ใบกํากับภาษี พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์

การลงใบกำกับภาษี ถึงดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ทั้งผู้ประกอบการและลูกค้าเองต้องรู้จักเงื่อนไขต่างๆ ไว้ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้ใบกำกับภาษีอย่างถูกต้อง ไม่มีปัญหาตามมาภายหลังนั่นเองครับ

การลงรายการในใบกำกับภาษี

สิ่งที่มักสงสัยในการลงรายการในใบกำกับภาษี

  • ส่วนไหนต้องพิมพ์
  • แบบไหนเขียนมือได้
  • แบบไหนใช้ตราประทับได้

 

จุดสังเกตก่อนลงรายการ

เรื่องสำคัญก่อนลงรายการใบกำกับภาษี ต้องแยกให้ถูกว่าเป็นใบกำกับภาษีแบบไหน

1.ใบกำกับภาษีที่ตีพิมพ์จากโรงพิมพ์

2.ใบกำกับภาษีที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์

 

ใบกำกับภาษีที่ตีพิมพ์จากโรงพิมพ์

วิธีสังเกต

  1. คำว่า “ใบกำกับภาษี”
  2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวของผู้ออกใบกำกับภาษี
  3. คำว่า “เอกสารออกเป็นชุด” (ถ้ามี)

ทั้ง 3 ส่วนถูกตีพิมพ์ครบออกจากโรงพิมพ์มาพร้อมกัน

การใช้งาน

ส่วนอื่นๆ เช่น รายการ, วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี, ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ จะลงรายการด้วยการเขียนด้วยมือ พิมพ์ดีด ใช้ตราประทับ หรือพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ได้ และยังสามารถลงรายการรวมกันในใบกำกับภาษีใบเดียวกันได้

 

ใบกำกับภาษีที่ทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์

วิธีสังเกต

  1. คำว่า “ใบกำกับภาษี”
  2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวของผู้ออกใบกำกับภาษี
  3. คำว่า “เอกสารออกเป็นชุด” (ถ้ามี)

ทั้ง 3 ส่วนไม่ได้ถูกตีพิมพ์ครบถ้วนออกจากโรงพิมพ์

การใช้งาน

รายการอื่นๆ จะต้องตีพิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น จะกรอกด้วยมือหรือใช้ตราประทับไม่ได้

tag

การลงรายการในใบกำกับภาษี ลงรายการภาษี ใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีที่ตีพิมพ์จากโรงพิมพ์ ใบกำกับภาษีที่ทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์

ใบกํากับภาษี พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์

ใบกำกับภาษีมีวิธีการจัดทำด้วยกัน 2 แบบ คือ
1. พิมพ์จากโรงพิมพ์
2. พิมพ์จากคอมพิวเตอร์

ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องการออกใบกำกับภาษีเต็มรูป รวมกับเอกสารการค้าอื่นเช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับในชุดเดียวกันและใบกำกับภาษีไม่ใช่เอกสารฉบับแรก จะต้องมีข้อความ
1. ใบกำกับภาษี
2. ชื่อ-ที่อยู่และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ออกใบกำกับภาษี
3. คำว่า เอกสารออกเป็นชุด
และหากใบกำกับภาษีมีข้อความตาม 1-3 จะตีพิมพ์ ประทับตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด ออกจากคอมพิวเตอร์ หรือด้วยวิธีการใดก็ได้ สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ แต่หากรายการ 1-3 รายการข้างต้นมาจากคอมพิวเตอร์ รายการอื่นๆ ต้องมาจากคอมพิวเตอร์ทั้งหมด จึงจะสามารถขอคืนภาษีซื้อได้

รายการอื่นๆ เช่น
- ชื่อที่อยู่ของผู้รับใบกำกับภาษี
- หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีและหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
- ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
- มูลค่าของสินค้าหรือของบริการที่ยังไม่รวม VAT และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่แยก ออกมาจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการอย่างชัดเจน
- วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

อ้างอิง มาตรา 86/4 ตามประมวลรัษฎากร และ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.86/2542



LIFESTYLE : Special
วารสาร : CPD&ACCOUNT กุมภาพันธ์ 2561
ใบกํากับภาษี พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์

ใบกํากับภาษี พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์

คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่องการระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูประบุว่า

“กรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่จำต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตนเองให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการแต่อย่างใด”

ปล. ถ้าลูกค้าไม่ได้จด VAT ไม่จำเป็นต้องใส่เลขประจำตัวผู้เสียภาษีก็ได้

ใบกำกับภาษีซื้อระบุ “บ้านเลขที่” ไม่ถูกต้อง

กรณีใบกำกับภาษีระบุเลขที่ที่อยู่ไม่ถูกต้องจากเลขที่ 123/4 ออกเป็น 12/34 กรณีดังกล่าวเป็นใบกำกับภาษีที่มีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ถูกต้อง จึงเป็นใบกำกับภาษีต้องห้ามไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากเป็นใบกำกับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ตามมาตรา 82/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อมูลผู้ขายสินค้า “เขียนด้วยมือ” แทนการพิมพ์

ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขายสินค้า ตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้พิมพ์ขึ้น หรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม

ใบกำกับภาษีลืมพิมพ์คำว่า “แขวง…”

ใบกํากับภาษี พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์

กรณีบริษัทฯ ได้รับใบกำกับภาษีซื้อ ซึ่งระบุที่อยู่ของผู้ซื้อถูกต้อง แต่มิได้ระบุแขวงไว้ เนื่องจากรายการที่อยู่ของผู้ซื้อ ซึ่งระบุไว้ในใบกำกับภาษี สามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดแจ้งถูกต้อง ตามมาตรา 86/4 (3) แห่งประมวลรัษฎากร จึงเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้

ใบกำกับภาษีไม่ได้ระบุ “รหัสไปรษณีย์” (หรือกรอกผิด)

รหัสไปรษณีย์ไม่ใช่รายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทฯ ได้รับใบกำกับภาษีซื้อซึ่งระบุรหัสไปรษณีย์คลาดเคลื่อน บริษัทฯ จึงใช้เป็นใบกำกับภาษีซื้อได้

ใบกำกับภาษีเขียนชื่อบริษัทแบบย่อ

ใบกํากับภาษี พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์

กรณีระบุชื่อของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามวรรคหนึ่งไม่ครบถ้วนโดยมีเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) ละคำที่ประกอบคำหน้า แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว

ใบกำกับภาษีเขียนจาก “ประเทศไทย” เป็น “ไทยแลนด์”

ใบกํากับภาษี พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์

ลูกค้าซึ่งมีชื่อตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.20 ว่า “บริษัท จ. (ไทยแลนด์) จำกัด” แต่บริษัทฯ ได้ระบุชื่อลูกค้าว่า “บริษัท จ. (ประเทศไทย) จำกัด” ซึ่งเป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น หากใบกำกับภาษีมีรายการอื่นถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร

บริษัท จ. (ไทยแลนด์) จำกัด มีสิทธินำใบกำกับภาษีดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แต่การออกใบกำกับภาษีในคราวต่อไป บริษัทฯต้องระบุชื่อลูกค้าตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม