เหตุผล เช็ค คืน มี อะไร บ้าง

" อันว่าเช็คนั้นคือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง อันเรียกว่าผู้รับเงิน "
ประเภทของเช็ค

  1. เช็คจ่ายผู้ถือหรือที่นิยมเรียกกันว่า "เช็คผู้ถือ" คือเช็คที่ทางธนาคารต่าง ๆออกแบบไว้เพื่อจุดประสงค์ให้ผู้สั่งจ่ายเช็คโดยระบุชื่อผู้รับเงินหรือจะไม่ระบุชื่อผู้รับเงิน และยังครอบคลุมถึงเช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงินแต่ก็มีคำว่า "ผู้ถือ" รวมอยู่ด้วย
  2. เช็คระบุชื่อ เป็นเช็คที่ผู้สั่งจ่ายเขียนขึ้นเพื่อสั่งธนาคารให้จ่ายเงินโดยระบุชื่อผู้รับเงิน หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลนั้นเท่านั้น

รายการที่ต้องมีการระบุไว้ในเช็ค ( ตาม ป.พ.พ. มาตรา 988)
"อันเช็คนั้น ต้องมีรายการดังกล่าวต่อไปนี้ คือ

  • (๑) คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค
  • (๒) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน
  • (๓) ชื่อ หรือยี่ห้อสำและนักของธนาคาร
  • (๔) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
  • (๕) สถานที่ใช้เงิน
  • (๖) วันและสถานที่ออกเช็ค
  • (๗) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย "

การสลักหลัง หมายถึง การเขียนข้อความพร้อมกับการลงลายมือชื่อหรือลงลายมือชื่ออย่างเดียวที่ด้านหลังของเช็คเพื่อแสดงถึงการโอนเช็คนั้น
การสลักหลัง มี 2 แบบ คือ

  • 1. สลักหลังเฉพาะ หมายถึง การสลักหลังเช็คโดยระบุชื่อผู้รับโอนไว้ด้วย พร้อมด้วยลงลายมือชื่อผู้สลัก
  • 2. สลักหลังลอย หมายถึง การสลักหลังโดยลงลายมือชื่อผู้สลักเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ระบุชื่อผู้รับโอนไว้

หมายเหตุเพิ่มเติม

  1. การสลักหลัง ถ้าประสงค์จะโอนเช็คให้เฉพาะตัว ก็สามารถระบุการห้ามสลักหลังต่อไว้ก็ได้
  2. การสลักหลังต้องเป็นข้อความอันปราศจากเงื่อนไขได ๆ ถ้ามีไว้ให้ถือว่าเงื่อนไขนั้นมิได้เขียนไว้เลย
  3. การสลักหลังเช็คเพื่อโอนเป็นบางส่วนเป็นโมฆะตามกฎหมาย

คำศัพท์ของเช็คที่สำคัญๆ
เช็คไม่ขีดคร่อม หมายถึง เช็ค ที่ผู้ทรงเช็คสมารถนำมาขอเบิกเงินสดตามเช็คจากธนาคารได้เลย
เช็คขีดคร่อม หมายถึง เช็ค ที่เขียนเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ด้านหน้าเช็ค เป็นการแสดงให้ธนาคารรับฝากเข้าบัญชีของผู้ทรงเช็คเท่านั้น ผู้ทรงเช็คหมดสิทธิ์ที่จะขอเบิกเงินสดจากธนาคาร แต่จะต้องนำฝากเข้าบัญชีเงินฝากของตนที่ได้เปิดไว้กับธนาคารแล้วให้ธนาคารผู้รับฝากเป็นผู้ไปเรียกเก็บเงินให้เท่านั้น
ประเภทของเช็คขีดคร่อม
เช็คขีดคร่อมมี 2 ประเภท คือ
1. เช็คขีดคร่อมทั่วไป เป็นเช็คที่มีเส้นคู่ขนานปรากฎที่หัวมุมด้านซ้ายแต่เพียงอย่างเดียว โดยเช็คประเภทนี้ผู้รับเงินไม่สามารถนำเช็คไปเบิกเป็นเงินสดออกมาได้โดยทันทีเนื่องจากมีการขีดคร่อมเอาไว้ ซึ่งจำนวนเงินตามยอดที่อยู่ในเช็คนั้นจะโอนเข้าบัญชีของธนาคารที่ผู้รับนำเอาเช็คไปเข้าบัญชีของธนาคารใดก็ได้
" ห้ามเปลี่ยนมือ " หรือ " Not Negotiable " หมายความว่า เช็คฉบับนี้ไม่อาจโอนต่อไปได้ด้วยการสลักหลัง การนำฝากเข้าบัญชีธนาคารต้องนำฝากเข้าบัญชีของผู้มีชื่อระบุไว้ที่ด้านหน้าเช็คเท่านั้น
"เข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น " หรือ " A/c Payee Only " หมายความว่า เช็คฉบับนี้ไม่อาจโอนต่อไปได้ด้วยการสลักหลัง การนำฝากเข้าบัญชีธนาคารก็ต้องนำฝากเข้าบัญชีของผู้ที่มีชื่อระบุไว้ที่ด้านหน้าเช็คเท่านั้น
2. เช็คขีดคร่อมเฉพาะ หมายถึง เช็คที่มีการขีดคร่อมไว้ที่มุมบนด้านซ้ายมือเหมือนๆ กันกับเช็คขีดคร่อมธรรมดาทุกประการ แต่จะแตกต่างกันตรงที่เช็คขีดคร่อมเฉพาะมีการเขียนตัวหนังสือระบุความต้องการเป็นการเฉพาะลงไปในช่องว่างระหว่างเส้นคู่ขนานด้วยนั่นเอง โดยเช็คชนิดนี้จะมีการจ่ายเงินให้กับธนาคารที่ถูกระบุไว้ภายในเส้นคู่ขนานเท่านั้น ผู้รับเงินจึงจำเป็นที่จะต้องนำเอาเช็คไปขึ้นกับทางธนาคารที่กำหนดด้วย

  •  เช็คสลักหลัง เป็นรูปแบบของการโอนเช็คจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง หรือจะเรียกว่าการโอนกรรมสิทธิ์ของเช็คไปให้ผู้อื่นก็ได้ โดยเช็คสลักหลังมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ เช็คสลักหลังระบุชื่อ เป็นเช็คที่ผู้รับเงินตามที่เขียนระบุไว้ด้านหน้าของเช็คเซ็นชื่อตนเองที่ด้านหลังพร้อมทั้งเขียนระบุลงไปเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนด้วยว่าต้องการโอนเช็คดังกล่าวไปให้กับใคร เช็คสลักหลังลอย คือเช็คที่ผู้รับเงินเซ็นชื่อที่เอาไว้ที่ด้านหลังเช็คแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ระบุข้อความอื่นใดที่นอกเหนือจากนี้ จึงทำให้เช็คฉบับนี้กลายเป็นเช็คผู้ถือ ใครจะนำเอาเช็คฉบับนี้ไปขึ้นเงินก็ได้
  • เช็คลงวันที่ล่วงหน้า เป็นเช็คที่นิยมใช้กันเป็นจำนวนมาก โดยผู้จ่ายจะลงวันที่เอาไว้ล่วงหน้าซึ่งจะนานเท่าไหร่ก็ได้แล้วแต่ผู้จ่ายจะเป็นผู้กำหนด ซึ่งเช็คจะมีผลบังคับใช้และเรียกเก็บเงินจากในบัญชีจริงก็ต่อเมื่อถึงวันที่กำหนดเอาไว้ภายในเช็คเท่านั้น
  • เช็คเคลียริ่ง เป็นกระบวนการที่ธนาคารต่างๆ เรียกเก็บเช็คระหว่างกัน ซึ่งอาจใช้เวลาในการเรียกเก็บเงิน ตามระยะเวลาที่ธนาคารได้กำหนดไว้ ซึ่งอาจใช้เวลา 1- 3 วันโดยประมาณ

เช็คคืนหรือที่เรียกกันโดยเข้าใจทั่วไปว่า "เช็คเด้ง" ซึ่งอาจประกอบด้วยเหตุผลดังที่ปรากฏไว้ตามพรบ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค 2534 มาตรา 4 ดังนี้

  • (๑) ออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
  • (๒) ออกเช็คโดยในขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
  • (๓) ออกเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
  • (๔) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็ค จนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้หรือ
  • (๕) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริต

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
ทั้งนี้การออกเช็คที่จะเป็นความผิดทางอาญาตามมาตรา 4 ดังกล่าวจะต้องออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แต่หากออกเช็คเพื่อเป็นประกันหนี้หรือประกันการผิดสัญญา หรือมีหนี้ต่อกันแต่ไม่มีหลักฐานฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย หรือเป็นหนี้ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือหนี้การพนัน ก็ไม่มีความผิด

ข้อควรระวังสำหรับผู้ทรงเช็ค
ธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงินตามเช็คอ้างว่า " เช็คพ้นกำหนดจ่ายเงิน" เพราะโจทก์ยื่นเช็คให้ใช้เงินเมื่อพ้น 6 เดือนแล้วฯลฯไม่ถือว่าธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงิน ตามพ.ร.บ.เช็คฯมาตรา 4

สถานที่การกระทำความผิด
คือสถานที่ที่ธนาคารตามเช็คได้ปฎิเสธการจ่ายเงิน หรือสถานที่ผู้สั่งจ่ายได้สั่งจ่ายเช็ค ดังนั้นคุณต้องพิจารณาว่าสถานที่ใดเป็นสถานที่คุณสะดวกต่อการดำเนินคดีมากกว่ากัน เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีครับ
การดำเนินคดีเช็ค
เมื่อเช็ค " ติดสปริง " เด้งแล้ว คุณก็ควรนำช็คไปแจ้งความร้องทุกข์ภายใน ๓ เดือน นับแต่วันที่ธนาคารตามเช็คได้ปฎิเสธการจ่ายเงินครั้งแรก อย่าให้เกินกำหนดระยะเวลาเพราะจะทำให้คุณหมดสิทธิ์ดำเนินคดีอาญากับผู้สั่งจ่ายเช็คหรือผู้ทรงเช็คคนก่อน หรือผู้สลักหลังเช็คแล้วแต่กรณีครับ ทั้งนี้ความผิดในเรื่องเช็คเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อคุณได้รับเงินตามเช็คครบถ้วนแล้ว คุณสามารถถอนคำร้องทุกข์ได้ก่อนคดีจะถึงที่สุด

การเลือกดำเนินคดีมี ๒ ช่องทาง

  • ๑. การมอบคดีให้พนักงานสอบสวน ( ตำรวจ ) เป็นผู้ดำเนินคดีแทนคุณ วิธีนี้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า แต่ใช้เวลารอคอยมากกว่าในการดำเนินคดีครับ
  • ๒. ให้ทนายความดำเนินคดี ซึ่งต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อน วิธีนี้ค่าใช้จ่ายอาจสูงกว่า แต่ใช้เวลากระชับกว่าในการดำเนินคดีครับ

    เช็คคืนข้อ 17 คืออะไร

    - ติด PCT 04 - หาก Paying bank พบว่ามีเช็คต่างธนาคารส่งเรียกเก็บ ต้องคืนเช็ค ด้วยเหตุผลข้อ 17 “เช็คเรียกเก็บต่างธนาคาร ที่มีการแก้ไข โปรดน าไปขึ้นเงินที่ธนาคารผู้จ่าย” - ทั้งนี้Sending Bank ต้องท าหนังสือยืนยันข้อผิดพลาดแนบกับตัวเช็คให้ลูกค้า - หากลูกค้าน าเช็คแก้ไขข้อความที่มี Crossing ของธนาคารอื่น และหรือเป็นเช็คคืน ...

    เช็คคืนข้อ 22 คือ อะไร

    ทั้งนี้ ในการคืนเช็คด้วยเหตุผลข้อ 21 หรือ ข้อ 22 ไม่ต้องประทับข้อความบนตัวเช็ค เช่น เช็ค อายัด หรือ มีคำสั่งให้ระงับการจ่าย หรือ Payment stopped เนื่องจากผู้ทรง สามารถนำเช็คที่เป็นการชำระหนี้ ที่ถึงกำหนดชำระไปยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง เพื่อให้พิจารณาอนุญาตให้จ่ายเงินตามเช็คได้

    เช็คคืนข้อ8 คืออะไร

    เช็คคืน เงื่อนไข 08 (ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขที่ให้ไว้กับธนาคาร)

    เช็คมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

    ​ประเภทของเช็ค​.
    ​ประเภทของเช็ค​.
    เช็ค​บุคคลธรรมดา คือ เช็คที่บุคคลธรรมดาเป็นผู้สั่งจ่ายเงินตามเช็ค เช็คนิติบุคคล คือ เช็คที่องค์กร/บริษัทเป็นผู้สั่งจ่ายเงินตามเช็ค.