กิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ ที่บ้าน

4.กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์

4.กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์

กิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ ที่บ้าน

       กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์เป็นกิจกรรมอาสาสมัครนานาชาติสำหรับเด็กผู้หญิงและ
สตรีที่สนใจ โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ วรรณะ และศาสนา มีเป้าหมายเพื่อฝึกเด็กผู้หญิงให้เป็นพลเมืองดี
มีประโยชน์ต่อสังคม ตามหลักการที่ Lord Baden Powell ผู้ก่อตั้งกิจกรรมลูกเสือและผู้บำเพ็ญ
ประโยชน์ได้กำหนดไว้ โดยการฝึกทักษะต่าง ๆ ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์
สังคม และคุณธรรม มีคำปฏิญาณและกฎ ๑๐ ข้อ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
โดยมีการจัดองค์กร การบริหารตามข้อบังคับ และนโยบายขององค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งโลก
(The World Association of Guides and Girl Scouts)

 หลักการ
กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นกระบวนการในการทำงานเพื่อให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรี
มีโอกาสเท่าเทียมกันในการพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพ โดยในการฝึกจะต้องให้สมาชิกได้รับ
การพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพและครบถ้วนทั้ง ๖ ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา
จิตใจ และคุณธรรม

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีมีอุปนิสัยที่ดีตามแนวทางของคำปฏิญาณและกฎ
๒. เพื่อเตรียมเด็กผู้หญิงและเยาวสตรีให้มีทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน
๓. เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีได้ฝึกทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
๔. เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีได้รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นและบำเพ็ญตน
ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

แนวการจัดกิจกรรม
การจัดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์มีขอบข่ายที่ประกอบด้วย ข้อกำหนด จุดประสงค์
สาระกิจกรรม กระบวนการฝึก หลักสูตรพื้นฐาน พิธีการ และเครื่องแบบ โดยจำแนกตามประเภท
ของสมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วย สมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์ที่เรียกว่า เยาวสมาชิก
ผู้บำเพ็ญประโยชน์มีทั้งหมด ๔ รุ่น คือ
รุ่นที่ ๑ นกน้อย ได้แก่ เด็กหญิงอายุประมาณ ๔-๖ ปี เรียนอยู่ในชั้นอนุบาล ๑-๓
รุ่นที่ ๒ นกสีฟ้า ได้แก่ เด็กหญิงอายุประมาณ ๗-๑๑ ปี
เรียนอยู่ในระดับประถมศึกษา (ป.๑-ป.๖)
รุ่นที่ ๓ ผู้บำเพ็ญประโยชน์รุ่นกลาง ได้แก่ เยาวสตรีอายุประมาณ ๑๒-๑๕ ปี
เรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-ม.๓)
รุ่นที่ ๔ ผู้บำเพ็ญประโยชน์รุ่นใหญ่ ได้แก่ เยาวสตรีอายุประมาณ ๑๖-๒๐ ปี
เรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔-ม.๖) หรือสูงกว่านั้น

               กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ มีแนวการจัดกิจกรรมเฉพาะ ๙ ข้อ ดังนี้
๑. ให้ยึดมั่นและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์
(Promise and Laws) วิธีการนี้จะช่วยสร้างอุปนิสัยที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ และ
ตระหนักในหน้าที่ของตนที่มีต่อชุมชนและประเทศชาติ
๒. ระบบหมู่ (Patrol System) ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีมที่เรียกว่า ระบบหมู่ โดยให้
ทำงานร่วมกันเป็นหมู่เล็ก ๆ ๖-๘ คน ฝึกความเป็นผู้นำและผู้ตามในการปกครองตนเอง วิธีการนี้
ช่วยพัฒนาทักษะความเป็นประชาธิปไตย
๓. เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้รู้ถึงความสนใจ ความสามารถ
และความต้องการของตน
๔. ฝึกพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า (Progressive Development) ให้มีการปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงตัวเอง รู้จักสร้างโอกาสในการทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทายความสามารถด้วยตนเอง วิธีการนี้
จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนาความสนใจและความสามารถของตนยิ่งขึ้น
๕. ให้มีความร่วมมืออย่างจริงจังระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ (Active Co-operation between
Youths and Adults) เป็นความร่วมมือด้านความคิด การวางแผน การตัดสินใจ การดำเนินกิจกรรม
และการประเมินผลร่วมกัน ความร่วมมือนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการส่งเสริมให้คนรุ่นเยาว์ได้
พัฒนาตนเองและมีความรับผิดชอบ วิธีการนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กและได้เห็น
แบบอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ด้วย
๖. การใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน (Symbolism) ฝึกให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกันในการ
เป็นสมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์ด้วยการใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน ได้แก่ เครื่องแบบ เครื่องหมาย
การทำความเคารพ รหัส คำปฏิญาณ กฎ คติพจน์ คำขวัญ ธง วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนตระหนัก
และภาคภูมิใจในการที่เป็นสมาชิกขององค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งโลก ซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั่วโลก
และเป็นองค์กรสตรีที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในโลก
๗. กิจกรรมกลางแจ้ง (Outdoor Activities) ฝึกการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นและฝึก
การเตรียมพร้อมเสมอ ด้วยการใช้กิจกรรมกลางแจ้งและการอยู่ค่ายพักแรม วิธีการนี้ช่วยให้ผู้เรียน
มีความพร้อมในการดำเนินชีวิต
๘. ฝึกให้บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน (Community Service) วิธีการนี้จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึก
นิสัยการบำเพ็ญประโยชน์ และมีความรับผิดชอบในการช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชน ประเทศชาติ
และสังคมโลก

 ๙. เรียนรู้เกี่ยวกับนานาชาติ (International Experience) ทั้งด้านวัฒนธรรมศาสนา และ
วิถีชีวิต วิธีการนี้ช่วยให้ผู้เรียนยอมรับความแตกต่างของบุคคลในชาติและสังคมโลก เพื่อลดข้อขัดแย้ง
และรู้จักพึ่งพาอาศัยกันเป็นการสร้างสันติสุขในโลก
โปรแกรมการจัดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์

                   กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ มีสาระของกิจกรรม ๑๐ โปรแกรม ดังนี้
๑. การบำเพ็ญประโยชน์ (Giving Service)
โปรแกรมนี้จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีได้เรียนรู้เกี่ยวกับ
กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ ได้ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ให้เป็นผู้ที่ช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ แสดงความเมตตา
กรุณา เพื่อให้ไปบำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม
๒. การเป็นพลเมืองดี (Citizenship)
โปรแกรมนี้จะช่วยให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีได้ฝึกฝนตนเองให้เป็นพลเมืองที่ดี
มีความรับผิดชอบ โดยการปฏิบัติหน้าที่ต่อตนเอง ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ประเทศชาติด้วย
ความเต็มใจ ปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของผู้บำเพ็ญประโยชน์
๓. วัฒนธรรมและมรดกของชาติ (Culture and Heritage)
โปรแกรมนี้จะช่วยให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีมีความรู้ ความเข้าใจ ความภาคภูมิใจ
ในวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ และมรดกของชาติ พร้อมที่จะอนุรักษ์และช่วย
เผยแพร่สิ่งที่ดีงามนี้แก่ผู้อื่น
๔. สิ่งแวดล้อม (Environment)
โปรแกรมนี้จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีได้รู้ เข้าใจ
และตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม
๕. การอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Relationships)
โปรแกรมนี้จะช่วยให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีได้รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น ด้วยการ
เป็นมิตร และเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยกระบวนการของระบบหมู่
๖. สุขภาพ (Health)
โปรแกรมนี้จะช่วยให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีมีสุขภาพดี มีสติปัญญา มีอารมณ์
มั่นคง และรู้จักปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและสังคมได้เป็นอย่างดี

