Gastrectomy การพยาบาลหลังผ่าตัด

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร จากสาเหตุต่างๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหารที่มีเลือดออกรุนแรง การผ่าตัดลดความอ้วน (Bariatric Surgery) เนี้องอกชนิดต่างๆ หรือมะเร็งกระเพาะอาหารฯลฯ กระเพาะที่ถูกตัดออกไปจะทำให้ส่วนที่เหลืออยู่ ทำงานไม่เป็นปกติ ทำให้ระบบการย่อยอาหารแปรปรวน มีผลข้างเคียงมากมายตั้งแต่ คลื่นไส้ อาเจียน จุก แน่นหน้าอก ปวดท้อง ท้องเสีย หน้ามืด เป็นลม อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงอย่างมาก คุณภาพชีวิตเลวร้าย แทบไม่อยากมีชีวิตอยู่

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหารภาวะที่อาหารผ่านกระเพาะอย่างรวดเร็วเข้าสู่ลำไส้ (Dumping Syndrome) เนื่องจากกระเพาะส่วนปลาย (Pylorus) ที่ทำหน้าที่ชะลออาหารไว้ในกระเพาะไม่ให้ไหลผ่านสู่ลำไส้เร็วเกินไป ถูกตัดออกไปน้ำดีจากลำไส้ไหลย้อนเข้าสู่กระเพาะ ทำให้กระเพาะอักเสบ (Bile Gastritis)ภาวะโลหิตจางจากขาดวิตามิน B12 เนื่องจากส่วนของกระเพาะที่ช่วยในการดูดซึม วิตามินถูกตัดออกไปจากประสพการณ์ ที่เจอกับพี่สาวตัวเอง ที่ถูกผ่าตัดกระเพาะส่วนล่างออกไป เพราะมีก้อนเนื้องอก(ไม่ใช่เนื้อร้าย) หลังจากนั้น 1-2 อาทิตย์ มีอาการกินอาหารแล้วจุกแน่น เรอ อาเจียนอย่างมาก กินอะไรไม่ได้เลยแม้กระทั่งน้ำเกลือแร่ หรือน้ำหวาน ยิ่งดื่มยิ่งแย่ลง มีอาการเป็นลมหน้ามืด เวียนหัว ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงอย่างมาก กล้ามเนื้อลีบ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต อยากนอนหลับจบชีวิตลงไปไม่ต้องตื่นขึ้นมา  ญาติๆพยายามพาไปพบแพทย์ที่ทำการผ่าตัดหลายต่อหลายครั้ง ตรวจโดยละเอียด ส่องกล้องดูกระเพาะอาหารอีกครั้ง ก็ไม่พบอะไรผิดปกติ ไม่มีการอุดตันของลำไส้ แนะนำให้กินอะไรก็ได้ อาหารบำรุงต่างๆ แต่ก็ไม่ดีขึ้นกลับแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งกินยิ่งอาเจียน นอนไม่ได้เลยเพราะต้องลุกมาอาเจียนทั้งคืน หลังจากได้นำตัวมาดูแลที่บ้านของผมโดยใกล้ชิดผมรู้สึกถึงความไม่ปกติอย่างมาก ส่วนตัวชอบการค้นคว้าอยู่แล้ว จึงได้พยายาม หาข้อมูลดูในเวปไซต์ ต่างประเทศ จนได้มาเจอกับคนไข้ที่มีอาการใกล้เคียงกับพี่สาวอย่างมาก เป็นคนไข้หลังผ่าตัดลดความอ้วน โดยการผ่าตัดกระเพาะออกไป น้ำหนักลดไปอย่างมาก แต่คุณภาพชีวิตแย่มากๆ ถึงขั้นคิดอยากตายไปจากโลกนี้ อาการที่กล่าวมานี้คืออาการของ Dumping Syndrome (ภาวะที่อาหารผ่านกระเพาะอย่างรวดเร็วเข้าสู่ลำไส้)

อาการของโรค แบ่งเป็น 2 ระยะ
1.อาการฉับพลัน (Early Dumping)

เกิดหลังจากกินอาหาร ประมาณ 30 นาที อาหารที่ผ่านลงไปสู่ลำไส้ที่เร็วเกินไป โดยเฉพาะ อาหารเหลว จะไปตุ้นลำไส้ให้บีบตัวแรงขึ้น ถี่ขึ้น เนื่องจากเส้นประสาทที่ควบคุมถูกตัดขาดไป (Vagotomy) ไม่มีกลไกปรับขยายลำไส้ให้เหมาะสม จะเกิดอาการปวดกระเพาะ อาเจียน จุก เรอ ไม่สบายท้อง อาหารที่ยังเข้มข้นอยู่ ผ่านเข้ามาในลำไส้ ก็จะดูดน้ำจากเส้นเลือดผ่านทางผนังลำไส้เข้ามา ทำให้ปริมาณเลือดลดลง รวมทั้งการสร้างฮอร์โมนของลำไส้ที่ผิดปกติไป ทำให้เกิดอาการหน้ามืด ใจสั่น ความดันต่ำ เป็นลมหมดสติได้ ส่วนปริมาณอาหารที่ขยายตัวในลำไส้จากน้ำที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิด อาการจุกแน่น ปวดท้อง เรอ ตามมาด้วยเช่นกัน

2.อาการ1-3ชั่วโมงต่อมา (Late Dumping)

เกิดจากการที่อาหารที่เข้าสู่ลำไส้เร็วเกินไป น้ำตาลที่เข้าสู่กระแสเลือดโดยรวดเร็วจะกระตุ้นการสร้าง ฮอร์โมนอินสุลินท(Insulin) มากเกินไป เพื่อเตรียมรับกับภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูงฉับพลัน มีฤทธิ์ อยู่นานหลายชั่วโมง ซึ่งไม่สมดุลย์กับภาวะน้ำตาลในเลือดที่แท้จริง เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ทำให้เกิดอาการหน้ามืด ใจสั่น หมดสติได้ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นระยะเวลานานๆ ร่างกายต้องใช้พลังงานจาก น้ำตาลที่สะสมในกล้ามเนื้อ (glycogen) ไขมัน รวมทั่งกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน โดยเฉพาะสมองที่ต้องการ น้ำตาลกลูโคส จะได้จากการสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อ หลังจากน้ำตาลสำรองใช้หมดแล้ว ดังนั้นคนไข้จะมีกล้ามเนื้อลีบลงอย่างเห็นได้ชัด จนสุดท้ายอาจถึงแก่ชีวิต

การตรวจวินิจฉัย

จากประวัติ การผ่าตัดกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะ ส่วนปลายกระเพาะ
จากอาการ ที่สัมพันธ์กับอาหารโดยเฉพาะกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่นของหวาน น้ำหวาน แป้ง
การตรวจเอ็กซเรย์ กลืนแป้ง (Upper GI series)
การตรวจน้ำตาลในเลือดหลังดื่มน้ำหวาน (Glucose Tolerance Test)

การรักษา

ได้แก่ การเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร โดยเฉพาะการเลือกชนิดของอาหาร สำคัญมาก การใช้ยารักษา ได้ผลดีในบางรายส่วนการผ่าตัดแก้ไขไม่นิยมทำกัน

วันที่ 19-07-2012 | อ่าน : 46141


 การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร

Gastrectomy การพยาบาลหลังผ่าตัด

 

     กระเพาะอาหารมีหน้าที่สำคัญในการเก็บอาหารก่อนที่จะบดและคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วส่งต่อไปยังลำไส้เล็กเพื่อผสมกับน้ำย่อยจากตับอ่อนเพื่อย่อยให้ละเอียด  สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารหลังผ่าตัดแล้วกระเพาะจะเหลือมากน้อยขึ้นกับตำแหน่งและขนาดของก้อน  นอกจากนี้การตัดกระเพาะออกอาจทำให้เกิดอาการ  Dumping Syndrome คือ มีอาการอ่อนเพลีย (ง่วงต้องการนอน) คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว มึนงง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของลำไส้และหลอดเลือด มีผลทำให้ อาหารเข้าสู่ลำไส้ส่วนเจจูนั่มเร็วขึ้น เพิ่มแรงดันออสโมติค มีน้ำเข้าสู่ลำไส้เป็นจำนวนมาก และความดันโลหิตลดลง

การดูแลผู้ป่วยขณะอยู่ที่โรงพยาบาล 

   1. แผลที่ผ่าตัด จะอยู่ตรงกลางลากจากลิ้นปี่ลงมาถึงสะดือ  ควรระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำก่อนตัดไหม หรือหลังตัดไหม 2-3 วัน รักษาผิวหนังรอบๆ แผลและผิวหนังทั่งร่างกายให้สะอาด 

   2. หลังผ่าตัดระยะแรกๆ จัดให้นอนศีรษะสูง เพื่อช่วยให้กระบังลมหย่อนตัว  ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น ไม่ต้องออกแรงในการหายใจมาก และช่วยให้ท่อระบายของเสียจากแผลได้สะดวกขึ้น 

   3. ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดแผลมาก ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวด

   4. กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ ทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดขยายตัวดี มีการไออย่างถูกวิธี ถ้าไอไม่ถูกวิธี จะทำให้กระทบกระเทือนบาดแผลเกิดอาการปวดแผลได้

   5. ดูแลการให้อาหารทางสายที่ต่อเข้าลำไส้เล็ก โดยการสวนล้างทุก 8 ชั่วโมง ด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือครั้งละ 10 ซีซี  

   6. สังเกต อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน ชีพจรเต้นเร็ว เพื่อช่วยเหลือได้ทันโดยการให้อาหารโปรตีนสูง  คาร์โบไฮเดรตน้อย ให้รับประทานช้าๆ ควรจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน 

   7. ดูแลให้ได้รับอาหารเหลวแคลอรี่สูง เพื่อสะดวกในการดูดซึม และงดอาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร 

   8. ดูแลจัดสายยางที่ให้อาหารไม่ให้ดึงรั้ง หักพับ และดูแลท่อระบายให้เป็นไปอย่างสะดวก 

   9. กระตุ้นให้ผู้ป่วยพลิกตะแคงตัว ทุก 2 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น 

   11. ประเมินภาวะซีดและขาดวิตามิน บี 12 โดยดูจากเปลือกตาล่างด้านใน ปลายมือปลายเท้า อาการอ่อนเพลีย และค่าผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการ  ดูแลให้ได้รับยาฉีด วิตามินบี 12 และเหล็ก ตามแผนการรักษาของแพทย์

หมายเหตุ  :  การดูแลข้างต้นบางข้อญาติผู้ป่วยอาจช่วยดูแลได้ แต่บางข้อต้องมอบให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 

การดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน

   1. การดูแลเรื่องอาหาร ที่มีประโยชน์และมีสารอาหารครบถ้วน ย่อยง่าย ควรรับประทานปริมาณน้อย บ่อยครั้ง

   2. ไม่ควรอยู่ในท่าเอนนอนหลังรับประทานอาหาร อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง 

   3. งดดื่มชา กาแฟ สุรา และสิ่งเสพติด เช่น งดสูบบุหรี่

   4. น้ำ ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

   5. ยา รับประทานตามแพทย์สั่ง ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง โดยเฉพาะยาที่มีผลต่อเยื่อบุลำไส้ 

   6. การออกกำลังกาย หลังผ่าตัดอย่างน้อยสองเดือนไม่ควรออกแรง หรือเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อหน้าท้องมาก 

   8. การป้องกันไม่ให้เป็นอีก 

   9. อากาศ ควรอยู่ในที่อากาศถ่ายเทดี 

   10. การพักผ่อน นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง 

ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ฟรี คลิกที่นี่ หรือโทร 02-6640078    

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง