โครงการพลังงานทดแทนในชุมชน

          ในการดำเนินกิจกรรมเทศบาลไม่ได้ดำเนินการเฉพาะหน่วยงานของเทศบาลเท่านั้น แต่ยังขยายผลไปยังชุมชนโดยเชิญชวนให้มีครัวเรือนอาสา เทศบาลร่วมกับบริษัท ปตท.จำกัด มหาชน ร่วมให้ความรู้ในการเลือกใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน การเปลี่ยนมาใช้หลอด LED การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน และการขยายผลไปสู่ชุมชนโดยการเข้าร่วมสังเกตการณ์และร่วมหน่วยงานภายนอกเชื่อมให้มีการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยทักษิณในการติดตั้งระบบพลังงานงานแสงอาทิตย์บนหลังคามัสยิด 

บริษัทฯ ร่วมมือกับสำนักงานพลังงานจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และน่าน จัดทำโครงการพลังงานชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของพลังงาน รู้จักนำทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเองมาใช้ประโยชน์ด้านพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักใช้เทคโนโลยีพลังงานที่เหมาะสม ตลอดจนสามารถจัดหาวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านพลังงาน และเป็นต้นแบบให้ชุมชนอื่นจัดทำแผนพลังงานชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานให้กับชุมชน ผ่านการส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานต่างๆ ในชุมชน ประกอบด้วย

ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
  • เตาชีวมวล
  • เตาเผาถ่านขนาด 200 ลิตร (ชนิดลดควัน)
  • เตาชีวมวลแกลบ
  • ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์
  • เตาปิ้งย่างไร้ควัน
  • เตาเผาถ่านขนาด 200 ลิตร แบบตั้ง
ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
  • เตาซุปเปอร์อั้งโล่
  • เตาชีวมวลแกลบ
  • เตาเผาถ่านขนาด 200 ลิตร
  • ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์
  • เตาย่างไร้ควันประสิทธิภาพสูง
ตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
  • เตาเผาถ่านไบโอชาร์
  • เตาเผาถ่านขนาด 200 ลิตร
  • หลอดไฟ LED
  • บ่อหมักแก๊สชีวภาพ

ผลการดำเนินกิจกรรม

สำนักงานพลังงานจังหวัดแต่ละแห่งได้ทำการประเมินผลการลดการใช้เชื้อเพลิงและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโครงการในพื้นที่ทั้ง 3 แห่ง ดังนี้

  • จังหวัดเชียงใหม่: การใช้เตาชีวมวลแกลบ
  • จังหวัดลำพูน: การใช้เตาชีวมวลแกลบ
  • จังหวัดน่าน: การเปลี่ยนหลอดไฟ LED

โดยผลการลดใช้เชื้อเพลิงและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในช่วงเดือน กรกฎาคม 2561–มิถุนายน 2562 เป็นดังนี้

  • ชุมชนสามารถลดปริมาณการใช้แก๊สหุงต้ม LPG รวม 91 กิโลกรัมต่อปี จากการใช้เตาชีวมวลแกลบในพื้นที่โครงการจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
  • ชุมชนสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการเปลี่ยนหลอด LED ได้ 6,690 หน่วย ในพื้นที่โครงการจังหวัดน่าน
  • ชุมชนสามารถลดการใช้พลังงานได้มากกว่าร้อยละ 5

รวม 3 โครงการ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 7.18 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก

โครงการวางแผนพลังงานชุมชนโดยชื่ออย่างเป็นทางการในปัจจุบัน คือ “โครงการเพิ่มสมรรถนะด้านการบริหารและจัดการพลังงานครบวงจรในชุมชนระดับตำบลและวิสาหกิจชุมชน” ได้ดำเนินงานมาเป็นปีที่ 13 ติดต่อกัน มี อปท.ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 1,514 อปท. โดยในปี 2561 มีผลการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้

· สพจ.76 จังหวัดมีการฝึกอบรมกับประชาชน รวม 302 ครั้ง จำนวนคนเข้าร่วม 20,145 คน จำนวนวันอบรม 582 วัน

· 18 กลุ่มอาชีพด้านพลังงาน จำนวน 172แห่ง

· มีวิทยากรชุมชนด้านพลังงาน 514คนกระจายทั่วประเทศ

· วิสาหกิจชุมชนลดใช้พลังงาน 76 กลุ่ม ลดการใช้พลังงานในการผลิตได้กว่าร้อยละ 20-60 % มูลค่าพลังงานที่ลดลงไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาทต่อปี

· แหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านพลังงานประจำชุมชน 10 ด้าน จำนวน 210แห่ง

· แผนพลังงานชุมชนได้รับการบรรจุในแผนพัฒนา อปท. (แผนพลังงานประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงานทดแทน ด้านอนุรักษ์พลังงาน ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านพลังงานในชุมชน ด้านการฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านการบูรณาการกับมิติอื่นๆ ในชุมชน)

