ความสําคัญของคุณธรรม มีอะไรบ้าง

คุณธรรม และจริยธรรม มีความเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะมีจริยธรรมได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีพื้นฐานทางความคิด ความรู้ ความเข้าใจ สามารถแยกแยะผิดถูก ควรไม่ควรได้จากคุณธรรมที่ถูกอบรมบ่มเพาะมาตั้งแต่บุคคลนั้นจำความได้

คุณธรรม จึงหมายถึง “สภาพคุณงามความดี” ซึ่งเป็นลักษณะหรือคุณสมบัติทางบวกที่ถือกันว่าดีงาม ทั้งทางกาย วาจา และใจ เช่น 1) ความจริงใจ ซื่อสัตย์ พูดจริง ทำจริง 2) การฝึกฝนข่มใจ รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนเองให้เจริญก้าวหน้า ด้วยปัญญาความรู้ 3) ความอดทน มีความอดทน ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ไม่หวั่นไหวในจุดมุ่งหมาย 4) ความเสียสละ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ต้องมีความเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง ผู้มีน้ำใจเสียสละ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทุกคนในสังคม ช่วยเหลือเท่าที่เห็นว่าสมควรจะช่วยเหลือได้ เห็นใครควรแก่การช่วยเหลือก็ช่วยเหลือตามกำลัง (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ศีลธรรม. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก :  http://www.onab.go.th (วันที่ค้นข้อมูล : 4 ธันวาคม 2561)

Details: Parent Category: ROOT Category: บทความคุณธรรม | Published: 31 October 2016

 ๑. ขยัน
     มีความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง

๒. ประหยัด
   ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายรู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของอย่างคุ้มค่าไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของตนเองอยู่เสมอ

๓. ซื่อสัตย์
   มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงในปลอดจากความรู้สึกลำเอียง หรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อมรับรู้หน้าที่ของตนเอง ปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง

๔. มีวินัย
   ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคมและประเทศโดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ ยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเองและสังคม

๕. สุภาพ
   มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ เรียบร้อย ไม่ก้าวร้าวรุนแรง หรืวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง มีมารยาทดีงาม วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย

๖. สะอาด
   รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้ง กาย ใจ และสภาพแวดล้อม มีความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น

๗. สามัคคี
   เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดีมีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและอย่างสมานฉันท์

๘. มีน้ำใจ
   เป็นผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคมรู้จักแบ่งปันเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นเห็นอก เห็นใจและเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

๙. กตัญญู
   ปฏิบัติตนเห็นคุณค่าแห่งการกระทำดี หรืออุปการคุณของผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครูอาจารย์ หรือผู้อื่น พร้อมที่จะแสดงออกเพื่อบูชา และตอบแทนคุณความดีนั้นด้วยการกระทำ การพูดและการระลึกถึงด้วยความบริสุทธิ์ใจ

   จากคุณธรรมพื้นฐาน ๙ ประการ สามารถนำไปกำกับการแสดงพฤติกรรมอย่างเหมาะสมกับการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคม ภูมิใจในความเป็นไทย มีสำนึกนำในการดูและรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ การสำรวจตนเองทางด้านบุคลิกภาพ คุณธรรม ความฉลาดทางอารมณ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การวางแผนชีวิตและงาน และแนวทางในการบริหารจัดการชีวิต ครอบครัว สังคม การมองโลกในแง่ดี โดยการนำคุณธรรม ความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องและยั่งยืน

ที่มา : gotoknow

ความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม
คุณธรรม จริยธรรม เป็นสิ่งที่มีในความเป็นมนุษย์ของบุคคลในสังคม เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข ซึ่งกล่าวได้ว่า คุณธรรม จริยธรรม มีความสำคัญในการแก้ปัญหาสังคมได้
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (2551 : 7) ได้กล่าวถึงความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม ไว้พอสรุปได้ว่า เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องมีการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งด้านความรู้ และคุณธรรม ซึ่งจำเป็นต้องกระทำตั้งแต่วัยเด็ก จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมในปัจจุบันและอนาคต
ป๋วย อิ้งภากรณ์ (2545 : 3) ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไว้พอสรุปได้ว่า การศึกษาควรมีจุดมุ่งหมาย ต่อไปนี้
1. เพื่อที่จะอบรมนักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่ดี มีความซื่อสัตย์สุจริต มีศีลธรรม เป็นพลเมืองดี มีความคิดชอบ ทำชอบ ประพฤติชอบ
2. ควรจะอบรมนักเรียน รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยให้รู้จักใช้ความคิด รู้จักบำรุงสติปัญญาให้เฉียบแหลมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์แก่ตนและแก่ประชาชน
3. ฝึกนักเรียนให้มีความรู้สำหรับใช้ประกอบอาชีพ โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น
พร้อมได้แสดงทัศนะเพิ่มเติมอีกว่า การศึกษาอบรมดังกล่าวไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในสถานศึกษาเท่านั้น โดยเฉพาะในหัวข้อที่ 1 ควรจะได้รับการอบรมจากทางบ้าน ข้อนี้สำคัญมาก แม้จะเป็นเรื่องที่รู้ ๆ กันอยู่ แต่ด้วยสมัยปัจจุบันพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง มักโยนความรับผิดชอบไปให้ครู อาจารย์ และสถานศึกษา ดังนั้นสถานศึกษามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับวิชาการและวิชาชีพตามข้อ 2 และข้อ 3 ผู้ใดได้รับการศึกษาในระดับต่ำก็จะได้รับประโยชน์น้อย แต่ถ้าการศึกษาสูงขึ้นไปก็จะได้รับประโยชน์เพิ่มพูนขึ้น แต่หากผู้ใดมีสันดานเลวและบกพร่องในข้อ 1 คือปราศจากความซื่อสัตย์สุจริตและศีลธรรม คุณประโยชน์ที่จะได้รับจากข้อ 2 และข้อ 3 ย่อมกลายเป็นโทษ และในบางกรณีย่อมกลายเป็นโทษมหันต์
พระบำรุง ปญฺญาพโล (2555 : 14) ได้กล่าวถึงความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม ไว้ด้งนี้ คุณธรรมจริยธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้มีคุณภาพ ลักษณะอันมาซึ่งความเป็นพลเมืองที่ดี ความประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามตามคำสั่งสอนในศาสนา หรือการประพฤติตามเกณฑ์ที่ถูกต้องทั้งกายวาจา และใจ อันก่อให้เกิดประโยชน์และความสุขทั้งต่อตนเองและสังคมส่วนร่วม นำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าของสังคม เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดมีตัวบุคคลมากที่สุด
คุณธรรม จริยธรรม และที่พึ่งประสงค์ ถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
กรมวิชาการ (2539 : 15) ได้อธิบาย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม มีบทบาทสำคัญในชีวิตมนุษย์หลายประการเช่น
1. ทำหน้าที่เป็นบรรทัดฐานหรือมาตรฐานของพฤติกรรมทั้งหลาย เป็นตัวกำหนดการแสดงออกว่าควร
ทำหรือไม่ควรทำ ซึ่งจะช่วยกำหนดจุดยืนในเรื่องต่าง ๆ และช่วยประเมินการปฏิบัติของตัวเราและบุคคลอื่น
2. ทำหน้าที่เป็นแบบแผนสำหรับการตัดสินใจและแก้ไขข้อขัดแย้งต่าง ๆ ทำให้เขาเลือกทางใดทางหนึ่งเพื่อแก้ไขปํญหา เช่น การตัดสินใจปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแทนที่จะเลือกในทางช่วยเหลือพวกพ้องหรือปฏิบัติในทางที่ไม่สุจริต
3. ทำหน้าที่เป็นแรงจูงใจหรือผลักดันของบุคคล เช่น คนที่นิยมชมชอบการมีอายุยืนยาว มีสุขภำดี จะผลักดันให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
จริยธรรมนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ทุกคนและทุกวิชาชีพ หากบุคคลใดหรือวิชาชีพใดไม่มีจริยธรรมเป็นหลักยึดเบื้องต้นแล้วก็ยากที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จแห่งตนและวิชาชีพนั้น ๆ ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ การขาดจริยธรรมทั้งในส่วนบุคคลและในวิชาชีพ อาจมีผลร้านต่อตนเอง สังคมและวงการวิชาชีพในอนาคตอีกด้วย ดังจะพบเห็นได้จากการเกิดวิกฤติศรัทธาในวิชาชีพหลายแขนงในปัจจุบัน ทั้งในวงการวิชาชีพครู แพทย์ ตำรวจ ทหาร นักการเมือง ฯลฯ จึงมีคำกล่าวว่าเราไม่สามารถสร้างครูดีบนพื้นฐานของคนไม่ดี และไม่สามารถสร้างแพทย์ ตำรวจ ทหา นักการเมือง และนักธุรกิจที่ดีได้ ถ้าบุคคลเหล่านั้นมีพื้นฐานทางนิสัยและความประพฤติที่ไม่ดี
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (2531 : 3) กล่าวว่า น้ำและอากาศเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไปเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต เพราะ ถ้าขาดน้ำเพียงวันเดียวคนก็แทบตาย ยิ่งขาดอากาศประเดี๋ยวเดียวก็อาจตายหรือไม่ก็เป็นอัมพาตไป จริยธรรมหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์และสังคของเราอยู่โดยไม่รู้ตัว แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่อย่างหนึ่งระหว่างน้ำและอากาศ กับศาสนาและจริยธรรม คือน้ำและอากาศนั้นคนขาดไปแล้วก็รู้ตัวเองว่าตัวเองขาดอะไรและต้องการอะไร แต่ศาสนาและจริยธรรมนั้นมีลักษณะประณีตและเป็นนามธรรมมาก จนกระทั่งแม้ว่าคนจะขาดสิ่งเหล่านี้จนถึงขั้นมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วก็ยังไม่รู้ว่าขาดอะไร ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องสร้างความเข้าใจ และชี้แจงอย่างต่อเนื่องให้ตระหนักเห็นคุณค่าและความสำคัญ
ยนต์ ชุมจิต (2546 : 264) ได้อธิบายว่า คุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมก่อให้เกิดประโยชน์หรือมีความสำคัญทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ประโยชน์ตน ทำให้ตนเองมีชีวิตที่สงบร่มเย็น ไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจ ไม่ต้องอยู่อย่างหวาดระแวง เพราะตนเองไม่ได้เบียดเบียนผู้ใด มีแต่จะสร้างประโยชน์สุขให้แก่สังคมและผู้อื่น ทำให้ตนเองมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตส่วนตัวและการงานอาชีพ มีความมั่นคงและก้าวหน้า ได้รับการยกย่องสรรเสริญเทิดทูนบูชาจากบุคคลทั่วไป ครอบครัวอบอุ่น มีความสุข มีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ประโยชน์ต่อสถาบัน เช่น สถาบันครอบครัวของตนได้รับการยกย่องสรรเสริญจากบุคคลทั่วไป สถาบันการศึกษาหรือสถาบันที่ประกอบอาชีพธุรกิจมีชื่อเสียง ทำให้บุคคลอื่นศรัทธาเลื่อมใส สถาบันหรือหน่วยงานที่ตนเองสังกัดมีความเจริญก้าวหน้า ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะสมาชิกทุกคนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมอันดีงาม ประโยชน์ต่อชุมชน เช่น สังคมได้รับความสงบสุข เพราะทุกคนเป็นคนที่มีคุณธรรม และสังคมได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว เพราะสมาชิกทุกคนต่างกระทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ ประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เช่น สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีความมั่นคง เพราะประชาชนมีความจงรักภักดีและเห็นความสำคัญของสถาบันดังกล่าวอย่างแท้จริง และขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติมีความมั่นคงถาวร เพราะทุกคนมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และเต็มใจยึดถือปฏิบัติตาม