๗. ประสบการณ์นานาชาติ (International Understanding)
โปรแกรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีได้มีความรู้ ความเข้าใจอันดี
ระหว่างชาติ และยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลซึ่งมีพื้นฐานวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทำงานร่วมกันได้อย่างสันติ
เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมนานาชาติ ภาษาต่างประเทศ
และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของประเทศต่าง ๆ เรื่องเกี่ยวกับองค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งโลก
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และสายใยแห่งความสัมพันธ์ของสมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์ทั่วโลก
๘. เทคโนโลยี (Technology)
โปรแกรมนี้จะช่วยให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี มีทักษะ
และสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
๙. ครอบครัว (Family Life)
โปรแกรมนี้จะทำให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีรู้และเข้าใจบทบาทความรับผิดชอบ
และหน้าที่ของตนเองที่มีต่อครอบครัว เกิดความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว
และมีพื้นฐานในการสร้างครอบครัวในอนาคต
๑๐. วิสัยทัศน์ (My Vision)
โปรแกรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีได้มีโอกาสค้นหาความต้องการ
ความสามารถ ความสนใจ และวิสัยทัศน์ของตนเอง ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อเตรียมตัวเอง
ให้สามารถตัดสินใจที่จะเลือกอาชีพที่ถนัดและสนใจในอนาคตได้
เมื่อผู้เรียนรวมกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ตามโปรแกรม ๑๐ โปรแกรมแล้ว
ผู้เรียนแต่ละคนสามารถเลือกทำเครื่องหมายแสดงความสามารถ (Efficiency Badges)
ที่ตนสนใจและถนัดได้ เป็นการประเมินผลขั้นสุดท้ายของสมาชิกแต่ละระดับ

เงื่อนไข
๑. เวลาในการร่วมกิจกรรม
การจัดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ตามหลักสูตรในแต่ละรุ่น สถานศึกษาอาจจัดเวลา
ได้ตามความเหมาะสม

๒. การจัดกิจกรรม
๒.๑ การจัดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ตามหลักสูตร ควรจัดให้มีการเปิดชุมนุม
ทุกครั้งก่อนที่จะมีการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อเป็นการฝึกความมีระเบียบวินัยในตนเอง โดยปฏิบัติ
ตามขั้นตอน ดังนี้
๒.๑.๑ เปิดชุมนุม (การเปิดชุมนุมของสมาชิกรุ่นนกน้อยและนกสีฟ้า ต้องทำ
ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม สำหรับสมาชิกรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้ง แต่อย่างน้อย
ควรทำเดือนละ ๑ ครั้ง)
๒.๑.๒ จัดกิจกรรมตามโปรแกรมหรือตามเครื่องหมายแสดงความสามารถ
(Efficiency Badges)
๒.๑.๓ ใช้วิธีการ (Methods) ๙ ข้อ
๒.๑.๔ ใช้เพลงหรือเกมที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่จัดกิจกรรม
๒.๑.๕ ปิดชุมนุม (การปิดชุมนุมของสมาชิกรุ่นนกน้อยและนกสีฟ้า ต้องทำ
ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม สำหรับรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ใช้การปิดชุมนุมทุกครั้งด้วยการร้องเพลง
เสร็จหนึ่งวัน/Taps)
๒.๒ กิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรม
การเดินทางไกลและการเข้าค่ายพักแรม มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกให้สมาชิก
ผู้บำเพ็ญประโยชน์มีความอดทน อยู่ในระเบียบวินัย รู้จักช่วยเหลือตนเอง รู้จักอยู่และทำงานร่วมกับ
ผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้และฝึกทักษะตามหัวข้อ (Theme) ของการเข้าค่ายพักแรม ซึ่งหัวหน้าหมวด
ผู้บำเพ็ญประโยชน์และเยาวสมาชิกได้วางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว การอยู่ค่ายพักแรมสามารถทำได้
ตามความเหมาะสมหรืออย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๒.๓ กิจกรรมพิธีการ สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมพิธีการของผู้บำเพ็ญประโยชน์
เช่น การเปิดชุมนุม พิธีปฏิญาณตน พิธีมอบเครื่องหมายแสดงความสามารถพิเศษ (Efficiency
Badges) พิธีวันรำลึก (Thinking Day) เป็นต้น เพื่อให้สมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์มีความภาคภูมิใจและ
เห็นคุณค่าของการเป็นสมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์
๒.๔ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ สถานศึกษาควรส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้สมาชิก
ผู้บำเพ็ญประโยชน์ได้มีกิจกรรมเพื่อการบำเพ็ญประโยชน์ตามอุดมการณ์ของผู้บำเพ็ญประโยชน์
๓. หัวหน้าหมวดผู้บำเพ็ญประโยชน์ (Leaders) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรม
ผู้บำเพ็ญประโยชน์ ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรหัวหน้าหมวดผู้บำเพ็ญประโยชน์ขั้นพื้นฐาน

