หัวหน้า ที่ ดี ลูกน้อง รัก

นึกภาพในสมัยที่คุณเป็นลูกน้อง คุณมักจะรู้สึกอึดอัดเมื่อต้องทำงานใกล้ชิดหัวหน้าของตัวเองมากๆ และมีความรู้สึกเหมือนถูกจับผิดตลอดเวลา และถ้าวันไหนหัวหน้าไม่อยู่ คุณก็มักจะรู้สึกโล่งใจอย่างบอกไม่ถูก เมื่อคุณได้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้า ลูกน้องของคุณก็มีความเป็นไปได้ที่จะรู้สึกแบบนั้นเช่นกัน ดังนั้นถ้าอยากจะเป็นหัวหน้าที่ลูกน้องรักมาก ลองทำตัวเป็นมนุษย์ล่องหนบ้าง คือไม่จำเป็นต้องโผล่หน้าไปให้ลูกน้องเห็นตลอดเวลา แต่เมื่อใดที่ลูกน้องต้องการตามตัวหรือติดต่อคุณ คุณก็สามารถโผล่มาได้ทุกครั้งที่พวกเขาต้องการ แบบนี้จะทำให้ลูกน้องไม่รู้สึกเหมือนโดนหายใจรดต้นคอมากไป และจะชอบคุณมากขึ้นครับ


2. รับคำวิจารณ์ที่สร้างสรรค์ได้

ไม่มีใครที่เพอร์เฟ็คท์สมบูรณ์แบบไปตลอดเวลา ตัวคุณเองในฐานะหัวหน้าก็เช่นกัน ถ้าอยากจะเป็นหัวหน้าที่ดีที่ลูกน้องรัก ลองหัดรับฟังความคิดเห็นและคำวิจารณ์ที่สร้างสรรค์จากลูกน้องให้ได้แบบแมนๆ และพิจารณาปรับแนวทางการทำงานของตัวเองให้ดีขึ้น อย่าทำตัวเป็นเผด็จการที่ใครจะต่อว่าอะไรคุณไม่ได้เลยแม้แต่อย่างเดียว อย่างไรก็ตามข้อสำคัญคือคุณต้องแยกให้ออกด้วยว่าคำวิจารณ์ใดที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์กับองค์กรและการทำงานของคุณจริงๆ กับคำวิจารณ์ใดที่แค่เกิดจากอารมณ์โกรธและไม่พอใจเท่านั้น เพื่อให้การปรับตัวนั้นดีต่อองค์กรโดยรวมจริงๆครับ


3. ใครๆก็ชอบของฟรี

ลูกน้องของเราก็ชอบของฟรีเช่นกัน การมอบของขวัญในโอกาสพิเศษ หรือจัดปาร์ตี้เลี้ยงพนักงานบ้างถือเป็นสิ่งที่ดีที่ช่วยบำรุงขวัญกำลังใจของลูกน้องได้อย่างดี เทคนิคสำหรับเรื่องนี้ก็คือ ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นของที่มีมูลค่าราคาแพงๆ หรือปิดโรงแรมหรูเลี้ยงแบบใหญ่โต แต่จงให้สิ่งเหล่านี้ในจังหวะเวลาที่ลูกน้องของคุณ “คาดไม่ถึง” และถ้าจะให้เป็นของขวัญก็ควรจะเป็นของที่แม้จะไม่ได้แพงมาก แต่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงตัวบุคคลที่ให้ ไม่ใช่ให้ทุกคนเหมือนๆกันแบบเดียวกันไปหมด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่พิเศษขึ้นและทำให้ความรู้สึกดีนั้นทวีคูณมากขึ้นกว่าเดิม แม้สิ่งที่ได้รับจะเป็นของเล็กๆน้อยๆก็ตาม


4. ลูกน้องไม่ใช่ลูกหลานในครอบครัวของคุณ

หัวหน้างานบางคนเข้าใจผิดคิดว่าลูกน้องของตัวเองเป็นลูกเป็นหลาน หรือเป็นคนในครอบครัวจนเผลอเข้าไปยุ่มย่ามกับเรื่องส่วนตัวของลูกน้องมากเกินไปโดยที่พวกเขาไม่ได้ร้องขอ รวมถึงการออกปากสั่งสอนลูกน้องในเรื่องจุกจิกเหมือนพวกเขาเป็นลูกของตัวเองจริงๆ การกระทำเหล่านี้จะทำให้ลูกน้องรู้สึกรำคาญคุณมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นแม้คุณจะรู้สึกว่าควรจะสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับลูกน้องมากขนาดไหน แต่คุณต้องไม่ก้าวล่วงเรื่องส่วนตัวของพวกเขามากเกินไปอย่างเด็ดขาด เว้นแต่ลูกน้องจะไว้ใจคุณมากพอจนเป็นฝ่ายขอความเห็นจากคุณก่อนเท่านั้นนะครับ


5. ขอร้องลูกน้องให้ช่วยงานเล็กน้อยบ้างนานๆครั้ง

นี่เป็นเกมส์ทางจิตวิทยาของมนุษย์ กล่าวคือ คนเรามักจะรู้สึกดีและเมื่อได้รู้ว่าตัวเองเป็นที่ต้องการของคนอื่น หรือเป็นคนที่ผู้อื่นรู้สึกว่าสามารถพึ่งพาได้ คนที่เป็นหัวหน้าก็ควรนำหลักการนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ลองสังเกตดูว่าลูกน้องของเราแต่ละคนมีความสามารถพิเศษอะไร และถนัดการทำงานอะไรเป็นพิเศษที่นอกเหนือจากงานปกติ และขอความช่วยเหลือจากเขาแบบเล็กๆน้อยๆที่ไม่ซีเรียสและไม่กระทบเวลางาน เช่น ถ้าลูกน้อง 2-3 คนมีความสามารถในการเล่นดนตรีและร้องเพลง ลองจัดงานปาร์ตี้เล็กๆแล้วมีมินิคอนเสิร์ตให้พวกเขาเล่นกัน หรือถ้ามีลูกน้องที่มีความรู้เรื่องไวน์ดี ลองขอให้เขาช่วยเลือกไวน์ดีๆให้คุณสักขวด และอย่าลืมกล่าวชมทุกครั้งที่พวกเขาทำได้ดีด้วยนะครับ แบบนี้จะทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่ามากขึ้นและรักคุณมากขึ้นครับ


6. ยืดอกรับผิดชอบและขอโทษอย่างจริงใจเมื่อคุณทำผิดพลาด

ต้องมีสักวันที่คุณอาจทำอะไรที่ผิดพลาดลงไป จนส่งผลเสียต่อองค์กรและลูกน้องใต้บังคับบัญชาของคุณ ซึ่งตัวคุณในฐานะหัวหน้าที่ดีต้องเป็นสุภาพบุรุษมากพอที่จะก้าวออกมารับผิดชอบและขอโทษลูกน้องทุกคนอย่างเป็นทางการ ให้ทุกคนรับรู้ว่าคุณเป็นผู้ชายที่กล้ายืดอกรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเองได้ทำผิดพลาดไป ในความคิดของลูกน้องจะไม่รู้สึกว่าคุณทำงานไม่เก่ง แต่เขากลับจะให้ความเคารพนับถือคุณมากขึ้นกว่าเดิม และมากกว่าการที่คุณจะโบ้ยความรับผิดชอบให้ผู้อื่น และทำให้ตัวเองดูดีตลอดเวลา ดังนั้นโทษคนอื่นให้น้อยลง โทษตัวเองให้มากขึ้น แล้วลูกน้องจะรักมากขึ้นครับ

มีหัวหน้าดี...มีชัยไปกว่าครึ่ง จริงไหมนะ...คําพูดแบบนี้ที่เคยได้ยินจากเพื่อนร่วมงานที่ลาออกหรือมาระบายให้ฟัง เพื่อนร่วมงานแผนกอื่น แม้แต่ผมเราเองก็เคยต้องแอบคิดแบบนี้ ถ้าได้หัวหน้าไม่ดีคงจะท้อและไม่มีพลังในการไปทํางาน วันนี้เราจะพาคุณไปเรียนรู้เมื่อคุณโตขึ้นมาเป็นหัวหน้างาน ที่ต้องมีลูกน้อง การเป็นหัวหน้าที่ดี...แบบไหนที่ลูกน้องจะรัก


1. ทําเป็นแบบอย่างให้ลูกน้องดู 

แน่นอนพอรับลูกน้องเข้ามาก็คาดหวังจะให้ลูกน้องเก่งและทําได้แบบตัวเอง แต่อย่าลืมว่าเด็กใหม่หรือลูกน้องก็ต้องการเรียนรู้และวิธีการทํางานแบบหัวหน้า ถ้าอยากให้ลูกน้องรักก็ต้องแสดงความสามารถและทําเป็นแบบอย่างให้ลูกน้องดูก่อนและค่อยให้ลูกน้องได้ลองลงมือทำ


2. ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสิน

หลายครั้งที่ลูกน้องทํางานไม่ได้ดั่งใจ หรือทํางานไม่เสร็จตามเวลา การเป็นหัวหน้าที่ดีต้องมีแผนสํารองในการบริหารจัดการทีมและเข้าไปช่วยงานลูกน้องได้ทุกสถานการณ์ ดังนั้น หากเกิดความผิดพลาดอย่าใช้อารมณ์ในการตัดสิน ให้ฟังเหตุผลที่ลูกน้องในทีมจะอธิบาย ไม่ใช้คําไม่สุภาพที่จะสร้างพลังงานลบและใช้อารมณ์ให้อยู่เหนือเหตุผล


3. ไม่ตําหนิต่อหน้าคนอื่น

หากลูกน้องมีการทําผิดพลาดในที่ประชุมหรือมีพนักงานคนอื่นอยู่ไม่ควรตําหนิการทํางานที่ผิดพลาดต่อหน้าคนอื่น เพราะเป็นการเสียมารยาทและสร้างความอับอายให้กับลูกน้อง ดังนั้นถ้าอยากให้ลูกน้องรักควรเรียกว่าพูดคุยส่วนตัวถามเหตุและผลที่เกิดขึ้นค่อยสอนแนะนําวิธีการแก้ปัญหา


4. รับฟังความคิดของคนในทีม

หลายครั้งที่หัวหน้าไม่รับฟังความเห็นของคนในทีมจนเกิดเป็นปัญหาว่าลูกน้องในทีมไม่กล้าออกความคิดเห็น ดังนั้นเราต้องเดินคนละครึ่งทางหากความคิดเห็นไหนที่หัวหน้ามองว่าพัฒนาต่อได้ก็สามารถเอาไอเดียไปใช้ได้ต่อ แต่ถ้าไอเดียไหนยังใช้ไม่ได้ก็ต้องบอกเหตุผลที่เราไม่เลือกไอเดียนั้นๆให้น้องในทีมฟัง ต่างคนต่างรับฟังเหตุผลของกันและกัน คุณก็จะเป็นหัวหน้าที่ดีและลูกน้องรักอย่างแน่นอน


5. เอ่ยปากชมเมื่องานสําเร็จ

ลูกน้องในทีมทุกคนมักอยากได้ยินคําชมจากหัวหน้าเมื่อตัวเองทําหน้าที่ของตัวเองได้ดี หรืองานชิ้นนั้นสามารถขายลูกค้าได้ผ่าน การเป็นหัวหน้าที่ดี ควรเอ่ยปากชมลูกน้องในทีมถึงความสําเร็จ เป็นการให้กําลังใจและทําให้ลูกน้องอยากจะผลิตผลงานดีๆออกมาอีกในอนาคต


6. ให้โอกาสและให้คําปรึกษา

การเป็นหัวหน้าที่ดีควรให้โอกาสลูกน้องในทีมเท่าๆกันในการแสดงความสามารถ และให้คําปรึกษาที่ลูกน้องในทีมสามารถเอาไปคิดต่อได้ หรือบางจุดที่เขายังไม่รู้หัวหน้าก็ควรจะเป็นที่เพิ่งและให้คําปรึกษาที่ดีได้


7. ออกรับผิดและปกป้องลูกน้อง

ก่อนที่งานในทีมจะออกไปหาคนอื่นหัวหน้าจะเป็นคนตรวจทานก่อนส่ง ในกรณีที่มีความผิดพลาดหัวหน้าที่ดีไม่ควรผลักความผิดไปให้ลูกน้อง ต้องออกรับผิดให้กับทีมและปกป้องลูกน้อง ค่อยมาพูดคุยกันในทีมถึงปัญหาที่เกิดขึ้น การที่หัวหน้ารุมตําหนิพร้อมกับทีมอื่นในที่ประชุมจะทําให้ลูกน้องในทีมยิ่งเสียกําลังใจในการทํางานและมองหัวหน้าในมุมมองที่ไม่ดี