· มีการบรูณาการเรื่องพลังงานในการเรียนการสอนในโรงเรียนของชุมชนไม่น้อยกว่า 81แห่ง

· จากการเก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของ อาสาสมัคร 6,827 คนที่เข้าร่วมโครงการในปี 2559 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน โดยเทียบกันในปี 2558 และ 2559 พบว่ามีค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าลดลง 2,544,050 บาท หรือเทียบเท่าร้อยละ 23 หรือเฉลี่ยเดือนละ 848,016 บาท หรือเท่ากับ 10,176,203 บาท/ปี ในจำนวนนี้

มีที่สามารถลดใช้ไฟฟ้าได้มากกว่าร้อยละ 10 ถึง 3,796 ราย โดยเฉลี่ย สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้เดือนละ 127 บาท จากค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเดือนละ 551 บาท

· เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานชุมชนที่เป็นนวัตกรรมไม่น้อยกว่า 56ชิ้น เช่น เตานาชุมชน เตามลฑล1-2 เตาโคราชพัฒนา เตาซุปเปอร์อั่งโล่ชีวมล ห้องอบแห้งแสงอาทิตย์ บ่อหมักก๊าชชีวภาพขนาดครัวเรือน เป็นต้น

· สพจ.สามารถนำโครงการไปขยายผลต่อกับแหล่งงบประมาณอื่นได้ 41,403,350 บาท โดยมาจาก งบ อปท. งบจังหวัด และภาคเอกชน จากจำนวน 59 หน่วยงาน

ทั้งนี้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพลังงานเชิงพื้นที่เพื่อให้สามารถนำเอาศักยภาพด้านพลังงานของชุมชนมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงมากขึ้น การบูรณาการการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของพลังงานในท้องถิ่น การสร้างวิทยากรพลังงานประจำท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างอปท.ต้นแบบด้านการจัดการพลังงาน การลดการใช้พลังงานในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมระดับครัวเรือน/Otop/วิสาหกิจชุมชน โดยมีการร่วมมือกับ องค์กรภาคีภาคประชาชน เครือข่ายที่ทำงานด้านพลังงานทั้ง 4 ภูมิภาค อันจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน และสร้างโอกาสให้กับชุมชนในสภาวการณ์ปัจจุบัน รวมถึงเป็นการรองรับการพัฒนาแผนพลังงานทดแทนต่อไปในอนาคต

โครงการพลังงานทดแทนในชุมชน

จะเห็นได้ว่า ทั้ง 5 มิติดังกล่าว เป็นปัจจัยเอื้อที่ส่งผลให้การพัฒนาพลังงานส่วนภูมิภาคเกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างเป็นรูปธรรมและจะส่งผลต่อเนื่องถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาพลังงานของประเทศอีกด้วย ซึ่งการพัฒนาพลังงานส่วนภูมิภาคผ่านโครงการวางแผนพลังงานชุมชนนั้นอาจเป็นไปได้ในหลายรูปแบบ ได้แก่
1) การดําเนินงานในลักษณะของกิจกรรมในโครงการวางแผนพลังงานชุมชน (กระบวนการ 10 ขั้นตอน)
2) การขยายผลของแผนพลังงานชุมชนสู่การดําเนินโครงการด้านพลังงานอื่นๆ
3) การต่อยอดจากชุมชนที่เข้าร่วมหรือเคยเข้าร่วมโครงการวางแผนพลังงานชุมชน
4) การต่อยอดจากฐานความคิดของบุคลากรที่เป็นเครือข่ายเข้าร่วมโครงการวางแผนพลังงานชุมชน สู่การพัฒนาโครงการพัฒนาพลังงานส่วนภูมิภาคในรูปแบบอื่นหรือชุมชนอื่น ไม่ว่าจะเป็น อส.พน. (อาสาสมัครพลังงาน) หรือ วิทยากรตัวคูณ
5) การยอมรับของประชาชน/ชุมชน ต่อการพัฒนาโครงการด้านพลังงานในส่วนภูมิภาค และรวมถึงการสื่อสารเพื่อขยายเครือข่ายสู่ประชาชน/ชุมชนอื่นๆ กรณีนี้จัดว่าเป็นเป้าประสงค์ที่สําคัญซึ่งสอดคล้องกับการตอบโจทย์ ในมิติของการส่งผ่านและยอมรับนโยบายพลังงานสู”การปฏิบัติจริงในพื้นที่

โครงการพลังงานทดแทนในชุมชน
โครงการพลังงานทดแทนในชุมชน
โครงการพลังงานทดแทนในชุมชน
โครงการพลังงานทดแทนในชุมชน
โครงการพลังงานทดแทนในชุมชน
โครงการพลังงานทดแทนในชุมชน
โครงการพลังงานทดแทนในชุมชน
โครงการพลังงานทดแทนในชุมชน

ความเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โครงการวางแผนพลังงานชุมชนได้เริ่มดําเนินการตั้งแต่ช่วงปลายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545/2549) ซึ่งเป็นแผนที่ เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน และทุกขั้นตอนเป็นแผนจากล่างขึ้นบน โดยได้กําหนดวิสัยทัศน์เป็นทิศทางการพัฒนาประเทศร่วมกันโดยยึดหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550/2554) ก็ยังคงอัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวปฏิบัติควบคู่ไปกับการพัฒนาแบบบูรณาการที่มีคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เกิดการสมดุล เป็นธรรมและยั่งยืนมุ่งสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน มีระบบภูมิคุ้มกันด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เพียงพอพร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอก
และภายในประเทศ และมุ่งเน้นการต่อยอดขยายผลโดยผลักดันให้มีการดําเนินการอย่างต่อเนื่องในช่วงของ แผนพัฒนาฯ ฉบับปัจจุบัน ซึ่งคือฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555/2559) โดยเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพลังงานส่วนภูมิภาค อาทิ สอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาที่ 3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และส่งเสริมบทบาทภาคประชาสังคมและธุรกิจเอกชนให้เป็นพลังร่วมในการพัฒนาสังคมไทย ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3) ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน สอดคล้องกับแนวทางที่ 5) สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชน และแนวทางที่ 7) ปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ความสอดคล้องระหว่างโครงการวางแผนพลังงานชุมชนกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ได้สะท้อนความจริงที่ว่า โครงการวางแผนพลังงานชุมชน เป็นการดําเนินพันธกิจในการบริหารจัดการพลังงาน ของประเทศที่มีการปฏิบัติเกิดขึ้นจริงในระดับชุมชนท้องถิ่น หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติจริงในระดับจุลภาค โดยมุ่งเน้นการให้ความสําคัญกับระดับปฏิบัติ (ระดับล่าง) หรือ Bottom-up Approach และการพัฒนาโดยประชาชนมีส่วนร่วม และเป็นโครงการเชิงรุกที่สามารถปรับทัศนคติของคนและชุมชนได้ จึงควรส่งเสริมผลักดัน “การวางแผนพลังงานชุมชน” ให้ขยายวงกว้างออกไปมากที่สุด พร้อมทั้งเน้นคุณภาพ การดําเนินงานในการวางแผนพลังงานชุมชน

โครงการพลังงานทดแทนในชุมชน

ภาพประกอบ 6 รู้สู่การวางแผนพลังงานชุมชน : 1.รู้สถานการณ์พลังงงาน 2.รู้ผลกระทบจากการใช้พลังงาน 3.รู้ค่าใช้จ่ายพลังงานครัวเรือน 4.รู้วัตถุดิบ ศักยภาพพลังงานทดแทน 5.รู้พฤติกรรมสิ้นเปลืองพลังงาน 6.รู้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

พลังงานทดแทนในชุมชน มีอะไรบ้าง

ชุมชนสามารถนำวัตถุดิบเปลี่ยนเป็นพลังงานใช้เองได้ ด้วยการนำเอาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นนำมูลสัตว์เศษอาหารมาหมักผลิตแก๊สชีวภาพ ทำเตาชีวมวล นำพลังน้ำ แสงแดด มาผลิตไฟฟ้า การปลูกผักปลอดสารใช้น้ำจากระบบสูบน้ำแสงอาทิตย์ โรงอบแห้งยางพาราแล้วเชื่อมโยงสู่ธุรกิจหมอนยางพาราสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น

แผนพลังงานชุมชนคืออะไร

การวางแผนพลังงานชุมชน คือ กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาคมในการจัดการด้าน พลังงาน สิ่งแวดล้อม และแผนงบประมาณในท้องถิ่นของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเรื่องของพลังงาน ศึกษาเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในชุมชน แล้วนำมาประเมินหรือคาดการณ์ผลกระทบ ...

พลังงานทดแทนที่สำคัญมีอะไรบ้าง

ประเภทของพลังงานทดแทน.
พลังงานแสงอาทิตย์.
พลังงานลม.
พลังงานความร้อนใต้พิภพ.
พลังงานชีวภาพ.
พลังงานชีวมวล.
พลังงานน้ำ.
พลังงานจากขยะ.
โรงไฟฟ้าพลังงานจากขยะ.

โครงการในพระราชดำริด้านพลังงานมีอะไรบ้าง

โครงการอื่น ๆ.
พลังงานชีวภาพ : พลังแห่งพระปรีชาญาณ.
โครงการฝนหลวง.
เขื่อนภูมิพล : เปิดศักราช... แห่งการพัฒนาพลังงานไทย.
การพัฒนาพลังงานทดแทน.
โครงการพัฒนาพลังงานทางเลือก : ทางออกของประเทศไทย.
โครงการในหลวงกับพลังน้ำ.
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาพลังงาน.
โครงการผลิตพลังงานทดแทนของโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา.