ข่าว สิ่งแวดล้อม ใหม่ ทาง สังคม ในทวีปอเมริกาเหนือ

ในปี 2020 นี้ โลกต่างจับจ้องไปที่เหตุไฟป่าแคลิฟอร์เนียและแอมะซอน พร้อมตั้งคำถามถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่นำมาสู่ภัยอันรุนแรงนี้ ล่าสุด แม้แต่พื้นที่ชุ่มน้ำเขตร้อนที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็กำลังเกิดไฟป่าต่อเนื่องมานานหลายเดือนโดยที่โลกภายนอกไม่รับรู้

ภูมิภาคพันตานัล (Pantanal) ซึ่งมีความหมายในภาษาโปรตุเกสว่า “พื้นที่ชุ่มน้ำ” และความหมายในภาษาสเปนว่า “ลุ่มน้ำ” ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ กินพื้นที่ระหว่าง 3 ประเทศ คือ บราซิล โบลิเวีย และปารากวัย

ข่าว สิ่งแวดล้อม ใหม่ ทาง สังคม ในทวีปอเมริกาเหนือ

พันตานัลถือไว้ว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีขนาดพื้นที่กว่า 187,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 3% ของพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งหมดบนโลก โดย “พื้นที่ชุ่มน้ำ” หมายถึง ลักษณะทางภูมิประเทศที่มีรูปแบบเป็น พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขัง หรือท่วมอยู่ถาวร และชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร

ปัจจุบันพันตานัลกำลังได้รับผลกระทบจากไฟป่าครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ เปลวไฟได้เผาผลาญพื้นที่ไปแล้วประมาณ 28% และเจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างสมบูรณ์

ไฟป่าได้ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดหนึ่งในนั้นคือ นกแก้วมาคอว์สีน้ำเงิน (Blue Macaw) หนึ่งในพันธุ์นกที่หายากที่สุดในโลกซึ่งเชื่อกันว่าเหลืออยู่เพียง 6,500 ตัวบนโลก

ข่าว สิ่งแวดล้อม ใหม่ ทาง สังคม ในทวีปอเมริกาเหนือ

ผลกระทบของไฟป่าพันตานัลยังสร้างผลกระทบต่อโลกทั้งใบ เพราะพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น พันตานัล เป็นเสมือนอ่างกักเก็บจานคาร์บอน (Carbon Sink) ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก ระบบนิเวศแบบพื้นที่ชุ่มน้ำจะดูดซับและกักเก็บคาร์บอนมากกว่าปล่อยออกมา พื้นที่ชุ่มน้ำจึงมีบทบาทสำคัญในวัฏจักรคาร์บอน

เมื่อระบบนิเวศที่อุดมด้วยคาร์บอนเหล่านี้ถูกไฟเผาไหม้ ก๊าซจำนวนมหาศาลจะถูกปล่อยกลับสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก และนำไปสู่ภาวะโลกร้อนต่อไป

อันเดร ลุยซ์ ซิเกรา (Andre Luiz Siqueira) ซีอีโอของ ECOA ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งตั้งอยู่ในบราซิลกล่าวว่า "พันตานัลมีความสำคัญมากสำหรับโลกใบนี้ เพราะมีพื้นที่ป่าที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งเป็นพื้นฐานของชีวิตบนโลก ... มันมีความสำคัญมากพอ ๆ กับป่าแอมะซอน"

ในปีนี้ สถาบันวิจัยอวกาศแห่งชาติของบราซิล (INPE) ตรวจพบการเกิดเพลิงไหม้มากกว่า 21,200 ครั้งในพื้นที่ภุมิภาคพันตานัล ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าสถิติไฟป่าจากปี 2005 ถึง 69% ที่ตรวจพบประมาณ 12,500 ครั้ง สำหรับปีนี้เฉพาะในเดือนกันยายน เกิดไฟป่าถึง 8,106 ครั้งมากกว่าค่าเฉลี่ยสูงสุดที่เคยบันทึกไว้ถึง 4 เท่า