๔. สถานศึกษาที่ประสงค์จะจัดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้ขออนุญาตเปิดหมวด
ผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
เลขที่ ๕/๑-๒ ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
E-mail : [email protected] Website : http://www.ggat.org
โทรศัพท์ ๐๒-๒๔๕-๐๒๔๒, ๒๔๕-๓๕๙๙, ๒๔๕-๐๖๔๑ โทรสาร ๐๒-๒๔๖-๔๖๙๙

การประเมินกิจกรรม
๑. ประเมินจากพฤติกรรมความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม โดยประเมินจากจำนวน
ครั้งและเวลาในการจัดกิจกรรม
๒. ประเมินจากการปฏิบัติกิจกรรมได้ตรงตามจุดประสงค์ของแต่ละกิจกรรม โดย
ประเมินจากผลงานและการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น
๓. ประเมินพัฒนาการของเยาวสมาชิกด้านต่าง ๆ ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ
สติปัญญา และคุณธรรม โดยประเมินจากผลการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อได้รับเครื่องหมายแสดงความ
สามารถ โดยกำหนดผลการประเมินเป็น “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน”
ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมครบตามเกณฑ์ ปฏิบัติกิจกรรม
และมีผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา
กำหนด
ไม่ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่ครบตามเกณฑ์ ไม่ผ่าน
การปฏิบัติกิจกรรม หรือมีผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะ
ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

ตัวอย่างกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ มีอะไรบ้าง

1. การบำเพ็ญประโยชน์ต่อโรงเรียน หมายถึง การที่นักเรียนอาสาสมัครช่วยงานของสาขาวิชาหรือฝ่าย ซึ่งมีผลดีต่อโรงเรียนหรือเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของโรงเรียนโดยตรง เช่น การจัดเรียงเอกสารประกอบการประชุม การเป็นผู้แทนของโรงเรียนไปร่วมพิธีทางศาสนาในวัน สำคัญต่าง ๆ การปลูกต้นไม้บริเวณหอพัก การเป็นพี่เลี้ยงร่วมกิจกรรมต่าง ๆ

บําเพ็ญประโยชน์ อะไรบ้าง

กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นกระบวนการในการทำงานเพื่อให้เด็กผู้หญิงและเยาวสตรีมีโอกาสเท่าเทียมกัน ในการพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ โดยในการฝึกจะต้องให้สมาชิกได้รับการพัฒนาครบถ้วนทั้ง 6 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา จิตใจ และ คุณธรรม

กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์มีวิธีการฝึกสมาชิกกี่วิธี อะไรบ้าง

ใช้วิธีการฝึกข้อ 1 ให้ยึดมั่นและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ ใช้วิธีการฝึกข้อ 2 ระบบหมู่ ใช้วิธีการฝึกข้อ 3 เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ใช้วิธีการฝึกข้อ 4 ฝึกพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า ใช้วิธีการฝึกข้อ 5 มีความร่วมมือจริงจังระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ ใช้วิธีการฝึกข้อ 6 การใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน ใช้วิธีการฝึกข้อ ...

เข็มบําเพ็ญประโยชน์ ติดยังไง

เข็มปฏิญาณติดที่ปมผ้าพันคอ เครื่องหมายประจำหมู่ติดที่อกเสื้อด้านซ้าย เครื่องหมายแสดงความสามารถให้ติดที่แขนเสื้อด้านซ้าย ใต้บั้งผู้บำเพ็ญประโยชน์ (หรือย่ามก็ได้)