สาเหตุของความแปรผันทางพันธุกรรม

             กลไกเหล่านี้ส่งผลให้สมาชิกในกลุ่มประชากรเกิดการแปรผันทางพันธุกรรม และยิ่งระยะเวลายาวนานขึ้น ประชากรในแต่ละรุ่นจะมีความแปรผันต่างกันออกไปจนในที่สุดเกิดการวิวัฒนาการในระดับสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต (microevolution)

พันธุกรรม ( Heredity )

      หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตจากรุ่น หนึ่งไปยังรุ่นหนึ่ง  หรือจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน  เช่น  ลักษณะสีผิว  ลักษณะเส้นผม  ลักษณะสีตา  เป็นต้น ถ้านักเรียนสังเกตจะเห็นว่าในบางครั้งอาจมี คนทักว่ามีลักษณะ เส้นผมเหมือนพ่อ  ลักษณะสีตาคล้ายกับแม่ซึ่งลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะถูกส่งผ่านจาก พ่อแม่ไป ยังลูกได้ หรือส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคน รุ่นต่อไป เราเรียกลักษณะ ดังกล่าวว่า ลักษณะทางพันธุกรรม  (genetic character) ในการพิจารณาลักษณะ ต่างๆ ว่าลักษณะใดเป็นลักษณะทาง พันธุกรรมนั้น  จะต้องพิจารณาหลายๆ รุ่น หรือหลายชั่วอายุ  เพราะลักษณะทาง พันธุกรรมบางอย่างอาจไม่ปรากฏในรุ่นลูก แต่อาจปรากฏในรุ่นหลานได้

สาเหตุของความแปรผันทางพันธุกรรม
ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
            กรรมพันธุ์หรือลักษณะต่างๆในสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นต่อไปได้โดย ผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์  กล่าวคือ  เมื่อเกิดการปฏิสนธิระหว่างเซลล์ไข่ ของแม่และอสุจิของพ่อ  ลักษณะต่าง ๆ ของพ่อและแม่จะถ่ายทอดไปยังลูก  ตัวอย่างลักษณะทางพันธุกรรม  ได้แก่

สาเหตุของความแปรผันทางพันธุกรรม
ความแปรผันทางพันธุกรรม
          นักวิทยาศาสตร์จำแนกสิ่งมีชีวิตหลายชนิดออกจากกัน  โดยดูจากความ คล้ายคลึง  และแตกต่างของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น  ความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตที่ ต่างชนิดกัน  มักจะมองเห็นได้อย่างชัดเจน  เช่น  โลมาจะต่างไปจากลิง เป็นอย่างมาก  ถึงแม้สัตว์ทั้งสองชนิดนี้จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน  นอกจากนี้ยังพบว่า  ความแตกต่างเกิดขึ้นจากความแปรผันภายใน สิ่งมีชีวิต ชนิดเดียวกันได้  แต่จะมีความแตกต่างน้อยกว่าที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน
เราทั้งหลายถูกจัดอยู่ในกลุ่มของมนุษย์  เนื่องจากเรามีลักษณะหลายอย่าง เหมือนกัน  และมนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกัน  แม้แต่ฝาแฝดที่เป็นแฝดร่วมไข่  ถึงแม้ว่าจะมีหน้าตาใกล้เคียงกันมากที่สุด  ก็ยังมีลักษณะแตกต่างกัน  ความแตกต่างดังกล่าวเรียกว่า  “ความแปรผันทางพันธุกรรม” (genetic variable)  

สาเหตุของความแปรผันทางพันธุกรรม

ภาพแสดงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=444996


สาเหตุของความแปรผันทางพันธุกรรม
ความแปรผันทางพันธุกรรม  จำแนกได้ 2 ประเภท  คือ


1. ลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variation)  เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจนลักษณะความแปรผันไม่ต่อเนื่องเกิดจากอิทธิพลทางพันธุกรรม

เพียงอย่างเดียว  เช่น  ลักษณะลักยิ้ม (มีลักยิ้มหรือไม่มีลักยิ้ม)  ติ่งหู (มีติ่งหูหรือไม่มีติ่งหู)  ห่อลิ้น  (ห่อลิ้นได้หรือห่อลิ้นไม่ได้)  เป็นต้น
2. ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง  (continuous  variation)  เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้เด่นชัด  เช่น  ความสูง น้ำหนัก  โครงร่าง  สีผิว  ซึ่งเป็นลักษณะที่ได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรม  และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน  เช่นความสูงของคน  ถ้าเราได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ มีการออกกำลังกาย  จะทำให้เรามีร่างกายสูงขึ้นได้

สาเหตุของความแปรผันทางพันธุกรรม
คำศัพท์ที่ควรทราบในการศึกษาพันธุศาสตร์


1.เซลล์สืบพันธุ์ (Gamete or Sex cell)หมายถึง ไข่ (Egg) หรือ สเปิร์ม ( Sperm)
2.ลักษณะเด่น (Dominance) หมายถึง ลักษณะที่ปรากฏออกมาในรุ่นลูกหรือรุ่นต่อ ๆ ไปเสมอ
3.ลักษณะด้อย (Recessive) หมายถึง ลักษณะที่ไม่มีโอกาสปรากฏในรุ่นต่อไป
4.ยีน (Gene) หมายถึง หน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเป็นสารเคมีจำพวก
กรดนิวคลีอิก โดยเฉพาะ ชนิด DNA จะพบมากที่สุด ชนิด RNA
5.โฮโมโลกัสยีน (Homologous gene) หมายถึง ยีนที่เหมือนกันอยู่ด้วยกัน เช่น TT , tt , AA , bb
6.เฮเทอโรไซกัสยีน (Heterozygous gene) หมายถึง ยีนที่ต่างกันอยู่ด้วยกัน เช่น Tt , Aa , Bb
7.จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง ลักษณะหรือแบบของยีนที่ควบคุมลักษณะ
8.ฟีโนไทป์ (Phenotype) หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏออกมาเนื่องจากการ แสดง
ออกของยีนและอิทธิพลของ สิ่งแวดล้อม
9.โฮโมโลกัสโครโมโซม (Homologous chromosome) หมายถึง โครโมโซมที่เป็นคู่กัน มีขนาด
และรูปร่างภายนอกเหมือนกัน
10.โฮโมไซกัสโครโมโซม (Homozygous chromosome) หมายถึง โครโมโซมที่เป็นโฮโมโลกัส
กันและมียีนที่เป็นโฮโมไซกัสกัน อย่างน้อย 1 คู่

สาเหตุของความแปรผันทางพันธุกรรม
กฏพันธุกรรมของเมนเดล
สาเหตุของความแปรผันทางพันธุกรรม

เมนเดลได้ทดลองผสมถั่วลันเตาที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน 7 ลักษณะซึ่งกระจายอยู่บนโครโมโซมต่างท่อนกัน โดยได้ทำ การทดลองนานถึง 7 ปี จึงพบกฏเกณฑ์การถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ และได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์  (Father of Genetics)

กฏการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดล ที่สำคัญ คือ
     

สาเหตุของความแปรผันทางพันธุกรรม
กฏข้อที่ 1 กฏแห่งการแยก (Law of segregation)มีสาระสำคัญดังนี้คือ : ยีนที่อยู่คู่กันจะแยกตัวออกจากกันไปอยู่ในแต่ละเซลล์สืบพันธุ์ก่อนที่
จะมารวมตัวกันใหม่เมื่อ จะมารวมตัวกันใหม่เมื่อ
     
สาเหตุของความแปรผันทางพันธุกรรม
กฏข้อที่ 2 กฏแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (Law of independent assortment)มีสาระสำคัญดังนี้คือ : ยีนที่เป็นคู่กันเมื่อแยกออกจากกันแล้ว แต่ละยีนจะไปกับ ยีนอื่นใดก็ได้อย่างอิสระนั่นคือเซลล์ สืบพันธุ์จะมีการรวมกลุ่มของหน่วยพันธุกรรมของลักษณะต่าง ๆ โดยการรวมกลุ่มที่เป็นไปอย่างอิสระ จึงทำให้สามารถทำนายผลที่เกิดขึ้นในรุ่นลูกรุ่นหลายได้

ขอขอบคุณ : 1. http://www.student.chula.ac.th/~53437623/unit1.htm#u1
                       2. https://sites.google.com/site/chawissil/laksna-thang-phanthukrrm

การแปรผันทางพันธุกรรม มีอะไรบ้าง

ความแปรผันทางพันธุกรรม จำแนกได้ 2 ประเภท คือ 1. ลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variation) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจนลักษณะความแปรผันไม่ต่อเนื่องเกิดจากอิทธิพลทางพันธุกรรม

ปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุในการเกิดวิวัฒนาการคืออะไร

การเกิดวิวัฒนาการในกลุ่มประชากรสิ่งมีชีวิตใดๆอาจเกิดขึ้นได้จากกลไกหลายอย่างด้วยกัน ได้แก่ * การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) * การลอยห่างจากกันทางพันธุกรรม (genetic drift) * การถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีน (gene flow)

การสืบพันธุ์แบบใดมีผลทำให้มีการแปรผันทางพันธุกรรม

2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์โดยใช้เซลล์สืบพันธุ์ (sex cell) เพื่อการเพิ่มจำนวน ดังนั้น ลูกที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะแตกต่างกันหรือมีการผันแปรของลักษณะ (variation) ลูกมีโอกาสดีเด่นกว่าพ่อแม่และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี

ข้อใดเป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง

1. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง (Continuous Variation) เป็นลักษณะ ทางพันธุกรรม ที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน เช่น สีผิว ความสูง น้ำหนัก ไอคิวของคน ลักษณะเหล่านี้ถูกควบคุมด้วยยีน หลายคู่ยีนจึงมีอิทธิพลต่อการควบคุมลักษณะดังกล่าวน้อย แต่สิ่งแวดล้อมจะมีอิทธิพลมาก