พันตานัลมีลักษณะเด่นที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า "ชีพจรน้ำหลาก (Flood Pulse)" คือ ในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม 3 ใน 4 ของที่ราบลุ่มจะถูกน้ำท่วมปกคลุมพื้นที่ แล้วระบายออกในช่วงแล้ง ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกันยายน น้ำท่วมตามฤดูกาลนี้ทำให้พันตานัลกลายเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมือนใคร โดยผืนดินขนาดใหญ่จะเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำเกือบสมบูรณ์

พันตานัลยังเป็นที่อยู่ของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์หรือแปลกประหลาดหลายพันชนิด เช่น เสือจากัวร์ คาปิบารา จระเข้เคแมนดำ นากยักษ์ และนกแก้วมาคอว์สีน้ำเงิน นอกจากนี้ยังเป็นจุดแวะสำคัญบนเส้นทางของนกอพยพราว 180 ชนิด

ทั้งนี้ ไฟป่าแบบ “เป็นครั้งคราว” ถือเป็นเรื่องปกติในภูมิภาคพันตานัล ซึ่งมากจนพืชบางชนิดในภูมิภาคมีความต้านทานต่อไฟได้ เช่น มีเปลือกหนาขึ้น หรือหุ้มเมล็ดด้วยเปลือกแข็ง แต่สภาพที่แห้งแล้งผิดปกติในปี 2020 นี้ทำให้เปลวไฟลุกลามไปไกลและเร็วขึ้น มีน้ำตามธรรมชาติน้อยลง เนื่องจากมีอุปสรรคน้ำตามธรรมชาติน้อยลง แม้แต่พื้นที่ที่มีความเปียกชื้นในปีนี้ก็ยังกลายเป็นแหล่งเชื้อเพลิงให้ไฟป่า

ไฟป่าที่โหมกระหน่ำพันตานัลเป็นตัวอย่างหนึ่งของภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีข้อบ่งชี้ว่าภูมิภาคพันตานัลมีอากาศแห้งและอุ่นขึ้นตามอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น

แม้ว่าช่วงปีที่ผ่านมาโลกจะเผชิญกับข่าววิกฤติและภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมในหลายพื้นที่ข้ามซีกโลก โดยมีตั้งแต่คลื่นความร้อน ไฟป่า น้ำท่วม หรือแมลงระบาดทำลายพืชผลทางการเกษตร แต่ข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมยังมีปรากฎให้เห็นเป็นข่าวดีสำหรับโลกอยู่บ้าง กับ 5 เรื่องราวข่าวสิ่งแวดล้อมดี ๆ ในปี 2564 ที่สำนักข่าว Al Jazeera รวบรวมมาในฉบับนี้

01 – ชั้นโอโซนกำลังฟื้นตัว

ปัญหาชั้นโอโซนเป็นเรื่องที่อยู่ในใจกลางของบทสนทนาว่าด้วยสภาพภูมิอากาศและสาเหตุหลัก ๆ ของปัญหาสิ่งแวดล้อมมาเสมอตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 (พ.ศ. 2523 – 2532) โดยที่มีการส่งเสียงเรียกร้องและความพยายามป้องกันกิจกรรมของมนุษย์ไม่ให้ก่อให้เกิดรูโหว่หรือทำให้รูโหว่ของชั้นโอโซนที่มีอยู่ขยายใหญ่ขึ้น เพื่อให้ชั้นโอโซนยังสามารถปกป้องโลกจากรังสียูวีที่เป็นอันตรายได้

ข่าวดีที่ว่าคือ แม้รูโหว่ในชั้นโอโซนจะมีขนาดใหญ่มากเทียบเท่าได้กับขนาดของทวีปอเมริกาเหนือ ทว่าตามข้อมูลของ UN ระบุว่า ชั้นโอโซนกำลังฟื้นตัวในอัตรา 1 – 3% ในทุก 10 ปี โดยคาดการณ์ว่ารูโหว่ในซีกโลกเหนือจะฟื้นตัวกลับอย่างสมบูรณ์ภายในทศวรรษ 2030 (พ.ศ. 2573 – 2582) และคาดการณ์ว่ารูโหว่ในซีกโลกใต้และบริเวณขั้วโลกจะฟื้นตัวภายในทศวรรษ 2060 (พ.ศ. 2603 – 2612)

ในแง่ของผลกระทบที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ การศึกษาล่าสุดโดย US National Center for Atmospheric Research (NCAR) ระบุว่าอย่างกรณีของสหรัฐฯ การฟื้นตัวของชั้นโอโซนอันเป็นผลมาจากกฎระเบียบตามพิธีสารมอนทรีออล 1987 ที่จัดการกับสารเคมีซึ่งมนุษย์ผลิตขึ้น100 ชนิดแต่มีผลทำลายชั้นโอโซนและสุขภาพของมนุษย์เองนั้น เป็นอีกก้าวสำคัญที่คาดว่าจะช่วยให้ชาวอเมริกันราว 443 ล้านคนรอดพ้นจากมะเร็งผิวหนังภายในสิ้นศตวรรษนี้ได้

02 – การผสมเทียมปะการัง (Coral IVF) ช่วยชีวิตแนวปะการังเกรทแบร์ริเออร์รีฟของออสเตรเลีย

แนวปะการังเกรทแบร์ริเออร์รีฟเป็นแหล่งมรดกโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพ ทว่าภัยคุกคามครั้งใหญ่ตลอดหลายปีมานี้คือ อุณหภูมิของมหาสมุทรที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จนทำมาซึ่งปรากฎการณ์การฟอกขาวปะการังที่สามารถทำให้ปะการังตายได้ และจะกระทบต่อระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรเป็นลำดับ

แต่ด้วยความพยายามของนักวิทยาศาสตร์กับการใช้วิธีผสมเทียมปะการังก่อนที่จะนำไปปล่อยกลับคืนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการฟอกขาวหรือพายุ ทำให้สามารถรักษาชีวิตปะการังอ่อนเกิดใหม่กว่าพันล้านชีวิตในพื้นที่และเกิดการขยายพันธุ์ต่อไปได้

กระนั้นแม้จะเป็นข่าวดีจากการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกู้สถานการณ์เอาไว้ หรือสามารถนำไปช่วยฟื้นฟูปะการังในพื้นที่อื่นของโลก แต่หากต้นตอของปัญหาดังกล่าวยังไม่ถูกแก้ไข วิธีการนี้อาจไม่ยั่งยืนในระยะยาว

● อ่านเพิ่มเติมเรื่องที่เกี่ยวข้อง Florida Coral Rescue Center ใช้ห้องแลปหาสาเหตุโรคระบาด SCTLD ที่ทำลายแนวปะการังในฟลอริดาและแถบแคริบเบียน

03 – แพนดายักษ์ของจีนไม่ถือเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์แล้ว

เมื่อกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา จีนประกาศว่าความพยายามอนุรักษ์และสร้างโครงข่ายพื้นที่คุ้มครองสัตว์ป่าของจีน ทำให้แพนดายักษ์หลุดออกจากการจัดกลุ่มเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์แล้ว ซึ่งเป็นการประเมินความคืบหน้าในทิศทางที่ดีเช่นเดียวกันกับที่องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature – IUCN) ได้ประเมินเอาไว้ในช่วงปี 2559

● อ่านต่อ ข่าวดี! แพนด้ายักษ์ไม่ถือเป็น ‘สัตว์ใกล้สูญพันธุ์’ แล้ว

04 – โลกหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนกันมากขึ้นเป็นประวัติศาสตร์

ตามรายงานขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency – IEA) ประจำกรุงปารีส ฝรั่งเศส ได้ประเมินว่าโลกหันมาติดตั้งแผงโซลาเซลล์และทุ่งกังหันลมกันมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการผลิตพลังงานหมุนเวียนคิดเป็น 290 กิกะวัตต์  

ตามเทรนด์นี้เป็นไปได้ว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า ไฟฟ้าที่โลกจะได้ใช้มากกว่า 90% จะมาจากพลังงานหมุนเวียน โดยที่คาดว่าศักยภาพในการผลิตพลังงานหมุนเวียนจะล้ำหน้าชนะผลรวมของการผลิตพลังงานจากฟอสซิลและการผลิตจากนิวเคลียร์ ภายในปี 2026 (พ.ศ. 2569) กระนั้น แม้จะเป็นข่าวดีก็มีข้อควรระวังว่า การเติบโตดังกล่าวยังไม่รวดเร็วพอตามที่ตั้งเป้าหมายของการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593)

● อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านพลังงานใน ซีรีส์การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม (Just Energy Transition)

05 – การขยายพื้นที่คุ้มครองทางทะเลบริเวณหมู่เกาะกาลาปากอส

หมู่เกาะกาลาปากอสเป็นมรดกโลกที่เต็มไปด้วยขุมทรัพย์ของความหลากหลายทางชีวภาพ แต่กลับเผชิญกับความท้าทายทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการประมงผิดกฎหมาย อย่างไรก็ดี เมื่อพฤศจิกายนปี 2564 ประธานาธิบดีเอกวาดอร์ได้ประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่รายล้อมพื้นที่ของหมู่เกาะกาลาปากลอสเอาไว้

ตามมาด้วยการประกาศข้อริเริ่ม “แนวระเบียงพื้นที่คุ้มครองทางทะเลแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออก” (Eastern Tropical Pacific Marine Corridor – CMAR) ร่วมกับอีก 3 ประเทศ ได้แก่ ปานามา โคลัมเบีย และคอสตาริกา เชื่อมพื้นที่มหาสมุทรที่มีอาณาเขตติดต่อกัน เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล (Marine Protected Areas – MPAs) ขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดมากกว่า 500,000 ตารางกิโลเมตร และทำให้ CMAR เป็นหนึ่งในพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งหนึ่งในโลก

● อ่านต่อ 4 ประเทศลาตินอเมริกา ประกาศ “แนวระเบียงพื้นที่คุ้มครองทางทะเลแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออก” มากกว่า 500,000 ตร.กม.

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG7 พลังงานสมัยใหม่
-(7.2) เพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในการผสมผสานการใช้พลังงานของโลก ภายในปี 2573
#SDG13 การรับมือและจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
#SDG14 ทะเลและมหาสมุทร
-(14.2) บริหารจัดการและปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง เสริมภูมิต้านทานและปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟู เพื่อบรรลุการมีมหาสมุทรที่มีสุขภาพดีและมีผลิตภาพ
-(14.4) กำกับการเก็บเกี่ยวและยุติการประมง IUU และแนวปฏิบัติด้านการประมงที่เป็นไปในทางทำลาย ฟื้นฟูประชากรปลาอย่างน้อยที่สุดในระดับที่สามารถไปถึงจุดสูงสุดที่ให้ผลตอบแทนแบบยั่งยืน (maximum sustainable yield)
-(14.5) อนุรักษ์พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งอย่างน้อยร้อยละ 10
#SDG15 ระบบนิเวศบนบก
-(15.5) ลดการเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ หยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ปกป้องและป้องกันการสูญพันธ์ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม

แหล่งที่มา:
Five good-news environmental stories from 2021 (Al Jazeera)

Last Updated on มกราคม 4, 2022

Author

  • Thiraphon Singlor

    Editor | อยากรู้ความคิดของคนต่างพื้นเพ ต่างสังคมและวัฒนธรรม สนใจความเป็นไปของโลก ความมั่นคง และการพัฒนา แล้วนำมาถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องราวเล่าให้ฟัง