายต่อการประพฤติผิดมิชอบ ไม่ตระหนี่ เป็นผู้ให้ เกื้อกูล แบ่งปัน มีสติยั้งคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจ หรือกระทำการใดๆ จนกระทั่งเกิดเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำรงชีวิต โดยสามารถคิดและกระทำบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล พอเหมาะ พอประมาณกับสถานภาพ บทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคล ในแต่ละสถานการณ์ แล้วเพียรฝึกปฏิบัติเช่นนี้ จนตนสามารถทำตนให้เป็นพึ่งของตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ในที่สุด

เศรษฐกิจพื้นฐาน ประกอบด้วยลักษณะสำคัญคือ

•  เป็นเศรษฐกิจ   ของคนทั้งมวล

•  มีชุมชนที่เข้มแข็งเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจ

•  มีความเป็นบูรณาการเข้มแข็งไปพร้อม ๆ กันหมด ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ  สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรม

•  เติบโตบนพื้นฐานที่เข้มแข็งของเราเอง เช่น ด้านเกษตร หัตถกรรม อุตสาหกรรม สมุนไพร อาหาร การท่องเที่ยว เป็นต้น

•  มีการจัดการที่ดีเป็นพื้นฐาน ส่งเสริมการเกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาประเทศตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

การพัฒนาประเทศ มิได้มีแบบอย่างตายตัวตามตำรา หากแต่ต้องเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา วัฒนธรรมชุมชน ที่มีความหลากหลาย ในขณะเดียวกันเราก็ต้องเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัฒน์ ควบคู่ไปกับการพยายามหาแนวทางหรือวิธีการที่จะดำรงชีวิตตามหลักการพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ดำเนินไปได้อย่างสมดุลและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยอาศัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบที่ชุมชนอาจจะได้รับ ไม่ให้กระแสเหล่านั้นมาทำลายเอกลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชนจนต้องล่มสลายไป

             จากแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางที่ให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพ

ที่สมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งก็คือ วิถีชีวิตไทย ที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี ในหลักของการพึ่งพาตนเอง 5 ประการ คือ

•  ความพอดีด้านจิตใจ : เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประณีประนอม คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

•  ความพอดีด้านสังคม : มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง

•  ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงเป็นขั้นเป็นตอนไป

•  ความพอดีด้านเทคโนโลยี : รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการและควร

พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง

•  ความพอดีด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอสมควร พออยู่ พอกินตามอัตภาพ และฐานะของตนเอง

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเริ่มจาก การสร้างพื้นฐาน ความพอกินพอใช้ ของประชาชนในชาติเป็นส่วนใหญ่ก่อน แล้วจึงค่อยเสริมสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจ . ตามลำดับ เพื่อจะได้เกิดสมดุลทางด้านต่าง ๆ หรือ เป็นการดำเนินการไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง โดยสร้างความพร้อมทางด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ที่ไม่ใช่เป็นการ “ ก้าวกระโดด ” ที่ต้องใช้ปัจจัยภายนอกต่าง ๆ มาเป็นตัวกระตุ้น เพียงเพื่อให้เกิดความทันกันในชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งในที่สุดประชาชนไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการและการแข่งขันดังกล่าวได้ ก็จะเกิดปัญหาตามมา ดังที่ประเทศไทยได้ประสบปัญหาเศรษฐกิจ   เมื่อปี 2540

…การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง…
…ระดับบุคคลและครอบครัว…

ด้านเศรษฐกิจ

ลดรายจ่าย   เพิ่มรายได้   ใช้ชีวิตอย่างพอควร   คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันไม่เสี่ยงเกินไป   การเผื่อทางเลือกสำรอง

        ด้านจิตใจ

มีจิตใจเข้มแข็ง  พึ่งตนเองได้  มีจิตสำนึกที่ดี   เอื้ออาทรประนีประนอมนึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

        ด้านสังคม

ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน   รู้รักสามัคคี   สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน

     ด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ   เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด
     ด้านเทคโนโลยี

รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม   สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม  (ภูมิสังคม) พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านเองก่อน   ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก   

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว

ตัวอย่างการใช้จ่ายอย่างพอเพียง

          พอประมาณ :  รายจ่ายสมดุลกับรายรับ 
          มีเหตุมีผล :  ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล /มีความจำเป็น /ไม่ใช้สิ่งของเกินฐานะ /ใช้ของอย่างคุ้มค่าประหยัด 
          มีภูมิคุ้มกัน : มีเงินออม /แบ่งปันผู้อื่น /ทำบุญ 
          ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจและดำเนินการต่างๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง

การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับชุมชน 

                                                                                                    

การประยุกต์ใช้ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในชีวิต ประ จํา วัน

ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง 
(ด้านเศรษฐกิจ)

หลักปฏิบัติ

ตัวอย่างกิจกรรม

1. รู้จักการใช้จ่ายของตนเอง
            -ใช้จ่ายอย่างมีเหตุมีผล  
            -อย่างพอประมาณ 
            -ประหยัด เท่าที่จำเป็น
                –บันทึกบัญชีรายรับและรายจ่าย 
                -วิเคราะห์บัญชีรายรับและรายจ่าย 
                -แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 
                -รับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลด รายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย
2. รู้จักออมเงิน มีกลไกลดความเสี่ยง
            –ระบบสวัสดิการ 
            –ระบบออมเงิน 
            –ระบบสหกรณ์ 
            –ระบบประกันต่างๆ
                -ออมวันละหนึ่งบาท
สัปดาห์การออม 
                -จัดตั้งกลุ่ม/สหกรณ์ออมทรัพย์
3. รู้จักประหยัด
            -ใช้และกินอย่างมีเหตุผลไม่ฟุ่มเฟือย 
            -ใช้พลังงานเท่าที่จำเป็น
            -ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
               -ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ 
               -เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ไว้กิน ไว้ขาย 
               -ใช้สินค้าที่ประหยัดพลังงาน 
               -รีไซเคิลขยะเพื่อนำมาใช้ใหม่ 
               -นำของเหลือใช้ มาทำให้เกิดประโยชน์
4. พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจโดยผลิต หรือสร้างรายได้ที่
            -สอดคล้องกับความต้องการ 
            -สอดคล้องกับภูมิสังคม 
            -สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 
            -สอดคล้องกับทรัพยากรท้องถิ่น
เน้นการผลิตเพื่อพึ่งตนเอง ให้พอเพียงกับการบริโภค และการผลิตที่หลากหลาย เช่น 
             -ปลูกพืชผักผสมผสาน 
             -ปลูกพืชสมุนไพรไทย 
             -ผลิตสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น 
             -จัดอบรมพัฒนาอาชีพในชุมชน

ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง
(ด้านสังคม)

ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจ

หลักปฏิบัติ

ตัวอย่างกิจกรรม

5. รู้จักช่วยเหลือสังคมหรือชุมชน 
        ›  ปลูกจิตสำนึกสาธารณะ 
        ›  ปลูกฝังความสามัคคี 
        ›  ปลูกฝังความเสียสละ 
        ›  เผยแพร่องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง
พัฒนาความรู้คูคุณธรรม ผ่านกิจกรรม  
รวมกลุ่มต่างๆ 
          ›  จัดกิจกรรมลด ละ เลิก อบายมุข 
          ›  จัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส 
          ›  จัดค่ายพัฒนาเยาวชน 
          ›  จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ภายในชุมชน

พอเพียง
(ด้านสิ่งแวดล้อม)

หลักปฏิบัติ

ตัวอย่างกิจกรรม

6. สร้างสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ 
           ›  ปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม 
           ›  ฟื้นฟูแหล่งเสื่อมโทรมในท้องถิ่น 
           ›  ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น   
           ›  ฟื้นฟูดูแลสถานที่ท่องเที่ยวใน
พัฒนาความรู้เกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า เพื่อฟื้นฟู รักษา 
         ›  โครงการชีววิถี 
         ›  จัดอบรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 
         ›  จัดทำฝายแม้ว

ตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง
(ด้านวัฒนธรรม)

หลักปฏิบัติ

ตัวอย่างกิจกรรม

7. สืบสานวัฒนธรรมไทย
             › สร้างจิตสำนึกรักษ์ไทยรักบ้านเกิด 
             › ฟื้นฟูและอนุรักษ์อาหารประจำท้องถิ่น  
             › ฟื้นฟูและอนุรักษ์ดนตรีไทยและ  
เพลงไทย 
             › ฟื้นฟูและอนุรักษ์วัตถุโบราและโบราณสถาน
                   ปลูกฝังมารยาทไทย 
                 ›  ส่งเสริมอาหารประจำท้องถิ่น 
                 ›  ส่งเสริมการใช้ภาษาประจำท้องถิ่น 
                 ›  ทำนุบำรุงโบราณวัตถุและโบราณสถาน
8. ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
            › ปลูกจิตสำนึกความรักชาติ 
            › ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา 
            › จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์  
              ›  ให้ความสำคัญกับการรักษาศีลหรือสวดมนต์ 
 เป็นประจำ 
              ›  ส่งเสริมการฝึกอบรมสมาธิภาวนา 
              ›  ร่วมกันทะนุบำรุงศาสนา 
              ›  พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น 
              ›  รณรงค์การใช้สินค้าไทย

สรุปข้อสังเกตเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง

การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดได้หลายด้านและหลายรูปแบบ ไม่มีสูตรสำเร็จแต่ละคนจะต้องพิจารณา  ปรับใช้ ตามความเหมาะสม ให้สอดคล้องกับ เงื่อนไขและสภาวะที่ตนเผชิญอยู่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้เรา “ฉุกคิด” ว่ามีทางเลือกอีกทางหนึ่ง ที่จะช่วยให้       เกิดความยั่งยืน มั่นคง และสมดุลในระยะยาว

ตัวอย่างความพอเพียงในองค์กรเอกชน แพรนด้าจิวเวอรี่

การประยุกต์ใช้ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในชีวิต ประ จํา วัน

การประยุกต์ใช้ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในชีวิต ประ จํา วัน

เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ประกอบไปด้วยอะไรบ้างนั้น เราได้สรุปรวบยอดมาให้เข้าใจได้ง่ายๆ พร้อมทั้งนำภาพประกอบความเข้าใจ มาให้ดูด้วยเพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้งขึ้น ซึ่ง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข นั้น แท้จริงแล้ว เป็นบทสรุปของเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง คือสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้

รูปภาพเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

การประยุกต์ใช้ เศรษฐกิจ พอ เพียง ในชีวิต ประ จํา วัน

(คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)

3 ห่วง คือทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้
ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน

        ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

        ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่

เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

นั่นคือสรุปรวบยอดของ เศรษฐกิจพอเพียง สรุปได้เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวมา หลายๆคนอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ แล้วคงกระจ่างกันสักที เกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงแบบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น

อ้างอิงจาก:

http://www.rajsima.ac.th/media/panjai/p4.html

http://xn12cmc4a2ea2ac8bl2czera7lj.net/3%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%872%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%82.html

http://www.krubanchang.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=235452&Ntype=6