ประกันสังคม กรณีบริษัทปิดกิจการ

ประกันสังคม ย้ำพร้อมช่วยเหลือผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบกรณีรัฐสั่งปิดกิจการ โดยไม่ได้รับค่าจ้าง สามารถยื่นรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเหตุสุดวิสัยได้

ประกันสังคม กรณีบริษัทปิดกิจการ

วันที่ 7 ก.ย. 2564 น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมเร่งดำเนินการอนุมัติจ่ายเงินว่างงานเหตุสุดวิสัย ตามข้อสั่งการของ นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยา และบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประกันตนมาตรา 33
โดยคุณสมบัติของผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยนั้น ต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนใน 15 เดือนย้อนหลัง ก่อนวันที่ว่างงานจากรัฐสั่งปิด โดยไม่ได้ทำงานเนื่องจากนายจ้างหยุดประกอบกิจการ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เนื่องจากทางราชการมีคำสั่ง ให้ปิดสถานที่ หรือสถานประกอบการ และผู้ประกันตนไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ผู้ประกันตนดังกล่าว มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 90 วัน
ซึ่งขั้นตอนการขอรับสิทธิประโยชน์ให้นายจ้างยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ และรับรองกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยให้ผู้ประกันตน ทั้งนายจ้างและผู้ประกันตนไม่ต้องมาที่สำนักงานฯ สามารถยื่นผ่านทางระบบ e-service และส่งแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) และสำเนาสมุดบัญชีธนาคารของผู้ประกันตนประเภทออมทรัพย์ เป็นเอกสารส่งให้สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ที่่สถานประกอบการตั้งอยู่ทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียนตอบรับ นับแต่วันที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-service

ทั้งนี้ ขอย้ำว่า นายจ้างมีหน้าที่ต้องยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส. 1-10) ส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2 ทุกเดือน โดยในเดือนที่ไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามข้อเท็จจริงที่มีคำสั่งรัฐสั่งปิดนั้น ในช่องค่าจ้าง และเงินสมทบ ต้องระบุจำนวนค่าจ้างที่จ่ายจริงให้แก่ลูกจ้าง จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยตามเงื่อนไขข้างต้น ซึ่งหากลูกจ้างยังได้รับค่าจ้าง จะไม่เข้าเงื่อนไขการจ่ายสิทธิประโยชน์

ทั้งนี้ นายจ้างสามารถนำส่งแบบรายการแสดงการนำส่งเงินสมทบ สปส.1-10 ในระบบ e-service ได้โดยไม่ต้องเดินทางมาติดต่อที่สำนักงานประกันสังคม หากมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามโทรศัพท์สายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้

คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์

คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)

คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้

วิกฤติโควิด-19 และการชะลอตัวของเศรษฐกิจเป็นแรงฉุดสำคัญที่ทำให้หลายธุรกิจจำเป็นต้อง “ปิดกิจการ” เนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระที่เกิดขึ้นได้ไหว สะท้อนจากตัวเลขธุรกิจที่ทยอยเลิกกิจการตามข้อมูลของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตั้งแต่เดือน มกราคม-พฤษภาคม 2565 (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 27 ก.ค. 65) พบว่ามีกิจการที่ปิดตัวลงทั่วประเทศ 4,576 ราย 

แน่นอนว่าเมื่อมีการ “เลิกกิจการ” สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญคือ “พนักงาน” โดยจะต้องจ่าย “ค่าชดเชย” ให้พนักงานและบุคลากรตาม “กฎหมายแรงงาน”

ทว่า ทุกครั้งที่มีการปิดกิจการเกิดขึ้น มักมีปัญหาในประเด็นนี้ให้เห็นบ่อยครั้ง เช่น ไม่มีเงินจ่ายค่าชดเชยให้พนักงาน หรือจ่ายค่าชดเชยได้ไม่ครบ ที่มักเกิดคำถามว่า “นายจ้างเอาเงินไปไหนหมด ?”

ขณะเดียวกัน ก็มีคำถามแทนมุมของผู้ประกอบการด้วยว่า “ในเมื่อบริษัทเจ๊ง ไม่เหลือเงินแล้ว ทำไมถึงยังต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับพนักงานอีก แล้วจะเอาเงินส่วนนี้มาจากไหน ?”

ประเด็นเหล่านี้ “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” ชวน สิทธิศักดิ์ ศรีธรรมวัฒนา วิทยากรและที่ปรึกษากฎหมายแรงงาน ให้สัมภาษณ์พิเศษเพื่อหาคำตอบให้หายสงสัยไปพร้อมๆ กัน

  •  เงินเดือนก็จ่ายให้ทุกเดือน จะชดเชยอะไรอีก ? 

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “เงินชดเชย” เป็นเงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ไม่ว่าจะเลิกจ้างเพราะปิดกิจการ ปรับลดขนาดลง เปลี่ยนวิธีการใหม่ หรือ เหตุอื่นใดก็ตาม…โดยไม่ใช่ความผิดร้ายแรงของฝ่ายลูกจ้าง 

“สิทธิศักดิ์” อธิบายเพิ่มเติมว่าการที่ลูกจ้างมาทำงานให้นายจ้างวันละ 8 ชั่วโมง ทำโอที ทำงานวันหยุดตลอดปี ไม่มีเวลาไปหารายได้ทางอื่น การมาทำงานด้วยแรงกาย แรงใจทุกวัน มีส่วนสำคัญที่ทำให้นายจ้างได้ผลประกอบการดี มีกำไร ยิ่งทำงานนานหลายปี นายจ้างยิ่งมีกำไร กิจการใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ 

เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง ไม่ให้ทำงานต่อก็ควรนำกำไรที่เขาทำให้ “มาแบ่งปันชดเชยแรงกายแรงใจชดเชยการเสียโอกาสการหารายได้ทางอื่น” ให้กับพนักงานด้วย

เช่น ขายได้ 900 บาท ได้กำไร 60 บาท เมื่อให้ลูกจ้างหยุดงานก็ควรนำกำไร 60 บาทนั้น มาแบ่งลูกจ้างบ้าง นี่คือเหตุผลของการจ่ายค่าชดเชย ส่วนจะต้องจ่ายให้คนละเท่าใด กฎหมายแรงงานกำหนดไว้ชัดเจนแล้วที่มาตรา 118 

ประกันสังคม กรณีบริษัทปิดกิจการ

  •  กิจการไม่ดี ไม่มีกำไร จะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย ? 

คำถามนี้ "สิทธิศักดิ์" ตอบเป็นคำถามกลับมาว่า “ตอนที่มีกำไร ทำไมเก็บสำรอง” 

พร้อมขยายความว่า ก่อนอื่นนายจ้างต้องยอมรับความจริงก่อนว่าการลงทุนทำกิจการนั้นมีกำไร แน่นอน ว่าฐานะส่วนตัวดีขึ้น มีรถ มีบ้าน มีฐานะการเงินมากยิ่งขึ้น กำไร ฐานะที่ใหญ่โตขึ้นนั้นเกิดจากน้ำพักน้ำแรง ลูกจ้างส่วนหนึ่ง

ในวันที่เลิกจ้าง แม้ตัวเลขในบัญชีบริษัทจะติดลบ จะขาดทุน แต่ตัวเงิน หรือฐานะส่วนตัว (ที่แอบเก็บไว้) ยังมีอยู่ ไม่ได้ลดลง ดังนั้นถ้านายจ้างยอมรับความจริงนี้และมีหัวใจที่เป็นธรรม มีมนุษยธรรม ก็ต้องควักเงินส่วนตัว ฐานะส่วนตัวมาจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง ทำได้...ถ้าจะทำ…จ่ายได้…ถ้าจิตใจคิดจะช่วยเหลือคนด้วยกัน

"การอ้างกฎหมาย อ้างทนาย อ้างนักบัญชี หรือ ทำเป็นดื้อตาใสมาบอกว่าเงินหรือฐานะส่วนตัวไม่ใช่เงินบริษัท จะเอามาจ่ายไม่ได้นั้น เป็นการมองคนไม่ใช่คน ซึ่งนายจ้างที่ดีไม่ควรคิดเช่นนั้น"

  •  ถ้าไม่มีเงินจ่าย ไม่จ่ายได้หรือไม่ ? 

สิ่งที่จะเกิดแน่ๆ จากการไม่จ่ายค่าชดเชยคือ

- ลูกจ้างไปฟ้องพนักงานตรวจแรงงานพื้นที่ ให้เรียกนายจ้างไปสอบสวนและสั่งจ่ายให้ครบ

- ลูกจ้างไปฟ้องศาลเรียกเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอีกต่างหาก

- นายจ้างต้องเสียค่าจ้างทนายไปต่อสู้คดี 

- นายจ้างจะเสียชื่อเสียง สูญเสียความดีที่เคยทำมา จะถูกยกเป็นตัวอย่างในทางไม่ดีตลอดกาล

เรื่องค่าชดเชยนี้กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องจ่าย นั่นหมายความว่าสุดท้ายนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยเหล่านี้อยู่ดีและหนีไม่พ้น หากจ่ายช้าก็จะต้องเสียดอกเบี้ย 15% ต่อปี และถ้าไม่จ่ายก็ติดคุก

นอกจากนี้ ในกรณีที่กิจการขาดทุน เป็นหนี้เป็นสินล้นพ้นตัว ลูกจ้างก็ยังสามารถไปร้องพนักงานตรวจแรงงาน ให้เป็นโจทก์แทนลูกจ้างยื่นฟ้องอายัดทรัพย์ เช่น ที่ดิน เครื่องจักร หรือ ทรัพย์สินอื่นๆ ของนายจ้าง มาขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันได้

ประกันสังคม กรณีบริษัทปิดกิจการ

  •  กิจการไม่ดี ถ้าจะเลิกจ้างควรเตรียมการอย่างไร ? 

การเลิกจ้างแม้จะจ่ายค่าชดเชยครบถ้วน แต่ถ้าเหตุผลไม่สมเหตุสมผล อาจจะถูกลูกจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายว่า “ไม่เป็นธรรม” เรียกค่าเสียหายอีกต่างหากได้ เพื่อให้การเตรียมการเลิกจ้างที่สมเหตุ สมผล อธิบายศาลได้ จึงแนะนำให้นายจ้างเตรียมการดังนี้

- หางานใหม่ ธุรกิจใหม่ หาพันธมิตรใหม่ ให้ลูกจ้างมีงานทำต่อก่อน

- ลดค่าใช้จ่าย ลดโอที คนออกไม่รับคนแทน  ลดเท่าที่จะลดได้ก่อน

- ตกลงกับลูกจ้างลดค่าจ้าง ลดสวัสดิการลง 10-20% เพื่อความอยู่รอดร่วมกัน

- ทำโครงการสมัครใจจาก ลาออกจ่ายเงินช่วยเหลือส่วนหนึ่ง

- เลือกคนที่จะเลิกจ้างไปบางส่วนก่อน เพื่อให้ที่เหลืออยู่รอด

- เตรียมหาเงินมาจ่ายค่าชดเชยให้พอกับจำนวนที่ต้องจ่าย

- ทำกราฟข้อมูลเปรียบเทียบรายได้ที่ลดลงให้เห็นชัดเจนว่าจำเป็นต้องลดคน เลิกจ้าง

- แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าว่าจะให้ทำงานวันสุดท้ายวันไหน

- ถึงวันก็จ่ายค่าชดเชยให้ครบตามจำนวนที่เขามีสิทธิได้รับตามกฎหมาย เป็นต้น

ถ้าทำตามที่แนะนำข้างต้นนี้ ลูกจ้างก็จะเข้าใจ...จะไม่ฟ้อง หรือ ถ้าฟ้องศาลท่านก็อาจจะเห็นว่าการเลิกจ้างสมเหตุ สมผล เลิกจ้างเป็นธรรม ยุติธรรมกับลูกจ้างแล้วไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย

อยากจะฝากนายจ้างที่ดีทั้งหลายว่า การบริหารคนนั้นต้องคิด ต้องทำ ต้องอยู่กับลูกจ้างด้วยความเป็นคนเหมือนกับเรามองคน มองลูกจ้างด้วยหัวใจที่เป็นคนด้วยกัน คิดถึงใจเขา ใจเรา ถ้าเป็นเขา เราจะกินอะไร ? ถามใจตัวเองว่าเงินที่ได้มา ฐานะใหญ่โตเหล่านั้น ใช่เกิดจากคน จากลูกจ้างที่ช่วยทำให้ ใช่หรือไม่ ?

"อยากแนะนำท่านนายจ้างทั้งหลายว่าให้ใช้หลักมนุษยธรรมในการบริหารคน ดูแลเขาอย่างเป็นคนเหมือนกับเรา...ถ้าจำเป็นต้องเลิกจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้เขาให้ครบด้วย จึงจะเป็นนายจ้างที่ดี" สิทธิศักดิ์ ศรีธรรมวัฒนา กล่าว