Map Drive แล้วถาม Password

ปกติเวลาเรา Map drive ภายใต้ User ใน Domain จะกำหนดสิทธจาก Folder จาก User login นั่นทำให้คนที่ถูกกำหนดให้มีสิทธิภายใต้ Folder นั้นเมื่อ Login เข้าคอมพิวเตอร์มาแล้วจะสามารถเข้าถึง Folder ที่มีสิทธิได้ทันที

แต่ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ Domain ต้องการเข้าถึง Folder ที่ระบุสิทธิของ User ไว้นั้น ก็จะต้อง Brows ไปยัง Path ของ Folder นั้น หลังจากนั้นก็ใส่ user และ password ของ Domain ที่มีสิทธิเข้าถึง Folder อีกครั้งหนึ่ง

โดยเราจะสร้าง Bath file ที่ใช้สำหรับ Map drive เพื่อให้เข้าถึง Folder ที่ต้องการเพียงกดกดแค่ครั้งเดียว

Map network drive ไม่ได้ !!! ช็อค สตั๊นไป 5 วิ ทำไงดีล่ะ ปัญหานี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ วันนี้จะนำเสนออีก 1 วิธี สำหรับแก้ปัญหานี้ครับ เริ่มกันเลย

  1. คลิก Start เลือก Settings
Map Drive แล้วถาม Password
Map Drive แล้วถาม Password

2. คลิก Apps

Map Drive แล้วถาม Password
Map Drive แล้วถาม Password

3. คลิก Programs and Features

Map Drive แล้วถาม Password
Map Drive แล้วถาม Password

4. คลิก Turn Windows features on or off

Map Drive แล้วถาม Password
Map Drive แล้วถาม Password

5. คลิกถูกที่ SMB 1.0/CIFS File Sharing Support

Map Drive แล้วถาม Password
Map Drive แล้วถาม Password

6. รอซักครู่แล้วคลิก Restart now เป็นอันเสร็จ แล้วลอง Map drive ดูอีกครั้งครับ

Map Drive แล้วถาม Password
Map Drive แล้วถาม Password

2,497

เรื่องใกล้เคียง

คนที่ใช้งานไฟล์ข้อมูลร่วมกันภายใน Network โดยการเปิดแชร์ไฟล์แต่มักจะมีปัญหาว่าเข้าไปที่หน้า Network หรือ My network แล้วชอบไม่แสดงชื่อเครื่องคอมฯ ที่แชร์ข้อมูลไว้ บทความนี้จะมาแนะนำ วิธี Map Drive ใน Windows 10, 8.1 และ Windows 7 โดยใช้ “Map Network Drive” ที่อยู่ในฟังก์ชั่นของการตั้งค่า network ของ Windows โดยการทำ map ไดร์ จะช่วยให้ผู้ใช้งานนั้นสะดวกใช้งานไฟล์แชร์ได้ง่ายกว่าเดิม

วิธี Map Drive ใน Windows 10

ตัวอย่างนี้จะเป็นขั้นตอนที่ทำใน Windows 10 แต่จะมีการอ้างอิงบางขั้นตอนที่เหมือน ๆ กันโดยจะมีข้อมูลบอกสำหรับ Windows 8.1 และ Windows 7 ไว้ด้วย

  1. ที่หน้า Desktop ให้เปิด This PC จากนั้นที่หน้าต่างของ This PC ให้คลิกแถบ Computer แล้วให้คลิกเลือก Map network drive

Map Drive แล้วถาม Password

ADVERTISEMENT

  1. และยังสามารถคลิกขวาที่ This PC แล้วเลือก Map network drive ได้อีกเช่นกัน (ปล. ขั้นตอนนี้จะใช้ได้ใน Windows 8.1 และ Windows 7 ด้วย)

Map Drive แล้วถาม Password

  1. จากนั้นจะแสดงหน้าต่าง “Map network drive” เลือก Drive: ได้ตามต้องการ และที่ช่อง Folder: ให้ทำการใส่ข้อมูลของเครื่องคอมฯหรือเซิฟเวอร์ที่แชร์ไฟล์ไว้แล้ว
    • กรณีที่เราทราบชื่อ Folder ก็ให้ระบุชื่อของ Folder นั้นไปด้วย ยกตัวอย่างเป็น “\\server name\folder หรือ “\\computer name\folder” แล้วคลิกปุ่ม Finish
    • และหากไม่ทราบชื่อหรือจำชื่อของ Folder ไม่ได้ ก็ให้ใส่เพียงชื่อเครื่อง ตัวอย่าง “\\Server name” หรือ “\\Computer name” แล้วคลิกปุ่ม Browse… แล้วเลือก Folder ที่ต้องการ ตามด้วยคลิก Finish

Map Drive แล้วถาม Password

  1. หลังจากนั้นไดร์ของ File share ก็จะแสดงในหน้า This PC แล้วครับ

การ Map Drive กรณีที่มีการกำหนด User และ Password

โดยการกำหนดสำหรับการแชร์ไฟล์โดยกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลไว้ นั้นคือตั้ง User และ Password ไว้ ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้ Folder ที่เปิดแชร์ไว้ได้นั้นก็ต้องมี user และ รหัส

  1. โดยขั้นตอนนั้นก็ให้ทำเหมือนข้อ 1 ถึง 3 แต่ที่ข้อ 3 นั้นให้เลือกที่ช่อง (/) Connect using different credentials ด้วย แล้วก็คลิกปุ่ม Finish

Map Drive แล้วถาม Password

  1. จะแสดงหน้าต่างให้ใส่ Username และ Password ก็ให้ใส่ข้อมูลให้เรียบร้อย เมื่อเสร็จแล้วก็คลิก Ok เพียงเท่านี้ Map network drive ก็จะเพิ่มลงในส่วนของหน้า This PC หรือ Computer

Map Drive แล้วถาม Password

ต่อไปนี้หากต้องการเข้าใช้งานข้อมูลผ่านการแชร์ไฟล์ก็ไม่ต้องไปค้นหา Server ก่อนอีกแล้ว เพราะเราสามารถเปิด This PC แล้วก็เข้าไดร์ Z: หรือ X: ตามที่ได้กำหนด Map network drive ไว้ ง่ายๆแสนง่าย

วันนี้จะแนะนำวิธีแก้ไข Windows cannot Access หลังจากที่พยามจะเชื่อมเข้าไฟล์แชร์ หรือเชื่อมไปเครื่องที่แชร์ข้อมูลไว้ แล้วมันจะมีข้อความแจ้งว่า Network Error Windows cannot Access You do not permission to access สาเหตุเกิดจาก username ที่ใช้งานไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้งานในระบบของ Server ได้ ดังนั้นต้องทำการเพิ่ม Username และ password ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่ใช้งานอยู่นี้ก่อน

แก้ปัญหาเข้า File share แล้วขึ้น Network Error Windows Cannot Access

สำหรับการแก้ปัญหานี้จะเป็นกรณีของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้เชื่อมอยู่ใน Domain Controller ของ Windows Server จำเป็นที่จะต้องเพิ่ม username และ Password ที่ถูกสร้างไว้ในระบบของ Windows Server หรือเครื่องที่เปิดไฟล์แชร์นั้นไว้ก่อน ให้ข้อมูลนั้นเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ที่จะใช้งานเชื่อมต่อไปใช้ข้อมูลที่แชร์ไว้

การแก้ไขปัญหานี้ไม่ว่าจะเป็น Windows 10, Windows 8.1, และ Windows 7 จะใช้วิธีการเพิ่ม username และ Password เข้าไปใน credential manager ใน Windows Control panel ของเครื่องนั้นๆ ให้เรียบร้อยก่อน หรือตรวจสอบข้อมูลที่เพิ่มไว้ credential manager นั้นถูกต้องไหม

ADVERTISEMENT

1. เปิดเข้าไปที่ Control panel (แผงควบคุม) ของเครื่องนั้นก่อน (วิธีเข้า Control panel windows 10)

2. ที่หน้า Control panel แบบ viwe: icon (แสดงเป็น: ไอคอน) ให้คลิกเลือกไปที่ Credential manager (ตัวจัดการข้อมูลประจำตัว)

Map Drive แล้วถาม Password

3. จากนั้นให้คลิกเลือก Windows credentials และคลิกที่ Add a Windows credential (เพิ่มข้อมูลประจำตัวของ Windows)

Map Drive แล้วถาม Password

4. หลังจากนั้นที่หน้า Add a Windows Credential ให้กรอกข้อมูลของ Server ที่ต้องการเข้าใช้งาน

  • Internet or network address (ที่อยู่เครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ต) ให้ระบุชื่อของ Server หรือ IP Address Server ที่จะเข้าไปใช้งานไฟล์แชร์
  • User name (ชื่อผู้ใช้) และ Password (รหัสผ่าน) ให้ระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน ที่สร้างไว้ในเครื่อง Server ตามที่ระบุไว้ในช่อง Internet or network address
  • เมื่อระบุข้อมูลครบแล้ว คลิกปุ่ม OK (บันทึก)

Map Drive แล้วถาม Password

5. เมื่อเสร็จแล้วจะพบข้อมูลที่เพิ่มใน Windows Credentials แล้วก็ให้ลองเชื่อมไปที่ File share นั้นใหม่อีกรอบ

และกรณีคนที่มีการเพิ่มข้อมูลไว้ที่ Windows Credential อยู่แล้วแต่ก็ยังเข้าไม่ได้ ก็ให้ตรวจสอบว่า Username และ Password นั้นถูกต้องไหม โดยการคลิกที่ Edit หรือลบออกแล้วเพิ่มเข้าไปใหม่ตามตัวอย่างของโพสนี้

Map Drive แล้วถาม Password

เมื่อตั้งค่าเพิ่มข้อมูลทุกอย่างครบแล้ว ก็ให้ทำการลองเข้าใช้งาน File share หรือเพิ่ม map drive นั้นใหม่อีกรอบ ซึ่งหากข้อมูลครบและถูกต้องก็จะสามารถเข้าใช้งานได้แล้ว

แต่หากยังแจ้งปัญหาอยู่ ก็ต้องตรวจสอบเพิ่มเติมว่าขาดอะไรไป เช่นมีชื่อผู้ใช้งานระบบหรือยัง และรหัสผ่านถูกต้องไหม หรือหากว่าเป็นระบบ Windows Server ที่มี Domain Controller แต่เครื่อง PC ไม่ได้ Join domain ก็อาจจะต้องเพิ่มผู้ใช้งานในรูปแบบ domain\username หรือ username@domain

และหากเป็นการแชร์ไฟล์ระหว่าง Windows 10 กับ Windows 7 ให้ทำการเปิดใช้งาน SMB v1 ในฝั่งของ Win10 ก่อนให้เรียบร้อย โดยดูได้ที่โพส วิธีเปิดใช้งาน SMB v1