ข้อตกลง Agenda 21 เกี่ยวข้องกับข้อใด

        อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ(CBD : Convention on Biological Diversity) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2. การใช้ประโยชน์ขององค์ประกอบความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 3. การแบ่งปันผลประโยชน์ท่ีได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม

เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศต่างๆ ในโลก นำไปปรับใช้ตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง เพื่อที่จะบรรลุถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน อันจะทำให้คนทั้งรุ่นปัจจุบันและอนาคตมีทรัพยากรธรรมชาติอย่างพอเพียงที่จะตอบสนองความต้องการต่างๆในการดำรงชีวิตเพื่อความกินดีอยู่ดี

Agenda 21 กล่าวไว้ว่า ประชากร การบริโภค และเทคโนโลยี เป็นพลังผลักดันหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและมีความจำ เป็นต้องดำเนินการอะไรบ้างเพื่อที่จะลดรูปแบบของการบริโภคที่ฟุ่มเฟือยและ ไร้ประสิทธิภาพในบางส่วนของโลก ในขณะที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้นในส่วนอื่น ๆ ของโลกAgenda 21 ยังเสนอนโยบายและแผนงานในการที่จะบรรลุถึงความสมดุลอย่างยั่งยืนระหว่างการบริโภค ประชากร และสมรรถนะของโลกในการค้ำจุนสิ่งมีชีวิต (Earth's life supporting capacity) รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีและเทคนิคต่างๆ ที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ในขณะเดียวกันกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างระมัดระวัง

Agenda 21 เสนอแนวทางต่างๆ เพื่อต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของดิน อากาศและน้ำ และเสนอแนวทางเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้และความหลากหลายชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การต่อสู้กับความยากจน แก้ไขการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย การวางแผนและการจัดการกับการศึกษา สุขภาพอนามัย การแก้ปัญหาของเมืองใหญ่ๆ และของเกษตรกร กล่าวถึงบทบาทของทุกๆ กลุ่มไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล นักธุรกิจ สหภาพแรงงาน นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ คนพื้นเมือง สตรี เด็กและเยาวชน Agenda 21 กล่าวย้ำว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นหนทางที่จะเอาชนะทั้งในเรื่องของความยากจนและการทำลายสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบัน เราประเมินความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในรูปของตัวเงิน ระบบบัญชีซึ่งวัดค่าความมั่งคั่งของประเทศจำเป็นต้องนำเอาคุณค่าเต็มจำนวน(full value) ของทรัพยากรธรรมชาติ และค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนเต็มจำนวน (full cost) จากการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในการพัฒนามาคิดคำนวณไว้ด้วย โดยหลักการผู้ที่ทำให้เกิดมลพิษ (polluters) ควรจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายนั้น ควรมีการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะเริ่มดำเนินโครงการต่างๆ รัฐบาลควรลดหรือยกเลิกเงินอุดหนุนต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย

หัวข้อหลักของ Agenda 21 ข้อหนึ่งก็คือความจำเป็นที่จะขจัดความยากจนโดยให้ประชาชนที่ยากไร้มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนได้มากยิ่งขึ้น ในการให้ความเห็นชอบต่อ Agenda 21 ประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลายต่างยอมรับถึงบทบาทในการแก้ไขสิ่งแวดล้อมมากกว่าประเทศที่ยากจนซึ่งได้ก่อให้เกิดมลพิษ (pollution) น้อยกว่าประเทศที่ร่ำรวยยังให้คำมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนประเทศอื่นๆ ดำเนินการพัฒนาในลักษณะที่เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมน้อยลง นอกเหนือจากด้านการเงินแล้ว ประเทศที่ยากจนต่างๆ จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในการเสริมสร้างความชำนาญการหรือสมรรถนะ (capacity) ในการที่จะวางแผนและดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารและทักษะด้วย ระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและประเทศที่ยังยากจนอยู่

Agenda 21 ยังเรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ดำเนินกลยุทธ์การพัฒนาประเทศในลักษณะที่ยั่งยืนโดยการเปิดโอกาสให้กลุ่มต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง แม้ว่ารัฐบาลจะมีความรับผิดชอบหลักในการชี้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง แต่จำเป็นต้องดำเนินงานโดยความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การระหว่างประเทศ ภาคธุรกิจ รัฐบาลมลรัฐ องค์กรส่วนจังหวัดและส่วนปกครองท้องถิ่น องค์กรเอกชนตลอดจนกลุ่มประชาชนในระดับต่างๆ

Agenda 21 ยังกล่าวด้วยว่าความร่วมมือและความรับผิดชอบร่วมกันในระดับโลก (global partnership) เท่านั้นที่ทำให้มั่นใจว่าทุกๆ ประเทศจะมีอนาคตที่ยั่งยืนและปลอดภัยร่วมกันมากยิ่งขึ้น

Agenda 21 ได้คำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 4 ส่วน คือ มิติทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ (Social and Economic Dimensions) การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากร (Conservation and Management of Resources) การส่งเสริมบทบาทของกลุ่มต่างๆที่สำคัญ (Strengthening the Role of Major Groups) และวิธีการในการดำเนินงาน (Means of Implementation) โดยสามารถประมวลแนวทางที่สำคัญได้ดังต่อไปนี้

1.  การพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องผสมผสานและควบคู่ไปกับการพัฒนาและความห่วงใยในสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมไม่อาจจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะพิจารณาอีกต่อไป การที่จะเพิ่มรายได้และจัดหางานให้ประชาชนนั้น ควรจะกระทำไปพร้อมๆ กับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อม

2.  การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย การสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ การปล่อยของเสียและมลพิษต่างๆเป็นสาเหตุที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมไม่ยั่งยืน ซึ่งไม่อาจปล่อยให้เป็นเช่นนี้อีกต่อไปได้ เพราะเป็นการทำลายสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลก

3.  จะต้องมีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจาก(1) มีผลกระทบอย่างเฉียบพลันต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ (2) เกิดผลกระทบต่อประชากรรุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคต

4.  มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะร่ำรวยหรือยากจน ก็มีสิทธิเท่าเทียมกันในอันที่จะดำรงชีวิตความเป็นอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้ดื่มน้ำที่สะอาด หายใจในอากาศที่บริสุทธิ์ และสามารถที่จะควบคุมการใช้ทรัพยากรของตนเองได้