วิธีเฉพาะเจาะจง มีอะไรบ้าง

ตามที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา โดยตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวได้กำหนดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ๓ วิธี ได้แก่ วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป วิธีคัดเลือก และวิธีเฉพาะเจาะจง

ซึ่งการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงมีขั้นตอนดังนี้

          ๑.เจ้าหน้าที่พัสดุผู้ที่ได้รับมอบหมายของหน่วยงานของรัฐ จัดทำแผนจัดซื้อจัดจ้างประจำปี และประกาศเผยแพร่ ยกเว้นกรณีซื้อ/จ้างที่มีวงเงินไม่เกินตามที่กำหนดในกระทรวง หรือมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุโดยฉุกเฉิน หรือเป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด ตามมาตรา ๕๖ (๒) (ข) (ง) (ฉ) แล้วแต่กรณี

          ๒.คณะกรรมการ/เจ้าหน้าที่พัสดุ/ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานรัฐ จัดทำร่างขอบเขตของงาน รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอด้วย

๓.เจ้าหน้าที่พัสดุ จัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง

๔.การเชิญชวน เจรจาต่อรอง แบ่งเป็น ๒ กรณีดังนี้

          ? กรณีใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปและวิธีคัดเลือก หรือวิธีคัดเลือกแล้วแต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอหรือข้อเสนอไม่ได้รับการคัดเลือก หรือมีผู้ประกอบการเพียงรายเดียว ไม่มีพัสดุอื่นที่จะใช้ทดแทนได้  หรือมีความจำเป็นโดยฉุกเฉิน เนื่องมาจากเกิดอุบัติภัย/ภัยธรรมชาติ/เกิดโรคติดต่ออันตราย หรือเป็นพัสดุที่ได้ทำการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว หรือเป็นพัสดุที่ขายทอดตลาดโดยหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ  หรือเป็นพัสดุที่เป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง หรือกรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จัดทำหนังสือเชิญชวนส่งไปยังผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด ตามมาตรา ๕๖ (๒) (ก) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) แล้วแต่กรณี

            # คณะกรรมการฯ จัดทำรายงานผลการพิจารณาข้อเสนอ /ต่อรองราคา ตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี

            # คณะกรรมการฯ รายงานผลการพิจารณาและเสนอความเห็นต่อหัวหน้าหน่วยงาน   ของรัฐ

            # หัวหน้าหน่วยงานของรัฐและผู้มีอำนาจอนุมัติซื้อหรือจ้างเห็นชอบผลการคัดเลือก

? กรณีที่จัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินไม่เกินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐บาท) มาตรา ๕๖ (๒) (ข) เจ้าหน้าที่เจรจาตกลงราคากับผู้ประกอบการ ที่มีอาชีพหรือรับจ้างนั้นโดยตรง (ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการเหมือนวิธีตกลงราคาตามเดิม)

    # หัวหน้าเจ้าหน้าที่ซื้อหรือจ้างภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ

          ๕.ประกาศผู้ที่ได้รับการคัดเลือกการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง

          ๖.ลงนามในสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด หรือข้อตกลง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ไม่จำเป็นต้องรอให้พ้นระยะเวลาอุทธรณ์

กรมบัญชีกลาง, แหล่งข้อมูล : https://www.cgd.go.th/cs/internet/internet/InfoGraphicListNewsItemDef.html?page=1&perpage=10&page_locale=th. ค้นเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๒.

วิธีเฉพาะเจาะจง คืออะไร

๓) วิธีเฉพาะเจาะจง วิธีเฉพาะเจาะจง คือ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข ที่หน่วยงานของรัฐกำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ หรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา รวมทั้งการ จัดซื้อจัดจ้างพัสดุกับผู้ประกอบการโดยตรงในวงเงินเล็กน้อยตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

วงเงินเท่าไร ต้องทํา แผนจัดซื้อจัดจ้าง

ตามมาตรา ๔๒ (๓) ต้องจัดทําแผนการ จัดซื้อจัดจ้างประจําปี จําเป็นเร่งด่วน หลัก ใช้ในราชการลับ วงเงินไม่เกิน 4 แสน จำเป็นต้องใช้พัสดุโดยฉุกเฉิน พัสดุขายทอดตลาด วงเงินค่าจ้างไม่เกิน 4 แสนบาท

การตรวจรับพัสดุ กี่คน

-บาท ให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับ พัสดุจานวน 3 คน หรือ 3 คนขึ้นไป ต้องทาเป็นคาสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุโดยมีประธานฯ 1 คน กรรมการอย่างน้อย 2 คน (วงเงินตั้งแต่5,000. -บาท ขึ้นไปให้บันทึกรายการในระบบ e-GP) ระยะดาเนินการ 2 วันทาการ (ดาเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างใน ระบบ e-GP ตามวิธีการจัดซื้อหรือจ้าง)

การจัดซื้อจัดจ้างมีกี่วิธี อะไรบ้าง

วิธีจัดซื้อจัดจ้าง มี3 วิธี(ระเบียบฯ ข้อ 29) 1. วิธีประกาศเชิญชวน 2. วิธีคัดเลือก 3. วิธีเฉพาะเจาะจง Page 2 1. วิธีประกาศเชิญชวน(ระเบียบฯข้อ 30) ได้แก่การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการทั่วไปที่มี คุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกาหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอ