ดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม 4 ภาค

ประวัติความเป็นมาของเครื่องดนตรีอีสาน

   ดนตรี เป็นสิ่งสร้างสรรค์จรรโลงโลก เป็นมรดกของชนชาตินั้น ๆ ทุกชนชาติ ทุกภาษาย่อมมีดนตรีเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ในเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมันเอง บ้างก็เอาไว้ ขับกล่อม เอาไว้ผ่อนคลายความตึงเครียด ไว้เป็นสื่อเป็นตัวแทนในสิ่งต่าง ๆ เป็นหน้าเป็นตา ของเมืองนั้น ๆ และใช้ในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองด้วย ซึ่งดนตรีมีวิวัฒนาการและสะสม ภูมิปัญญาของชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีคลาสสิก ดนตรีแจ๊ส ดนตรีบ๊อบแม้กระทั่งดนตรีต่าง ๆ ในโลกนี้ก็ตาม ล้วนมาจากพื้นฐานทางดนตรีด้วยกันทั้งสิ้น ดนตรีจึงเป็นภาษาสากล ที่สามารถทำให้มนุษย์เราทุกชนชาติเข้าใจกันและกันได้ ผู้ที่สามารถเข้าใจดนตรีได้เป็นอย่างดี และลึกซึ้ง ย่อมได้เปรียบบุคคลอื่น ทั้งในด้านการคบหาสมาคมกับผู้อื่นและด้านสติปัญญา เพราะวิชาดนตรีสามารถกล่อมเกลาจิตใจคนได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นดนตรีของชนชาติใด ๆ ในโลกนี้ล้วนแล้วแต่มีคุณประโยชน์ด้วยกันทั้งสิ้น

มนุษย์เราเริ่มแรกตั้งแต่มีชีวิตขึ้นมาท่ามกลางสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบในรูปแบบต่าง ๆ นั้นสามารถผ่านเข้าสู่ระบบของร่างกาย โดยผ่านสื่อที่ซึมซาบเข้าสู่กระบวนการของสมอง ซึ่งตัวเราเองได้สัมผัสและเข้าใจได้โดยง่ายนั่นก็คือ เสียงดนตรี ดังคำที่ว่าดนตรีเป็นภาษาที่คนทั่วโลกเข้าใจได้ตรงกันมากที่สุด ดังนั้น ดนตรีจึงเป็นสื่อที่ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดตลอดจนความรู้ความบันเทิง และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือสามารถขัดเกลานิสัยและ จิตใจของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ดนตรีจึงจัดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสื่อสารในเชิงสร้างสรรค์ นับได้ว่าเป็นสื่อสากลที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ในระดับที่กว้างขวางและลึกซึ้ง

จากอดีตจนถึงปัจจุบันชีวิตของมนุษย์เรามีความเกี่ยวพันกับดนตรีตั้งแต่แรกเกิดจนตาย ไม่ว่าจะเป็นดนตรีจากเพลงกล่อมเด็ก ดนตรีจากพิธีกรรมทางศาสนา ล้วนแต่มีความจำเป็นทั้งสิ้น ซึ่งมนุษย์ทุกเชื้อชาติทุกวรรณะสามารถฟังและเข้าใจได้โดยไม่ต้องอธิบาย ดนตรียังก่อให้เกิดอารมณ์คล้อยตาม เกิดความสบายใจ ผ่อนคลายความตึงเครียด นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่สะท้อนสังคมเป็นการแสดงออกทางศิลปะ และถ่ายทอดเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคมออกมาในรูปของ บทเพลงทั้งทางตรงและทางอ้อม

ดนตรีจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความละเอียดอ่อน งดงาม และมีคุณค่า ดำรงความเป็นเอกลักษณ์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยเป็นที่ยอมรับ และเชื่อถือกันว่าดนตรีเป็นภาษาชนิดหนึ่งของมนุษย์ ชาติใดที่มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง ก็มักจะมีดนตรีเป็นของตนด้วย เพราะดนตรีและเพลงร้องเป็นสิ่งที่พัฒนามากันกับภาษาพูดของแต่ละประเทศนั้น ๆ เครื่องดนตรีน่าจะมีลักษณะการเกิดในแนวเดียวกันคือ เริ่มต้นที่การตี เคาะ และการกระทุ้งหรือกระแทก ก่อให้เกิดจังหวะเป็นการเริ่มต้นของดนตรี นอกจากนั้นการเป่าจึงเกิดขึ้นตามมาเพราะคนเราต้องหายใจ จนแม้แต่การพูด การผิวปาก ก็คือการเป่าด้วย และการที่มนุษย์เราใช้ธนูในการล่าสัตว์ เพื่อหาเลี้ยงชีพ การดีดของธนูทำให้เกิดเสียงเป็นจุดเริ่มต้นของการหาวัสดุในการดีด ทำให้เป็นดนตรีหรือเสียงด้วย การตั้งสายที่สูงต่ำต่างกันออกไป จนเกิดเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด จนเมื่อมนุษย์เราได้ยินเสียงกอไผ่เสียดสีกันเป็นเสียง จึงได้มีการพัฒนาสร้างคันชักสำหรับสีขึ้น ซึ่งก็กลายเป็นเครื่องดนตรีประเภทสีขึ้นมาในที่สุด

ดนตรีพื้นบ้าน ได้สะท้อนถึงขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วัฒนธรรม สภาพความเป็นอยู่ ความอุดมสมบูรณ์ ความแห้งแล้ง โดยภาพสะท้อนเหล่านี้จะดูได้จาก สำเนียงเพลง บทเพลง ลักษณะของเครื่องดนตรีได้อย่างชัดเจน ซึ่งดนตรีของแต่ละภาคจะมีลักษณะโดยเฉพาะของตนเอง จะมีสำเนียงเพลง ภาษา เอกลักษณ์ และลักษณะเครื่องดนตรีแตกต่างกันออกไปตามลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เช่น ทางภาคเหนืออากาศหนาวเย็น และเงียบ คนทางภาคเหนือก็จะทำอะไรช้า ๆ แม้กระทั่งคำพูดคำจาของทางภาคเหนือก็จะช้า ๆ เนิบ ๆ พูดเสียงเบา ซึ่งเป็น ผลสะท้อนทำให้เครื่องดนตรีทางภาคเหนือนั้นเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะการเล่นการบรรเลงอย่างช้า ๆ และเครื่องดนตรีก็มีเสียงค่อนข้างเบา ฟังดูเยือกเย็นและอ่อนหวาน ซึ่งมีผลสะท้อน ที่สอดคล้องเช่นเดียวกับภาษาที่ใช้ทางภาคเหนือ และแต่ละลักษณะของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของชนกลุ่มนั้น ๆ โดยอาศัยสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศเป็นเกณฑ์ และไม่มีขอบเขตที่ตายตัวและแน่นอน เครื่องดนตรีทางภาคเหนือมีลักษณะงดงาม เพราะคน ทางภาคเหนือมีเวลาที่จะประดิษฐ์คิดค้นรูปร่างของเครื่องดนตรีต่าง ๆ มากมาย

ดนตรีทางภาคอีสาน เนื่องจากทางภาคอีสานมีอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง เมื่อถึงเวลาหน้าฝนชาวอีสานต้องรีบทำมาหากินเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง จนไม่มีเวลาที่จะสนุกสนาน มากนัก เครื่องดนตรีจึงไม่สวยงาม ประดิษฐ์ขึ้นอย่างง่าย ๆ และใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ในท้องถิ่น การบรรเลงก็รวดเร็วคึกคัก กระชับและสนุกสนาน แสดงถึงความเร่งรีบ

จากที่กล่าวมาข้างจึงเห็นได้ว่าดนตรีพื้นบ้านจะมีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวโดย เกิดจากภูมิปัญญาของชนชาวอีสาน โดยลักษณะของเครื่องดนตรีจะเกิดขึ้นกับแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกันและได้มีการนำมารวมวงกันเกิดขึ้น ซึ่งเป็นขอบเขตที่ชี้ลงไปอีกว่าสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศแห้งแล้งหรืออุดมบรูณ์ โดยจะสังเกตเห็นได้จากการกำเนิดของเครื่องดนตรีแต่ละประเภท ตัวอย่างเช่น โหวด กำเนิดขึ้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ชี้ให้เห็นถึงความแห้งแล้ง เพราะเสียงของโหวดเมื่อได้ฟังแล้วจะรู้สึกถึงความรันทด หดหู่ใจ และสอดคล้องกับสภาพของดินฟ้าอากาศที่จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล สภาพดินแตกระแหงแห้งแล้ง อากาศมีความร้อนสูง ยากแก่การเพาะปลูก เป็นเหตุที่ทำให้เครื่องดนตรีมีเช่นนี้ คือ การเข้าไปหาอาหารในป่า หรือ การล่าสัตว์จึงนำเอาไม้ไผ่ชนิดบาง ๆ มาตัดมีความสั้นยาวที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดเสียงสูงเสียงต่ำ และนำมาเล่นในยามที่ว่างจากงาน หรือยามที่ไม่ได้เก็บเกี่ยวอะไร
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน ซึ่งประกอบด้วย เครื่องดีด สี ตี เป่า ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

  1. เครื่องดีด ได้แก่ พิณ ไหซอง
  2. เครื่องสี ได้แก่ ซออีสาน
  3. เครื่องตี ได้แก่ โปงลาง กลองหาง
  4. เครื่องเป่า ได้แก่ แคน โหวด

ลักษณะของเครื่องดนตรีดังที่จำแนกข้างต้นนี้ ชาวอีสานได้นำมารวมวงและเล่นกัน ในยามว่างงาน และมีความสนุกสนานครื้นเครง ซึ่งเป็นการคลายเครียดอย่างหนึ่งของชาวอีสานที่ได้เสร็จจากการทำงาน
วงโปงลาง เป็นวงที่รวมเอาเครื่องดนตรีทางภาคอีสานมารวมกันไว้ในวงเดียวกัน ซึ่งมี จังหวะ ท่วงทำนอง ลีลา และสีสัน ของเพลงที่แตกต่างกันออกไปจากวงดนตรีชนิดอื่น ๆ โดยมีสัญลักษณ์โปงลางเป็นเอกลักษณ์ และเรียกตามโปงลางว่า “วงโปงลาง” ปัจจุบันการเล่นดนตรีโปงลางเป็นอาชีพมีให้เห็นอย่างมากมายและแพร่หลาย โดยเกิดจากการที่ว่างจากการทำงานจึงได้รวมตัวกันและก่อตั้งวงกันขึ้นมา ซึ่งทำให้มีรายได้เพื่อเลี้ยงชีพและครอบครัวได้ไม่มากก็น้อย ผู้ที่เป็นพ่อและแม่ของชาวอีสานจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของดนตรีพื้นบ้านนอีสาน จึงได้มีการส่งเสริมให้บุตรหลานของตนเข้าเรียนดนตรีและช่วยผ่อนผันค่าใช้จ่ายทางครอบครัวหลังจากที่เสร็จจากการทำไร่ ไถ่นา

แถบภาคอีสานมีการเรียนการสอนดนตรีโปงลางกันเกือบทุกจังหวัด ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ศึกษาและสนใจ ในปัจจุบันมีแหล่งศึกษาสำคัญ ๆ กันอยู่ 2 แห่งใหญ่ ๆด้วยกัน คือ วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด และวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ในปัจจุบัน วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งอบรมสั่งสอนให้ ความรู้ด้านนาฏศิลป์ แก่กุลบุตรกุลธิดาของประชาชน ในจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดใกล้เคียง ดนตรีพื้นเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปงลางเป็นสาขาหนึ่งที่เน้นและส่งเสริมในเรื่องการเรียน การสอน และการอนุรักษ์เผยแพร่เก่าสาธารณะชนทั่วไป จนเป็นที่ยอมรับกันว่า ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานเป็นที่รู้จักเป็นที่ชื่นชม และเป็นที่รักหวงแหนควรแก่การที่จะดำรงรักษาไว้ให้เป็นสมบัติของคนไทยทั้งชาติดังนั้น วงดนตรีโปงลางของวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ จึงเป็นวงมาตรฐานที่คน ทั่วไปยอมรับว่าเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัด โดยจะเห็นได้จากการที่มีบุคคลสำคัญมาเยือนจังหวัดกาฬสินธุ์ ทางราชการก็จะจัดให้มีการแสดงวงดนตรีโปงลางของวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ ให้คณะผู้มาเยือนได้ชมอยู่เสมอ สร้างความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง และนอกจากนี้

วงดนตรีโปงลางดังกล่าวยังได้เป็นตัวแทนของจังหวัดกาฬสินธุ์และของประเทศไทยไปแสดง เผยแพร่ในต่างประเทศ มากมายหลายประเทศไม่ว่าจะเป็น ยุโรป เอเชีย และอเมริกา สร้างความ ชื่นชมให้ชาวต่างประเทศที่นิยมในการอนุรักษ์ดนตรีพื้นเมืองเป็นยิ่งนัก

ดนตรี 4 ภาคมีอะไรบ้าง

เครื่องดนตรี 4 ภาค ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ไปดูกันเล้ย!!! เครื่องสี ได้แก่ ซอด้วงและซออู้ เครื่องตี ได้แก่ ระนาดเอก, ระนาดทุ้ม ระนาดทอง, ฆ้อง, ฉิ่ง, ฉาบและกรับ เครื่องเป่าได้แก่ ขลุ่ยและปี่

ดนตรีพื้นเมืองมีอะไรบ้าง

วงสะล้อซึง วงป้าดก๊อง วงปี่พาทย์พื้นเมือง วงปี่พาทย์วงเครื่องสาย วงมโหรีวงอังกะลุง วงแตรวง วงโปงลาง วงแคน วงกันตรึม วงมโหรี พื้นบ้าน วงกาหลอ วงรองเง็ง

ดนตรีพื้นเมืองแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

มี๒ ประเภท ประเภทเครื่องดีด เช่น จะเข้กระจับปี่ซึง (ปิน) พิณอีสาน พิณเปี๊ยะ เป็นต้น • ประเภทเครื่องสาย เช่น ขิม ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้สะล้อ รือบับ โกร (ซอมอญ) เตหน่า (นาเด่ย) เป็นต้น ก่อนนามาใช้ทุกครั้งต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อย ปรับเสียง และตั้งระดับเสียงให้ถูกต้อง รวมทั้งต้อง

ดนตรีพื้นบ้านมีกี่ภาค

วงดนตรีพื้นบ้านมีการแบ่งออกเป็นภาคต่าง ๆ คือ วงดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ วงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ วงดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง วงดนตรีพื้นบ้านเป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น