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540 : 1) ได้ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะทางจิตใจที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ช่วยสร้างเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนให้มีความเก่ง ความดี และมีความสุข ซึ่งเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดโดยเน้นจริยธรรมเป็นสำคัญ เพื่อหาแนวทางในการปลูกฝังค่านิยมและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนและสังคมไทยโดยมุ่งเน้นให้เยาวชนมีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ 5 ประการ ได้แก่
1.ความสนใจใฝ่รู้และสร้างสรรค์ เป็นคุณลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงถึงความ
กระตือรือร้นสนใจใฝ่คิดค้นเสาะแสวงหาความรู้ด้านต่าง ๆ
2.ความมีน้ำใจ เป็นคุณลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรู้สึกที่ดีที่บุคคลกระทำ
เพื่อผู้อื่นและสังคม ความมีน้ำใจเป็นคุณลักษณะที่เด่นของคนไทยที่ปรากฏอย่างเด่นชัดในสังคมชนบท ความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเอื้ออาทรต่อกันทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่ การเปลี่ยนแปลงของสังคมเมืองที่เน้นเศรษฐกิจทำให้วิถีชีวิตของคนมีความเร่งรีบและต่อสู้มากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการแสดงออกต่อกันด้านความมีน้ำใจและปรากฏชัดมากขึ้นในสังคมอุตสาหกรรม หากสังคมไม่ให้ความสนใจในการส่งเสริมด้านความมีน้ำใจอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ความมีน้ำใจมีพื้นฐานมาจากการรู้จักช่วยเหลือ รับผิดชอบต่อตนเองและการรู้จักเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น รู้สึกเห็นอกเห็นใจอันจะนำมาซึ่งการช่วยเหลือรับผิดชอบต่อตนเองและการรู้จักเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น รู้สึกเห็นอกเห็นใจอันจะนำมาซึ่งการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น รู้จักแบ่งปันและให้ ตลอดจนเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทน ความมีวินัย เป็นคุณลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมที่จะช่วยให้สามารถควบคุมตนเองและปฏิบัติตนตามระเบียบเพื่อประโยชน์สุขของส่วนร่วม นักจิตวิทยาและนักสังคมวิทยาเชื่อว่าวินัยมีพื้นฐานมาจากวัยแรกของชีวิต มีการเรียนรู้ การเลียนแบบและการฝึกฝนจากบุคคลและสังคมแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน กับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเกิดการซึมซับคุณธรรมขึ้นภายใน ทำให้เกิดพฤติกรรมจริยธรรมและคุณธรรมของบุคคล ความเป็นไทย เป็นคุณลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงถึงการเห็นคุณค่าภาคภูมิใจและสำนึกในความเป็นไปที่มีวัฒนธรรมพร้อมที่จะปฏิบัติ ปกป้อง อนุรักษ์และสืบทอด อีกทั้งเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ แต่เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคโลกไร้พรมแดน ความเป็นไทยจะยังคงอยู่ยาวนานเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและอนุรักษ์ความเป็นไทย จึงต้องช่วยกันปลูกฝังสิ่งที่ดีงามด้านความเป็นไทยสู่จิตใจของเด็กและเยาวชน การบริโภคด้วยปัญญาในวิถีชีวิตไทย เป็นการวิเคราะห์และไตร่ตรอง ตัดสินใจเลือกรับหรือกระทำสิ่งใดด้วยความรู้และเข้าใจในประโยชน์และคุณค่าที่แท้จริง การศึกษาไทยควรเน้นในเรื่องการบริโภคด้วยปัญญา แต่ความก้าวหน้าทางวัตถุชนิดที่มนุษย์ไม่อาจควบคุมให้อยู่ในหลักการแห่งความพอดีเป็นความเสื่อมทางจิตใจ พฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกมาจึงมีลักษณะของการสร้างความเสื่อมแก่สภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือธรรมชาตินำไปสู่ความวิปริตของดินฟ้าอากาศ ทุกชีวิตในโลกจึงไร้ความปลอดภัยเพราะความเจริญทางด้านวัตถุแต่ขาดความเจริญทางด้านจิตใจ
พระมหาอาจริยพงษ์ (2554 : 15) ได้กล่าวถึงความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ไว้ว่า ถือเป็นเครื่องชี้วัดความเจริญและความเสื่อมของสังคม ความสำคัญของคุณธรรมทำให้เกิดจริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมส่งผลให้เกิดการปฏิบัติที่ถูกต้องและดีงาม ทำให้เกิดความสุขและความพึงพอใจกับตนเองและทำให้เกิดความสันติสุขต่อสังคม คุณธรรม สามารถที่จะปลูกฝังกันได้ ซึ่งเมื่อบุคคลเกิดคุณธรรมอย่างหนึ่งก็จะส่งผลให้เกิดคุณธรรมด้านอื่น ๆ ตามมา คุณธรรม จริยธรรมมีอยู่กับสังคมทุกระดับ เพื่อผลักดันให้สังคมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่คุณธรรม จริยธรรม ของแต่ละสังคมและแต่ละชุมชนก็อาจจะมีความแตกต่างกันตามความเชื่อ กาลเวลา ค่านิยม ศาสนา อาชีพ และชนชั้น ดังนั้น คุณธรรม จริยธรรม จึงมีลักษณะเป็นพลวัตร มีความเป็นอนิจลักษณะ พร้อมที่จะปรับตนเองให้เข้ากับบริบทของสังคมและชุมชนตลอดเวลา
สมเดช สีแสง (2538 : 230) ได้สรุปความสำคัญของคุณธรรมไว้ดังนี้ คุณธรรมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเสริมสร้างความสงบสุขและความเจริญให้แก่บุคคลเป็นส่วนตัวและแก่ประเทศชาติเป็นส่วนร่วม ดังในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม 2520 ว่า “การที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือ ที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริตความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรมประกอบด้วย เพราะเหตุว่าความรู้นั้นเป็นเสมือนเครื่องยนต์ที่ทำให้ยวดยานเคลื่อนไปได้ประการเดียว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวเป็นเสมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำพาให้ยวดยานดำเนินไปถูกทางด้วย ความสวัสดี คือ ปลอดภัยจนบรรลุถึงจุดหมายที่พึงประสงค์” ที่ว่าคุณธรรมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะเสริมสร้างความสงบสุขและความเจริญให้แก่บุคคลเป็นส่วนตัวนั้นก็เพราะว่า คุณธรรมเป็นเครื่องช่วยให้แต่ละคนประสบความสุขความเจริญในหลาย ๆ ทาง เช่น
1.คุณธรรมเป็นเครื่องธำรงศักดิ์ของความเป็นมนุษย์ เราไม่คุณค่าของมนุษย์เป็นตัวเงิน
แต่จะตีค่ากันด้วยคุณธรรม ผู้มีคุณธรรมจะเป็นผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นคนดี เป็นคนมีค่ามาก ส่วนผู้ไร้คุณธรรมอาจจะถูกประณามว่า “เหมือนมิใช่คน” เป็นคนมีค่าน้อย
2. คุณธรรมเป็นเครื่องเสริมบุคลิกภาพ เช่น “ความซื่อตรง” ทำให้คนมีความสมบูรณ์ในความคิดและการกระทำ เพราะไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างความคิด คำพูด และการกระทำ
3. คุณธรรมเป็นเครื่องเสริมมิตรภาพ เช่น “ความจริงใจ” ทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเป็นไปอย่างราบรื่น คนไม่จริงใจย่อมไม่ได้รับความไว้วางใจ จึงทำให้เสียผลประโยชน์ที่ควรจะได้
4. คุณธรรมเป็นเครื่องสร้างความสบายใจ ซึ่งนอกจากจะสบายใจเพราะการทำแต่สิ่งที่ถูกต้องที่ควรแล้วยังสบายใจที่ไม่ต้องระแวงระวังในอันตรายที่จะมีมาอีกด้วย เพราะผู้มีคุณธรรมจะเป็นผู้ประพฤติแต่ในทางที่ถูกต้องและไม่ทำผิด
5. คุณธรรมเป็นเครื่องส่งเสริมความสำเร็จและความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิต
กล่าวได้ว่า คุณธรรม และจริยธรรม มีความสำคัญ เป็นมาตรฐานกำหนดแสดงออกว่าควรทำหรือไม่ควรทำ ช่วยในการตัดสินใจปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแทนการปฏิบัติในทางทุจริต ทำให้ตนเองมีความสงบสุข มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต ซึ่งคุณธรรม จริยธรรมจะอยู่กับสังคมทุกระดับ เพื่อผลักดันให้สังคมมีความสงบสุข และคุณธรรม จริยธรรมของแต่ละสังคม อาจจะมีความแตกต่างกัน ตามความเชื่อ ค่านิยม ศาสนา อาชีพ ชนชั้น คุณธรรม จริยธรรมมีความเป็นพลวัตร

ที่มา
กรมวิชาการ.(2539).คู่มือการสร้างเครื่องวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัย.กรุงเทพ:โรงพิมพ์คุรุสภา.
ป๋วย อิ้งภากรณ์.(2545).ทัศนะว่าด้วยการศึกษา.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลดีมทอง.
พระบำรุง ปัญฺญาพโล (โพธิ์ศรี).(2555).ปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เขตบางกอกใหม่ กรุงเทพมหานคร.ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการศึกษา)มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพเวท์ (ประยุทธ์ ปยุตโต).(2531).ธรรมมะกับการศึกษาของไทย.กรุงเทพมหานคร:คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระมหาอาจริยพงษ์ คำตั๋น.(2554).การปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดนครปฐม.ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยนต์ ชุมจิต.(2546).การศึกษาและความเป็นครูไทย.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร:โอเดียนสโตร์.
สมเดช มีแสง.(2538).คู่มือการปฏิบัติราชการและเตรียมสอบผู้บริหารการศึกษา.สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ.อุทัยธานี:ม.ป.พ.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.(2540).คู่มือการจัดกิจกรรมและพัฒนาจิตพิสัยในระบบการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์การศาสนา.

ความสําคัญของคุณธรรม มีอะไรบ้าง

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

Related

  • good Governance
  • Uncategorized

ศีลธรรม มีความสําคัญอย่างไร

ศีลธรรม (morality) หมายถึงความประพฤติที่ดีที่ชอบ อันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตในสังคม กล่าวคือ สังคมจะอยู่เย็นเป็นสุข ดำรงอยู่และเจริญรุ่งเรืองได้ ก็ต่อเมื่อคนในสังคมมีศีลธรรม แต่ถ้าสังคมใดที่คนในสังคมขาดศีลธรรม สังคมนั้นก็จะระส่ำระสายและล่มสลายในที่สุด

คุณธรรม คืออะไร สําคัญอย่างไร

คุณธรรม คือ ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็น สุภาพชน เป็นต้น จนเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้สึกรับผิดชอบ ชั่ว ดี เกรงกลัวต่อการกระทำความชั่ว โดยประการต่างๆ เมื่อจิตเกิด คุณธรรมขึ้นแล้ว จะทำให้เป็นผู้มีจิตใจดี และคิดแต่สิ่งที่ดี จึงได้ชื่อว่า "เป็นผู้มี ...

ความสําคัญและประโยชน์ของจริยธรรมมีอะไรบ้าง

ให้ความรู้ในเรื่องคุณค่าของชีวิต.
ให้หลักในการดำเนินชีวิตว่าอะไรควร อะไรไม่ควร.
เป็นการพัฒนาจิตใจของคนให้มีระดับจิตใจสูงขึ้น รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น.
ช่วยให้เห็นคุณค่าของจริยธรรมสากล เช่น ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต ความอดทน.
ให้หลักในการตัดสินว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด.

คุณธรรมในการทํางาน มีอะไรบ้าง

๙ คุณธรรมพื้นฐาน.
๑. ขยัน มีความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง.
๒. ประหยัด ... .
๓. ซื่อสัตย์ ... .
๔. มีวินัย ... .
๕. สุภาพ ... .
๖. สะอาด ... .
๗. สามัคคี ... .
๘. มีน้ำใจ.